บริษัท โรงพยาบาลยันฮี จำกัด (“โรงพยาบาล”) มุ่งมั่นที่จะคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในฐานะที่ท่านเป็นผู้เข้ารับบริการตรวจ รักษาโรค และบริการทางการแพทย์ รวมถึงบริการต่างๆ จากโรงพยาบาล ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะได้รับการคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 โรงพยาบาล ในฐานะผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ตามกฎหมายในการแจ้งเอกสารฉบับนี้ให้ท่านทราบถึงเหตุผลและวิธีการที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน รวมถึงแจ้งให้ท่านทราบสิทธิของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาล ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านภายใต้ขอบเขตที่กำหนดไว้โดยพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 และประมวลผลข้อมูลเพียงเท่าที่จำเป็นสำหรับการดำเนินการดังกล่าว โดยโรงพยาบาล ได้สรุปการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน พร้อมทั้งอธิบายฐานการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ชอบด้วยกฎหมาย (Lawful Basis of Processing) ดังนี้
วัตถุประสงค์ | ประเภทข้อมูล | ฐานการประมวลผลที่ชอบด้วยกฎหมาย | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อวัตถุประสงค์ในการตรวจรักษาโรคและให้บริการทางการแพทย์ 1.1. การให้บริการทางการแพทย์ภายในสถานพยาบาลของโรงพยาบาล คณะแพทย์ พยาบาล และ/หรือ บุคลากรอื่นๆ ในทีมสุขภาพของโรงพยาบาล จะทำการบันทึกข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อปรึกษาแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพื่อติดตามการรักษา และ/หรือ กระทำการใดๆ ตามหลักวิชาชีพที่เกี่ยวข้องตลอดระยะเวลาที่ท่านเข้ารับบริการ โดยโรงพยาบาล จะอธิบายข้อมูลรายละเอียดให้ท่านได้เข้าใจก่อนที่จะดำเนินการ อีกทั้งเปิดโอกาสให้ท่านซักถามจนเป็นที่พอใจ 1.2. การให้บริการทางการแพทย์ในกรณีจำเป็นต้องเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่าย เพื่อประโยชน์ในการให้บริการทางการแพทย์แก่ท่าน คณะแพทย์ พยาบาล และ/หรือ บุคลากรอื่นๆเกี่ยวข้องของโรงพยาบาล อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้สถานพยาบาลในเครือข่ายในกรณีที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อการให้บริการบางประเภท ทั้งนี้ โรงพยาบาล ได้จัดให้มีมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลโดยมีข้อตกลงร่วมกันระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านในทางที่มิชอบด้วยกฎหมาย หรือโดยปราศจากอำนาจ 1.3 เพื่อรับ–ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล (Refer) ในกรณีที่โรงพยาบาล มีคำร้องขอหรือได้รับการร้องขอให้เคลื่อนย้ายผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหนึ่ง เพื่อไปรับการตรวจรักษาต่อที่สถานพยาบาลอื่น หรือมีคำร้องขอหรือได้รับคำร้องขอให้รับผู้ป่วยจากสถานพยาบาลหนึ่งเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของโรงพยาบาล ตามกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล (Refer) โรงพยาบาล จะต้องดำเนินตามกระบวนการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยที่กำหนดไว้ตามมาตรฐานของโรงพยาบาล และจะใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเพื่อวัตถุประสงค์ในการรับ-ส่งต่อผู้ป่วยเท่านั้น ไม่นำไปใช้ในวัตถุประสงค์อื่น |
– ข้อมูลระบุตัวตน – ข้อมูลสำหรับการติดต่อ – ข้อมูลด้านสุขภาพ – ข้อมูลการเงิน |
สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว: เพื่อป้องกันหรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย หรือสุขภาพในกรณีที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถให้ความยินยอมได้ เช่น การเข้ารับบริการในกรณีฉุกเฉิน (Emergency Care) หรือเพื่อรับ – ส่งต่อผู้ป่วยระหว่างโรงพยาบาล (Refer) (ม.26 (1)) |
2 | เพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาวิเคราะห์เพื่อพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาลโดยไม่บ่งชี้ตัวตนของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โรงพยาบาล อาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อการศึกษาวิเคราะห์เพื่อการพัฒนาคุณภาพของการรักษาพยาบาล โดยจะทำเป็นรูปแบบรายงานผลโดยภาพรวมที่ไม่มีการบ่งชี้ตัวตนของเจ้าของข้อมูล และโรงพยาบาล จะรักษาความลับของข้อมูลดังกล่าวของท่านอย่างเคร่งครัด | ข้อมูลสถิติ | |
3 | การเปิดเผยข้อมูลให้บริษัทประกันภัยที่ท่านหรือโรงพยาบาล เป็นคู่สัญญาเพื่อวัตถุประสงค์ในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล โรงพยาบาลจำเป็นต้องเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บริษัทประกันภัยเพื่อการปฏิบัติตามสัญญาที่ท่านหรือโรงพยาบาล ได้ทำไว้กับบริษัทประกันภัย เพื่อประโยชน์ในการเบิกจ่ายค่าสินไหมทดแทนหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล ทั้งนี้ โรงพยาบาล จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับบุคคลอื่นใดที่ไม่เกี่ยวข้อง |
– ข้อมูลระบุตัวตน – ข้อมูลสำหรับการติดต่อ – ข้อมูลด้านสุขภาพ |
เมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลที่เป็นข้อมูลด้านสุขภาพให้บริษัทประกันภัยเพื่อประโยชน์ในการใช้สิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทนจากบริษัทประกันภัยหรือใช้สิทธิเบิกค่ารักษาพยาบาล (ม.26) |
4 | การเปิดเผยข้อมูลให้ผู้ที่ส่งท่านมาตรวจหรือเป็นผู้ชำระเงินเมื่อท่านได้ยินยอมให้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีที่หน่วยงานไม่ว่าภาครัฐ เอกชน หรือรัฐวิสาหกิจเป็นผู้ส่งท่านมาตรวจรักษากับโรงพยาบาล หรือเป็นผู้ชำระค่าบริการตรวจรักษาให้แก่ท่าน โรงพยาบาล จะเปิดเผยข้อมูลการตรวจรักษาซึ่งเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวให้กับบุคคลดังกล่าวเฉพาะกรณีที่ท่านได้ให้ความยินยอมในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้กับบุคคลดังกล่าวเท่านั้น ถ้าท่านไม่ได้ให้ความยินยอมดังกล่าว โรงพยาบาล จะส่งผลตรวจรักษาให้ท่านโดยตรง |
– ข้อมูลระบุตัวตน – ข้อมูลสำหรับการติดต่อ – ข้อมูลด้านสุขภาพ |
เมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล (ม.26) |
5 | เพื่อวัตถุประสงค์ในการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาลผ่านโมบายแอพพลิเคชั่น เมื่อท่านให้ความยินยอม โรงพยาบาล จะนำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ในรูปแบบของโมบายแอพพลิเคชั่นเพื่ออำนวยความสะดวกให้ท่านในการรับคำปรึกษาผ่านแอพพลิเคชั่น และเพื่อให้ท่านสามารถบริหารจัดการข้อมูลผ่านแอพพลิเคชั่นได้ และเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ระบบจะทำการเชื่อมโยงฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ด้านเวชระเบียนระหว่างสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อให้ท่านสามารถเรียกดูข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่มีอยู่กับสถานพยาบาลในเครือข่ายผ่านอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ได้ โดยโรงพยาบาล มีความตกลงร่วมกับสถานพยาบาลในเครือข่ายเพื่อคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้เป็นไปตามที่ พรบ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด |
– ข้อมูลระบุตัวตน – ข้อมูลสำหรับการติดต่อ – ข้อมูลด้านสุขภาพ |
เมื่อได้รับความยินยอมโดยชัดแจ้งจากท่านในการเปิดเผยข้อมูลด้านสุขภาพระหว่างสถานพยาบาล (ม.26) |
6 | เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดของโรงพยาบาล โรงพยาบาล อาจทำการเก็บรวบรวม ใช้ และประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวิเคราะห์สภาวะสุขภาพของท่าน และติดต่อเพื่อสื่อสาร ส่งข้อมูลข่าวสารด้านการแพทย์ และนำเสนอโปรโมชั่น สินค้าและบริการ แก่ท่านตามที่ท่านได้ให้ความยินยอม |
– ข้อมูลระบุตัวตน – ข้อมูลสำหรับการติดต่อ – ข้อมูลการสมัครข่าวสารและการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด |
โรงพยาบาล จะดำเนินการในเรื่องนี้ได้หลังจากได้รับความยินยอมจากท่านในการให้โรงพยาบาล นำข้อมูลด้านสุขภาพไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาด (ม.26) |
นอกจากวัตถุประสงค์ที่ระบุข้างต้นแล้ว โรงพยาบาล จะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่น ยกเว้นในกรณีที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 อนุญาต เช่น
“ข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลซึ่งทำให้สามารถระบุตัวบุคคลนั้นได้ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม แต่ไม่รวมถึงข้อมูลของผู้ถึงแก่กรรมโดยเฉพาะ
“ข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหว” หมายถึง ข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ ความคิดเห็นทางการเมือง ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา พฤติกรรมทางเพศ ประวัติอาชญากรรม ข้อมูลสุขภาพ ความพิการ ข้อมูลสหภาพแรงงาน ข้อมูลพันธุกรรม ข้อมูลชีวภาพ (เช่น ข้อมูลภาพจำลองใบหน้า ข้อมูลจำลองม่านตา ข้อมูลจำลองลายนิ้วมือ) หรือข้อมูลอื่นใดที่กระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในทำนองเดียวกันตามที่คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลประกาศกำหนด
“ข้อมูลการรักษาพยาบาล” หมายถึง ข้อมูลดังต่อไปนี้
“ประมวลผล”หมายถึง เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผย
“ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลที่มีอํานาจในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
“ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล” หมายถึง บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลตามคำสั่งหรือในนามของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ทั้งนี้ บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งดำเนินการดังกล่าวไม่เป็นผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
“บริษัทในเครือข่าย”หมายถึง บริษัทในกลุ่มหรือในเครือข่ายของบริษัท โรงพยาบาลยันฮี จำกัด ทั้งที่ประกอบกิจการในประเทศไทยและในต่างประเทศ
ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่โรงพยาบาล เก็บรวบรวม สามารถจำแนกเป็นประเภทดังต่อไปนี้
ประเภทข้อมูลส่วนบุคคล | รายละเอียด |
---|---|
1.ข้อมูลระบุตัวตน (Personal data) | เช่น ชื่อ นามสกุล เลขที่บัตรประชาชน ID รูปถ่ายใบหน้า เพศ วันเดือนปีเกิด หนังสือเดินทาง หรือหมายเลขที่ระบุตัวตนอื่น ๆ |
2.ข้อมูลสำหรับการติดต่อ (Contact data) | เช่น ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ อีเมล |
3.ข้อมูลการเงิน (Financial data) | เช่น ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน ข้อมูลบัตรเครดิตหรือเดบิต ข้อมูลใบเสร็จ ข้อมูลใบราคา |
4.ข้อมูลการสมัครข่าวสารและการเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด (Marketing Data) | เช่น ข้อมูลที่ใช้ในการลงทะเบียนเพื่อรับข่าวสารและเข้าร่วมกิจกรรมทางการตลาด |
5.ข้อมูลจากการเข้าใช้เว็บไซต์ (Technical data) | เช่น หมายเลข IP Address ของคอมพิวเตอร์ ชนิดของบราวเซอร์ ข้อมูล Cookies การตั้งค่าเรื่องเขตเวลา (time zone) ระบบปฏิบัติการ แพลตฟอร์มและเทคโนโลยีของอุปกรณ์ที่ใช้เข้าเว็บไซต์ และ Online Appointment System |
6. ข้อมูลด้านสุขภาพ (Health data) | เช่น ข้อมูลการรักษาพยาบาล รายงานที่เกี่ยวกับสุขภาพกายและสุขภาพจิต การดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ ผลการทดสอบจากห้องทดลอง การวินิจฉัย ชื่อโรคที่ได้รับการวินิจฉัย ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาและแพ้ยา ประวัติแพ้อาหาร ผลเลือด ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจชิ้นเนื้อทางพยาธิวิทยา ภาพถ่ายทางรังสีวิทยา และรายงานผลการตรวจทางรังสีวิทยารายการยาที่แพทย์ได้สั่ง ข้อมูลที่จำเป็นต่อการให้บริการทางการแพทย์ ข้อมูล Feedback และผลการรักษา |
แหล่งที่มาของข้อมูลส่วนบุคคล
โรงพยาบาล เก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจากแหล่งที่มาดังต่อไปนี้
1. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้โดยตรงจากท่าน ได้แก่
2. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับโดยทางอ้อม ได้แก่
โรงพยาบาล จะไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของท่านให้บุคคลภายนอก ยกเว้นเป็นกรณีที่กฎหมายอนุญาตเพื่อความจำเป็นในการปฏิบัติงาน ซึ่งทำให้โรงพยาบาล อาจเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลได้ในกรณีต่อไปนี้
1. เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้หน่วยงานราชการ หน่วยงานผู้มีอำนาจหรือบุคคลใดๆ เมื่อมีกฎหมายกำหนดหรือให้อำนาจ รวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งศาล
2. การเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลให้กับบุคคลหรือนิติบุคคลที่โรงพยาบาล จำเป็นต้องปฏิบัติตามสัญญาหรือเพื่อผลประโยชน์ของท่านในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยโรงพยาบาล กำหนดให้บุคคลหรือนิติบุคคลเหล่านี้ต้องรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามมาตรฐานที่พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กำหนด ซึ่งรวมถึงแต่ไม่จำกัดเพียงบุคคลหรือนิติบุคคลในข้อนี้ได้แก่
3. โรงพยาบาล อาจเก็บข้อมูลส่วนบุคคลไว้ในระบบประมวลผลแบบคลาวด์ (Cloud Computing) โดยใช้บริการจากบุคคลที่สามไม่ว่าตั้งอยู่ในประเทศไทยหรือต่างประเทศ โดยโรงพยาบาล ได้เข้าทำสัญญากับบุคคลดังกล่าวด้วยความระมัดระวังและพิจารณาถึงระบบรักษาความปลอดภัยในการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลที่ผู้ให้บริการระบบ Cloud Computing นั้นให้กับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
1. โรงพยาบาล ใช้มาตรฐานระยะเวลาการเก็บเวชระเบียนตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ. 2541 และ ฉบับแก้ไขล่าสุด โดยโรงพยาบาล จะเก็บเวชระเบียนข้อมูลส่วนบุคคลใดๆ ของท่านไว้ในระบบของสถานพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 ปี นับแต่วันที่โรงพยาบาลได้จัดทำ แต่เพื่อประโยชน์ในการรักษาพยาบาลจะเก็บไว้จนกว่าท่านไม่ได้ติดต่อทางโรงพยาบาลเกินกว่า 10 ปีนับจากวันที่มารับการรับการรักษาพยาบาลครั้งสุดท้าย เมื่อครบกำหนด 10 ปีดังกล่าวแล้วจะทำลายทิ้งทั้งเวชระเบียนฉบับจริง สำเนา และเวชระเบียนรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์
2. ในกรณีที่โรงพยาบาล ต้องปฏิบัติตามกฎหมายหรือข้อบังคับของสภาวิชาชีพอื่น ๆ ปฏิบัติตามคำสั่งศาล หรือต้องก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมายเพื่อเข้ากระบวนการระงับข้อพิพาทใดๆ โรงพยาบาล อาจจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลได้ตามระยะเวลาของอายุความตามกฎหมายหรือข้อบังคับดังกล่าวกำหนด หรือจนกว่าข้อพิพาทนั้นจะถึงที่สุดแล้วแต่กรณี
1. โรงพยาบาล จะจัดการเก็บรักษาข้อมูลส่วนบุคคลด้วยมาตรการไม่น้อยกว่าระดับที่กฎหมายกำหนด และด้วยระบบที่เหมาะสม เพื่อป้องกันและรักษาความปลอดภัยข้อมูลส่วนบุคคลนั้น เช่น ใช้โปรโตคอลด้านความปลอดภัย (Secure Sockets Layer: SSL) ปกป้องด้วยไฟร์วอลล์ รหัสผ่าน และมาตรการทางเทคนิคอื่นๆ สำหรับการเข้ารหัสข้อมูลผ่านทางอินเตอร์เน็ต และจัดเก็บในสถานที่ที่มีระบบป้องกันการเข้าถึงที่จำกัดบุคคลที่สามารถเข้าถึงได้สำหรับข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปแบบเอกสาร
2. โรงพยาบาล จำกัดการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจจะเข้าถึงได้โดยพนักงาน ตัวแทน คู่ค้า หรือบุคคลภายนอก การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของบุคคลภายนอกจะสามารถทำได้ตามเท่าที่กำหนดไว้หรือตามคำสั่ง ซึ่งบุคคลภายนอกจะต้องมีหน้าที่ในการรักษาความลับและคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
3. โรงพยาบาล จัดให้มีวิธีการทางเทคโนโลยีเพื่อป้องกันไม่ให้มีการเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ที่ไม่ได้รับอนุญาต
4. โรงพยาบาล มีระบบตรวจสอบเพื่อจัดการทำลายข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่มีความจำเป็นในการดำเนินการของโรงพยาบาล
5. ในกรณีที่เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่อ่อนไหวโรงพยาบาล จะจัดให้มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูลเอกสารและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ในด้านการเข้าถึงและควบคุมการใช้งาน มีระบบการใช้งานและระบบสำรองพร้อมทั้งแผนสำหรับกรณีฉุกเฉิน และมีการตรวจสอบประเมินความเสี่ยงของระบบอย่างสม่ำเสมอ
1. ในบางกรณี โรงพยาบาล อาจมีความจำเป็นต้องโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปยังต่างประเทศ โรงพยาบาล อาจดำเนินการดังกล่าวได้หลังจากที่ได้แจ้งกับท่านถึงวัตถุประสงค์ของการดำเนินการดังกล่าว และได้รับการยินยอมจากท่านแล้ว โดยโรงพยาบาล จะแจ้งให้ท่านทราบถึงมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่อาจไม่เพียงพอของประเทศปลายทาง
2. โรงพยาบาล สามารถโอนข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปได้โดยไม่ต้องขอความยินยอมจากท่านในกรณีที่การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปต่างประเทศนั้นเป็นไปเพื่อปฏิบัติตามสัญญาซึ่งท่านเป็นคู่สัญญา หรือเพื่อเป็นการป้องกัน หรือระงับอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย สุขภาพของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลหรือเพื่อใช้ในการดำเนินการตามคำขอของท่านก่อนเข้าทำสัญญานั้น หรือเป็นไปตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
เมื่อท่านเยี่ยมชมเว็บไซต์ของโรงพยาบาล โรงพยาบาล ใช้คุกกี้เพื่อให้มั่นใจว่าท่านจะได้รับประสบการณ์ที่ดีจากการใช้งานบนเว็บไซต์ของโรงพยาบาล คุกกี้เป็นไฟล์ขนาดเล็กที่จัดเก็บข้อมูลและบันทึกลงไปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือสื่อสารที่เข้าใช้งานของท่านผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ที่ท่านเลือกใช้ในขณะที่ท่านเข้าชมเว็บไซต์
โรงพยาบาล ใช้คุกกี้เพื่อเก็บเอกลักษณ์การเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของท่านโดยเอกลักษณ์นี้ทำให้โรงพยาบาล สามารถจำลักษณะการใช้งานเว็บไซต์ของท่านได้ง่ายขึ้น และข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำไปใช้เพื่อปรับปรุงเว็บไซต์ของโรงพยาบาล ให้เข้ากับความต้องการของท่านมากยิ่งขึ้น เพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการใช้งานเว็บไซต์ท่าน ในบางครั้ง โรงพยาบาล จำเป็นต้องให้บุคคลที่สามในการดำเนินการดังกล่าวซึ่งอาจต้องใช้อินเทอร์เน็ตโปรโตคอลแอดเดรส (IP Address) และคุกกี้เพื่อวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล และประมวลผลตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด ท่านสามารถตั้งค่าคุกกี้ได้เมื่อท่านเข้าสู่เว็บไซต์ของโรงพยาบาล โดยท่านสามารถเลือกได้ว่าจะอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้คุกกี้ทำการวิเคราะห์ เชื่อมโยงข้อมูล และประมวลผลตามวัตถุประสงค์ทางการตลาด
ในฐานะเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ท่านมีสิทธิร้องขอให้โรงพยาบาล ดำเนินการเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของท่านตามขอบเขตที่กฎหมายอนุญาตให้กระทำได้ ดังนี้
1. สิทธิในการเพิกถอนความยินยอม (right to withdraw consent): ท่านมีสิทธิในการเพิกถอนความ ยินยอมในการประมวลผลข้อมูลสวนบุคคลที่ท่านได้ให้ความยินยอมกับโรงพยาบาล ได้ตลอดระยะเวลาที่ ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านอยู่กับโรงพยาบาล
2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (right of access): ท่านมีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของ ท่านและขอให้โรงพยาบาล ทำสำเนาข้อมูลส่วนบุคคลดังกล่าว รวมถึงขอให้โรงพยาบาล เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ท่านไม่ได้ให้ความยินยอมต่อโรงพยาบาล ให้แก่ท่านได้
3. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (right to rectification): ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล แก้ไขข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง หรือ เพิ่มเติมข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
4. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล (right to erasure): ท่านมีสิทธิในการขอให้โรงพยาบาล ทำการลบข้อมูลของ ท่านด้วยเหตุบางประการได้
5. สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (right to restriction of processing): ท่านมีสิทธิในการให้โรงพยาบาล ระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
6. สิทธิในการให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล (right to data portability): ท่านมีสิทธิในการโอนย้าย ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่ท่านให้ไว้กับโรงพยาบาล ไปยังผู้ควบคุมข้อมูลรายอื่น หรือตัวท่านเองด้วยเหตุบาง ประการได้
7. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (right to object): ท่านมีสิทธิในการคัดค้านการ ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลของท่านด้วยเหตุบางประการได้
ท่านสามารถติดต่อมายัง นายกนกศักดิ์ ธนัญชัย เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer Group1: DPO) เพื่อดำเนินการยื่นคำร้องขอดำเนินการตามสิทธิข้างต้น ได้ที่ บริษัท โรงพยาบาลยันฮี จำกัด เลขที่ 454 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เบอร์โทรศัพท์ 02-879-0300 อีเมล dpo@mail.yanhee.co.th
โรงพยาบาล อาจทบทวนและเปลี่ยนแปลงนโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในอนาคตเพื่อพัฒนาให้เกิดการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่ดีขึ้น โดยโรงพยาบาล จะแจ้งให้ท่านทราบทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายดังกล่าว
ช่องทางการติดต่อ
ท่านสามารถติดต่อมายัง นายกนกศักดิ์ ธนัญชัย เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (Data Protection Officer Group1: DPO) สอบถามหรือใช้สิทธิใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล ได้ที่ อีเมล dpo@yanhee.co.th หรือ บริษัท โรงพยาบาลยันฮี จำกัด เลขที่ 454 ถนนจรัญสนิทวงศ์ แขวงบางอ้อ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เบอร์โทรศัพท์ 02-879-0300
*ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด ณ วันที่ 01 ตุลาคม 2565
🔗 คำประกาศเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวสำหรับผู้สมัครงานและผู้ปฏิบัติงาน
🔗 คำประกาศเกี่ยวกับนโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในการใช้กล้องวงจรปิด