chat

เช็กความพร้อม ก่อน ระหว่าง และหลังฉีดวัคซีนโควิด-19 และโปรแกรมเช็กแอนติบอดี้ต่อเชื้อโควิด-19

เช็กความพร้อม ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

เช็กความพร้อม ก่อนฉีดวัคซีนโควิด-19

Q : ก่อนรับวัคซีนโควิด-19 ต้องเช็กความพร้อมร่างกายอะไรบ้าง เพื่อลดความรุนแรงของผลข้างเคียง

A : ผู้ที่มีโรคประจำตัว หรือ มียาประจำที่ต้องรับประทาน ควรปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อน

A : พักผ่อนให้เพียงพอ

A : ดื่มน้ำให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

A : รับประทานอาหารให้เรียบร้อย หากมียารักษาโรคประจำตัวก็ให้รับประทานได้เลย

Q : ข้อควรระวังก่อนฉีดวัคซีน

A : ต้องทราบว่าเรามีประวัติแพ้สารที่เป็นส่วนประกอบในวัคซีนยี่ห้อนั้นๆหรือไม่

A : หากเจ็บป่วย มีไข้ ไม่สบาย ให้เลื่อนการฉีดวัคซีนออกไปก่อนอย่างน้อย 1-2 สัปดาห์

A : ฉีดวัคซีนโควิด-19 ห่างจากวัคซีนอื่น 4 สัปดาห์ ยกเว้นวัคซีนที่มีความจำเป็น เช่น วัคซีนป้องกันพิษสุนัขบ้า

เช็กตัวเอง ขณะที่กำลังจะฉีดวัคซีนโควิด-19

Q : จำเป็นต้องแจ้งข้อมูลอะไรกับแพทย์หรือพยาบาล

A : ประวัติโรคประจำตัว ยาที่ใช้อยู่ประจำ

A : ประวัติการใช้ยาละลายลิ่มเลือดหรือยาต้านเกล็ดเลือด

A : ประวัติแพ้ยา แพ้อาหาร

A : ประวัติอายุครรภ์ หรือวันที่มีประจำเดือนครั้งล่าสุด

เช็กตัวเอง หลังฉีดวัคซีนโควิด-19

Q : อาการหรือผลข้างเคียงหลังการฉีดวัคซีนที่พบบ่อยๆ

A : เป็นอาการทั่วๆ เช่น มีไข้ต่ำๆ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ หรือปวด บวม แดง คันหรือซ้ำบริเวณที่ฉีดยา อ่อนเพลีย รู้สึกไม่สบายตัว ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หรือมีอาการชาเฉพาะที่

A : ส่วนใหญ่เป็นไม่เกิน 3 วัน

A : การดูแลเบื้องต้น เป็นการรักษาตามอาการ เช่น มีอาการปวดศีรษะ ทานยา Paracetamol, คันบริเวณที่ฉีด อาจจะทายาแก้แพ้หรือรับประทานยาแก้แพ้ แก้คัน

Q : อาการหรือผลข้างเคียงที่ควรพบแพทย์

A : มีก้อนบริเวณที่ฉีดยา เวียนศีรษะ มึนงง ใจสั่น ปวดท้อง อาเจียน ความอยากอาหารลดลง เหงื่อออกมากผิดปกติ ต่อมน้ำเหลืองโต ปากเบี้ยว กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อาการเหมือนเป็นไข้หวัดใหญ่ เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ น้ำมูกไหล มีไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ความดันตก หลอดลมตีบ หายใจลำบาก มีผื่นขึ้นตามตัว

Q : ข้อควรระวังหลังฉีดวัคซีน

A : พยายามอย่าใช้แขนข้างที่ฉีดวัคซีนยกของหนัก ประมาณ 2-3 วัน

Q : ข้อควรระวังผู้ที่จะเข้ารับการฉีดวัคซีน

A : ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาแพทย์ก่อน

A : ผู้ป่วยเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, หัวใจ, อัมพฤกษ์, และอัมพาต ควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาก่อน แต่โดยปรกติถ้าไม่ใช่เพิ่งมีอาการของโรคหัวใจ อัมพฤกษ์ และอัมพาตภายใน 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา สามารถรับวัคซีนได้ตามปรกติ

A : ผู้ที่เป็นโรคเลือดออกง่าย ต้องแจ้งแพทย์, พยาบาล ก่อนรับการฉีดวัคซีน หลังฉีดวัคซีนกดบริเวณตำแหน่งที่ฉีดวัคซีนเพื่อห้ามเลือดประมาณ 5 นาที

Q : หลังฉีดวัคซีน เพศใดมีผลข้างเคียงมากกว่า

A : จากการเก็บข้อมูลทั้งของประเทศไทยที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและของต่างประเทศ พบว่าเพศหญิงมีผลข้างเคียงมากกว่าเพศชายจริง

Q : คนตั้งครรภ์ห้ามฉีดวัคซีน

A : ในช่วงแรกจริง แต่หลังจากมีการเก็บข้อมูลจากประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศในยุโรปที่มีการฉีดวัคซีนเป็นจำนวนมาก พบว่าสามารถฉีดวัคซีนได้ถ้าอายุครรภ์เกิน 12 สัปดาห์

Q : กลัวจะเสียชีวิตเพราะวัคซีน

A : ถ้ากังวลจริง ๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ต้องป้องกันตัวเองปฏิบัติตามแนวทางที่ภาครัฐกำหนด เช่น สวมหน้ากากอนามัย, รักษาระยะห่างทางสังคม, ทำความสะอาดมือบ่อยๆ เป็นต้น

แต่ต้องอย่าลืมว่าในประเทศไทยและทั่วโลกฉีดวัคซีนเป็นพันล้านโดส เสียชีวิตจากวัคซีนน้อยมาก และตอนนี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อรายใหม่ในไทยวันละ 5-6 พันคน เสียชีวิตวันละประมาณ 40- 50 คน ถือว่ามากกว่าตัวเลขผู้เสียชีวิตจากวัคซีนมากครับ

ข้อมูลโดย : นพ.เอกวิทย์ เกวลินสฤษดิ์ อายุรแพทย์โรคติดเชื้อ ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลยันฮี


โปรแกรมเช็กแอนติบอดี้ต่อเชื้อโควิด-19 คลิก : https://bit.ly/3hfpaty

อ่านรายละเอียดการตรวจ คลิก : https://bit.ly/369VZ4B

ตรวจได้ที่ไหน

ตรวจได้ที่ ศูนย์ตรวจสุขภาพโรงพยาบาลยันฮี

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่

📥 Line : @yanheehospital

📥 Facebook : ยันฮี โรงพยาบาลเพื่อสุขภาพและความงาม

☎️ โทร. 1723