chat

โรคเบาหวาน กับการรับประทานอาหาร


โรคเบาหวานเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่เหมาะสม โดยเฉพาะการรับประทานน้ำตาลที่มากเกินความจำเป็นจากอาหารที่ไม่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น น้ำอัดลม ชา กาแฟ และขนมหวาน เป็นต้น

ความสำคัญของอาหารกับเบาหวาน

การกินอาหารให้พอดีกับความต้องการของร่างกายไม่มากหรือน้อยเกินไปในผู้เป็นเบาหวาน สามารถช่วยในการ ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติหรือใกล้เคียงกับปกติ แต่ถ้าผู้เป็นเบาหวานกินอาหารมากเกินไปจะส่งผลให้ ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ในทางกลับกันถ้ากินอาหาร น้อยเกินไปก็จะทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ ซึ่งทำให้ผู้เป็นเบาหวานมีภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาได้

อาหารแลกเปลี่ยน คืออะไร

อาหารที่แบ่งออกเป็นทั้งหมด 6 หมวด โดยในหมวดเดียวกันให้พลังงานและสารอาหารที่ใกล้เคียงกัน

อาหารในหมวดเดียวกันหรือต่างหมวดกันสามารถแลกเปลี่ยนกันได้ถ้ามีสารอาหารที่ใกล้เคียงกัน

ปริมาณอาหารในรายการอาหารแลกเปลี่ยนเรียกว่า“ส่วน” ซึ่งปริมาณส่วนจะแตกต่างกันตามชนิดของหมวด อาหารนั้นๆ

อาหารแลกเปลี่ยน หมวดนมและผลิตภัณฑ์
อาหารแลกเปลี่ยน หมวดผัก
อาหารแลกเปลี่ยน หมวดผลไม้
อาหารแลกเปลี่ยน หมวดข้าวแป้ง
อาหารแลกเปลี่ยน หมวดเนื้อสัตว์
อาหารแลกเปลี่ยน หมวดน้ำมัน
ตัวอย่างรายการอาหารเฉพาะโรคสำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน

1. หมวดนมและผลิตภัณฑ์

นม 1 ส่วน เท่ากับ 240 มิลลิลิตร หรือ 1 แก้ว หรือ 1 กล่อง ประมาณ 225 - 250 มิลลิลิตร แบ่งออกเป็น 3 ชนิด มีสารอาหาร และพลังงาน ดังนี้

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

ปริมาณ 1 ส่วนของนมชนิดอื่น ๆ ได้แก่ โยเกิร์ต 1 ถ้วย นมผง 5 ช้อนโต๊ะ

2. หมวดผัก

ผักต่างๆ 1 ส่วน เท่ากับ ผักสุก 1 ทัพพี หรือ ผักดิบ 2 ทัพพี แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้

ประเภท ก. ผักที่ให้พลังงานต่ำมากตัวอย่าง ปริมาณผัก 1 ทัพพี

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

ประเภท ข 1 ส่วน มีคาร์โบไฮเดรต 5 กรัม โปรตีน 2 กรัม ไม่มีไขมัน ให้พลังงาน 25 กิโลแคลอรี่

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

ตัวอย่าง ปริมาณผัก 1 ทัพพี

3. หมวดผลไม้

ผลไม้ 1 ส่วน ปริมาณแตกต่างกัน(ตามความหวานของ ผลไม้แต่ละชนิด) มีคาร์โบไฮเดรต 15 กรัม ไม่มีโปรตีน และไขมัน ให้พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

4. หมวดข้าวแป้ง

ข้าวแป้ง 1 ส่วน เท่ากับ 1 ทัพพี (โดยประมาณ) มีคาร์โบไฮเดรต 18 กรัม โปรตีน 2 กรัม ไม่มีไขมันให้พลังงาน 80 กิโลแคลอรี

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

*** ข้าว 1 ทัพพี เท่ากับ 5 ช้อนกินข้าว ***

5. หมวดเนื้อสัตว์

เนื้อสัตว์ 1 ส่วน เท่ากับ เนื้อสัตว์สุก 30 กรัม หรือ 2 ช้อนกินข้าว

ชนิดที่ 1 เนื้อสัตว์ไขมันต่ำมาก 1 ส่วน ไม่มีคาร์โบไฮเดรต มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 0 - 1 กรัม ให้พลังงาน 35 กิโลแคลอรี

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

ชนิดที่ 2 เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ

เนื้อสัตว์ 1 ส่วน ไม่มีคาร์โบไฮเดรต มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 3 กรัม ให้พลังงาน 55 กิโลแคลอรี

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

ชนิดที่ 3 เนื้อสัตว์ไขมันปานกลาง

เนื้อสัตว์ 1 ส่วน ไม่มีคาร์โบไฮเดรต มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 75 กิโลแคลอรี่

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

ชนิดที่ 4 เนื้อสัตว์ไขมันสูง

เนื้อสัตว์ 1 ส่วน ไม่มีคาร์โบไฮเดรต มีโปรตีน 7 กรัม ไขมัน 8 กรัม ให้พลังงาน 100 กิโลแคลอรี่

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

6. หมวดน้ำมัน

น้ำมัน 1 ส่วน เท่ากับ 1 ช้อนชา (โดยประมาณ) ไม่มีคาร์โบไฮเดรต และโปรตีน มีไขมัน 5 กรัม ให้พลังงาน 45 กิโลแคลอรี น้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า น้ำมันถั่วเหลือง งาขาว/งาดำ เมล็ดมะม่วงหิมพานต์/อัลมอนด์ กะทิ

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

การนับคาร์โบไฮเดรตและการแลกเปลี่ยนอาหารการนับคาร์โบไฮเดรตแบบส่วนเป็นวิธีที่สะดวก และเข้าใจง่ายจึงเหมาะกับผู้ที่เป็นเบาหวาน โดยอาหารในกลุ่มข้าวแป้ง นมสดจืด และผลไม้ต่าง ๆ ปริมาณ 1 ส่วน จะให้คาร์โบไฮเดรต 15 กรัม

โดยเฉลี่ย สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ใน ปริมาณ 1 ต่อ 1 หน่วย ข้าวแป้ง 1 ส่วน ปริมาณ 1 ทัพพี นมสดจืด 1 ส่วน ปริมาณ 1 แก้ว /กล่อง (240 มล.) ผลไม้ 1 ส่วน ปริมาณตามชนิดของผลไม้

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร

ตัวอย่างรายการอาหารเฉพาะโรค
สำหรับผู้สูงอายุโรคเบาหวาน

โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร โรคเบาหวานกับการรับประทานอาหาร