chat

เสียง “ก๊อบแก๊บ” สัญญาณเตือนโรคข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม

ข้อเข่าเสื่อม เกิดจากการเสื่อมของกระดูกอ่อนผิวข้อ เป็นกระบวนการเสื่อมจะไม่สามารถกลับสู่สภาพเดิมและ รุนแรงขึ้นตามการใช้งานและอายุที่มากขึ้น (อายุ > 55ปี )

อาการข้อเข่าเสื่อมระยะต้น ปวดรอบๆข้อเข่า ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน มักปวดเรื้อรัง เป็นๆหายๆปวดมากขึ้นเมื่อใช้งาน เดินนานๆ ยืนนานๆ เมื่อพักอาการดีขึ้น อาการข้อฝืด มักเกิดตอนเช้าและหลังจากนั่งงอเข่านานๆ ระยะท้ายๆ ข้อบวมผิดรูป เข่าโก่ง เหยียดงอข้อเข่าได้ไม่สุด มีเสียงดังในเข่า

การรักษาโรคข้อเข่าเสื่อมและการป้องกัน

1. แนะนำควบคุมและลดน้ำหนัก

2.พยายามหลีกเลี่ยงท่าทางที่ต้องงอเข่ามากๆ เช่น คุกเข่า นั่งยอง นั่งพับเพียบ

3.ไม่ควรขึ้นลงบันไดโดยไม่จำเป็น

4.หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่อันตรายต่อข้อเข่า เช่น การวิ่ง การกระโดดเชือก แนะนำว่ายน้ำ เดินออกกำลัง

5.รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูงเพื่อป้องกันโรคกระดูกพรุน

การรักษาวิธีไม่ใช้ยา

1.การลดน้ำหนัก กรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกิน

2.การออกกำลังบริหารกล้ามเนื้อรอบๆข้อเข่า

3.การใช้อุปกรณ์เครื่องช่วยต่างๆ เช่น ไม้เท้า อุปกรณ์พยุงหัวเข่า

4.การทำกายภาพบำบัด เช่น ฝังเข็ม การประคบอุ่น

ท่าบริหารข้อเข่า

ท่าที่ 1 นั่งตัวตรงหลังพิงพนัก ให้ส่วนของข้อเข่าทั้งสองข้างอยู่ที่ขอบของ เก้าอี้พอดี ยกขาขวาขึ้นโดยกระดกข้อเท้าไว้ขณะยกเกร็งข้อเข่าด้วย นับ 1-10 ในใจ วางลงแล้วสลับข้างทําแบบเดียวกัน ทําข้างละ 1 ครั้ง

ท่าที่ 2 ในกรณีที่ปวดลดลง และทําท่าที่ 1 ได้ดีแล้วสามารถบริหารได้ในท่า นั่งแบบเดียวกับท่าที่ 1 แต่เพิ่มน้ำหนักโดยถุงทรายน้ำหนักครึ่งกิโลกรัม ใช้ถ่วงเหนือข้อเท้าเล็กน้อย บริหารแบบเดียวกัน น้ำหนักของถุงทราย ที่ยกต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นตามความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ โดยสังเกตจากการยกติดต่อกัน 10 ครั้ง แล้วไม่มีอาการเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ

ท่านอน

ท่าที่ 1 นอนหงายราบหนุนหมอน เหยียดขาสองข้างกระดกข้อเท้าซ้ายยกขึ้น สูงจากพื้นประมาณ 1 คืบ ขณะยกเกร็งข้อเท้าซ้าย นับ 1-10 ในใจ วางสลับข้างทําแบบเดียวกัน

ท่าที่ 2 นอนหงายราบหนุนหมอน เหยียดขาสองข้างให้ตรงใช้หมอนใบเล็ก ๆ หรือผ้าขนหนูผืนใหญ่ม้วนรองใต้เข่าขวา กระดกข้อเท้าขวาขึ้น ยกสูงขึ้น จากพื้นประมาณ 1 คืบ ขณะยกเกร็งข้อเท้าไว้ นับ 1 - 10 ในใจแล้ว วางลงสลับข้าง ทําแบบเดียวกันทําซ้ำ ข้างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 3 นอนคว่ำ-งอเข่านอนคว่ำโดยให้ขาสองข้างเหยียดตรงพยายามพับข้อ เข่าข้างที่เคยปวดหรืองอไม่ได้เต็มที่นั้นให้งอมากที่สุด เกร็งไว้ 5 ถึง 10 วินาที แล้วเหยียดลงทําซ้ำข้างละ 10 ครั้ง

ท่าที่ 4 นอนคว่ำงอเข่าพร้อมแรงต้านทานด้วยก้อนน้ำหนัก นอนคว่ำเหมือน ท่าที่ 3 ใช้ถุงทราย ต้อนน้ำหนัก) คล้องหรือมัดที่ข้อเท้าเริ่มแรก น้ำหนัก ประมาณ 0.5 กิโลกรัม และบริหารแบบเดียวกันท่าที่ 3 น้ำหนักของ ถุงทรายที่ยกต้องมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น ตามความแข็งแรงของ กล้ามเนื้อ โดยสังเกตจากการยกติดต่อกัน 16 ครั้ง แล้วไม่มีอาการ เมื่อยล้าของกล้ามเนื้อ

การรักษาโดยการใช้ยา

1.ยาทาน ได้แก่ ยาลดอาการปวดและลดการอักเสบและยากลุ่ม SYSADOA (symptomatic slow acting drugs) เช่น Glucosamine, Diacerein

2.ยาทาภายนอก ได้แก่ เจลพริก ยาทาลดการอักเสบ

3.ยาฉีดเข้าข้อเข่า ได้แก่ Hyaluronic acid (HA), Platelet-rich plasma (PRP), Steroids (ควรใช้เมื่อมีความจำเป็น)

การรักษาโดยการผ่าตัด

1.ผ่าตัดล้างข้อ (lavage & arthroscopic debridement)

2.ผ่าตัดแก้ไขการผิดรูปข้อเข่า (corrective osteotomy)

3.ผ่าตัดเปลี่ยนข้อเทียม (unicompartmental & total knee replacement)

บทความโดย: นพ.ณัฐวุฒิ วรรณธะพิสุทธิ์

แพทย์ออร์โธปิดิกส์ ศูนย์กระดูกและข้อ

โรงพยาบาลยันฮี