chat

คุณเคยสำรวจตัวเองหรือไม่ว่ากำลังขาดอากาศหายใจ จากโรคเหล่านี้

คุณเคยสำรวจตัวเองหรือไม่ว่ากำลังขาดอากาศหายใจ จากโรคเหล่านี้

โรคหยุดหายในขณะหลับจากการอุดกั้น (Obstructive Sleep Apnea: OSA)

เป็นภาวะผิดปกติที่ “หยุดหายใจขณะหลับ” โดยระบบทางเดินหายใจส่วนต้นมีการตีบ และแคบลงเกิดจากลักษณะของกล้ามเนื้อในช่องคอ หรือ ลิ้น มีการหน่อยไปปิดกั้นทางเดินหายใจส่วนตันในขณะที่หลับ จึงทำให้อากาศ และออกซิเจนไม่สามาถเข้าสู่ปอด และสมองได้ กลุ่มคนที่มีภาวะโรคอ้วน มีปัจจัยเสี่ยงสูง และปัจจัยอื่นๆ เช่น การสูบบุหรี่,ภาวะหมดประจำเดือน, หรือคนในครอบครัวมีประวัติของโรคภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการ โรคหยุดหายในขณะหลับจากการอุดกั้น

- นอนกรน

- มีอาการคล้ายหายใจไม่สะดวกขณะหลับ

- หายใจแรงเหมือนขาดอากาศหายใจ

- นอนหลับไม่สนิท

- ตื่นกลางดึก บ่อย ๆ

การรักษา

หากมีอาการในลักษณะที่ว่ามานี้ก็อย่านิ่งนอนใจควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัย และประเมินระดับความรุนแรงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น โดยการตรวจสุขภาพการนอนหลับ ที่เรียกว่า Sleep Lab โดยการทำ Sleep Lab จะทำให้แพทย์ทราบถึงความผิดปกติของระบบต่าง ๆ ของร่างกายขณะนอนหลับเช่น ระบบการหายใจ ระดับออกซิเจนในเลือด การทำงานของคลื่นไฟฟ้าสมอง คลื่นไฟฟ้าหัวใจและกล้ามเนื้อ เป็นต้น เมื่อประเมินระดับความรุนแรงได้แล้วก็จะสามารถวางแผน และเลือกวิธีการรักษาที่เหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละคนได้

ในการตรวจ Sleep Lab ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องนอนค้างคืนในโรงพยาบาล 1 คืน โดยแพทย์จะติดอุปกรณ์ตรวจวัดเอาไว้ขณะนอนหลับ ไม่มีความเจ็บปวดใด ๆ ผู้เข้ารับการตรวจไม่ต้องกังวลใจให้นอนในท่าที่สบายและเคยชินที่สุด ซึ่งในวันที่เข้ารับการตรวจควรหลีกเลี่ยงการดื่มกาแฟ ชา เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นส่วนผสม หรือการออกกำลังกายอย่างหนัก เพื่อให้สามารถนอนหลับได้ตามปกติ และได้ผลการตรวจวัดใกล้เคียงความจริงมากที่สุด

ศูนย์รักษานอนกรน รพ.ยันฮี

ผู้ติดเชื้อโควิด-19 กลุ่มอาการสีเหลือง หรือ สีแดง

อาการติดโควิด-19 (สีเหลือง หรือสีแดง)

กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการประเมินอาการความรุนแรงของผู้ป่วยยืนยันว่าติดโควิด-19 ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาไว้ 3 ระดับ คือกลุ่มอาการสีเขียว กลุ่มอาการสีเหลือง และกลุ่มอาการสีแดง สำหรับกลุ่มเสี่ยงที่เชื้อโควิด-19 ลงปอด ทำให้เกิดภาวะหายใจไม่ออก หายใจไม่ค่อยสะดวก หรือ หอบเหนื่อยง่าย คือกลุ่มอาการสีเหลือง และสีแดง

โรคหัวใจวายเฉียบพลัน

หากคุณรู้สึกว่าหายใจไม่ทัน ขณะที่ออกกำลังกาย อย่างไม่เคยเป็นมาก่อน, หายใจหอบ,หายใจไม่พอ,หายใจสั้นหรือ หายใจไม่อิ่ม ปัจจัยเหล่านี้อาจจะบ่งชี้ได้เบื้องต้นว่าคุณกำลังเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลัน โรคนี้ถือว่าเป็นภัยเงียบที่มักแสดงออกาอาการไม่ชัดในระยะเริ่มต้น ดังนั้น การตรวจสุขภาพหัวใจเป็นประจำทุกปี สามารถลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจวายเฉียบพลันได้

โรคถุงลงโป่งพอง

เป็นอีกหนึ่งโรคที่เกิดความลำบากในการหายใจ จึงทำให้ส่วนต่าง ๆ ของร่างกายไม่ได้รับออกซิเจนในปริมาณที่เพียงพอและเหมาะสม โดยอาการของโรคถุงลมโป่งพอง ผู้ป่วยโรคนี้มักจะมีอาการหายใจตื้น และไอ,เหนื่อยหอบ อาจจะมีอาการไอและมีเสมหะเรื้อรังร่วมด้วยเนื่องจากอาการทางปอด ผู้ป่วยโรคดังกล่าวควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมที่ทำให้หายใจตื้น ซึ่งอาการนี้ไม่ได้สร้างปัญหามาก หากไม่ส่งผลกระทบหรือรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน แต่หากมีอาการที่รุนแรงขึ้น จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจตื้นแม้ไม่ได้ทำกิจกรรมใด ๆ