chat

“โรคใหลตาย” ความเสี่ยง ซ่อนอยู่ในตัวคุณ

SUDS

“ โรคใหลตาย ” ทางการแพทย์เรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน” หรือภาวะกลุ่มอาการบรูกาดา (Brugada Syndrome) เกิดขึ้นจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้คลื่นไฟฟ้าหัวใจทำงานผิดปกติ หัวใจเต้นผิดจังหวะขั้นรุนแรง และสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ไม่เพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยหมดสติและเสียชีวิตกะทันหันได้ ภาวะใหลตายสามารถพบได้ใน ผู้ชายอายุ 25-55 ปี เพศชายมากกว่า เพศหญิง 8-10 เท่า ทำให้มีภาวะความเสี่ยงมากกว่าคนกลุ่มอื่น นอกจากนี้ รวมถึงภาวะขาดน้ำด้วย หรือใช้สารเสพติด ยาบางชนิดหรือในวันที่ไม่สบาย อาจทำให้ภาวะใหลตายเกิดขึ้นได้ หมดสติและเสียชีวิตกะทันหันในวันนั้น

สาเหตุของการเกิด "โรคใหลตาย" ที่สำคัญคือ ?

  • ขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม อาหารที่มีโพแทสเซียมสูง ได้แก่ ถั่วเมล็ดแห้ง นม กล้วย ลำไย เป็นต้น
  • ขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1
  • ป่วยเป็นไข้สูง
  • ดื่มแอลกอฮอล์
  • การใช้ยานอนหลับเป็นประจำ
  • หลังอาหารมื้อหนักๆ

การรักษาภาวะ "โรคใหลตาย"

  • การใช้ยา โดยในการให้ยานั้นแพทย์จะเป็นผู้ประเมินอาการโรคใหลตายว่ารุนแรงแค่ไหน เพื่อให้ผู้ป่วยรับประทานยาช่วยป้องกันหัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • การผ่าตัดฝังเครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้า (เป็นการรักษาหลัก) โดยแพทย์จะทำการฝังไว้บริเวณหน้าอกด้านซ้ายใต้กระดูกไหปลาร้า เครื่องนี้ทำงานด้วยการส่งกระแสไฟฟ้าไปกระตุ้นให้หัวใจเต้นกลับมาเป็นปกติ เมื่อหัวใจเต้นเร็วเกินไป หรือผิดจังหวะ
  • การจี้หัวใจด้วยคลื่นวิทยุความถี่สูง โดยแพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเข้ารับการรักษา เพื่อลดความถี่ของการเกิดภาวะดังกล่าว

คำแนะนำจากแพทย์

หากมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอกหัวใจ วูบเป็นลมหมดสติ หรือมีประวัติญาติสายตรง พ่อ แม่ พี่น้อง ในครอบครัว เสียชีวิตกะทันหัน ไม่ควรมองข้ามเรื่องใกล้ตัว ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ส่งผลต่อร่างกายและหัวใจโดยตรง ควรตรวจสุขภาพเป็นประจำอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram) ร่วมด้วย หรือที่คนส่วนใหญ่รู้จักกันในชื่อย่อว่า EKG หรือ ECG เป็นการตรวจทางการแพทย์อย่างหนึ่งเพื่อดูกิจกรรมทางไฟฟ้าของหัวใจตลอดช่วงระยะเวลาหนึ่งด้วยการรับสัญญาณไฟฟ้าผ่านขั้วไฟฟ้าที่ติดบนผิวหนังบริเวณหน้าอก และบันทึกหรือแสดงบนจอภาพด้วยอุปกรณ์ที่อยู่ภายนอกร่างกาย โดยสามารถตรวจหาความผิดปกติของหัวใจ อาทิ หัวใจเต้นผิดจังหวะ, กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด, โรคใหลตาย เป็นต้น ซึ่งที่โรงพยาบาลยันฮี เราพร้อมให้การบริการแก่ผู้เข้ารับการรักษา ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง มีเครื่องมือ อุปกรณ์ ที่สะอาดได้มาตรฐานและเทคโนโลยีที่ทันสมัย

บทความโดย : นพ.อำนาจ โชติชื่น แพทย์ประจำศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลยันฮี