chat

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง


ภาวะไตเรื้อรัง
ทำไมการเลือกอาหารมีความจำเป็นสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
หลักการการให้อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง
สารอาหารหมู่ต่าง ๆ
โปรตีน
ไขมัน
น้ำ
วิตามิน
โซเดียม
โปแตสเซียม
ฟอสฟอรัส
แคลเซียม

ภาวะไตเรื้อรัง แบ่งเป็น 5 ระยะ

โรคไตเรื้อรัง (Chronic Kidney Disease) คือ โรคที่มีความผิดปกติของโครงสร้างและหน้าที่ ของไตนานกว่า 3 เดือน โดยดูจาก อัตราการกรองของเสียจากร่างกายเป็นค่าแสดงสมรรถภาพ การทำงานของไตที่ดีที่สุด

ไตเรื้อรัง

ระยะที่ 1 :

ไตเริ่มเสื่อมแต่การทำงานยังปกติ

≥ 90

ระยะที่ 2 :

ไตเสื่อมและการทำงานลดลง

60-89

ระยะที่ 3 :

การทำงานของไตลดลงครึ่งหนึ่ง

30-59

ระยะที่ 4 :

การทำงานของไตลดลงอย่างมาก

15-29

ระยะที่ 5 :

ไตเรื้อรังระยะสุดท้ายก่อนบำบัดทดแทนไต

ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมหรือด้วยวิธีล้างไตทางช่องท้อง

< 15

< 10

* ดูจากค่าอัตราการกรองของเสียจากร่างกาย หรือ Glome rular Filtration Rate (GFR) มีหน่วยเป็น มิลลิลิตร / นาที / พื้นที่ผิวของร่างกาย 1.73 ตารางเมตร

ทำไมการเลือกอาหารมีความจำเป็น สำหรับผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

การได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและปริมาณพอดีกับร่างกายของผู้ป่วยที่ต้องการในแต่ละวัน มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะ

ช่วยให้มีภูมิต้านทานโรค

ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ และซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ

ช่วยให้มีน้ำหนักตัวคงที่ และอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม

ช่วยป้องกันโรคแทรกซ้อน เช่น โรคหัวใจ โรคกระดูกพรุน

สำหรับผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ต้องคำนึงถึงสารอาหารต่าง ๆ โดยเฉพาะปริมาณ โปรตีน โซเดียม โปแตสเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ เพื่อ

รักษาระดับโซเดียม และ โปแตสเซียมในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ

สามารถรักษาระดับแคลเซียมและฟอสฟอรัสในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้

ป้องกันการเกิดภาวะบวมน้ำ หรือน้ำเกินในร่างกาย

สามารถให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ฯลฯ

ดังนั้น ผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมควรปรึกษา และขอคำแนะนำจาก แพทย์ พยาบาล นักกำหนดอาหาร นักโภชนาการ เพื่อให้ท่านได้รับสารอาหารที่พอเหมาะ

หลักการ การให้อาหารสำหรับผู้ป่วยไตเรื้อรัง

ไตเรื้อรัง

1. โปรตีน

ไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยไตเรื้อรังที่มีอัตราการกรอง < 60 จำเป็นต้องลดปริมาณการรับประทานโปรตีนเหลือ 0.6- 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เพื่อควบคุมยูเรียในเลือด และชะลอการเสื่อมของไต

ส่วนผู้ป่วยไตเรื้อรังที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมแล้วมีความต้องการโปรตีนมากกว่าคนปกติ เพราะมีการสูญเสียกรดอะมิโนจำนวนมากในระหว่างการฟอกเลือดมีข้อแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับโปรตีนอยู่ที่ 1.2 กรัม ต่อน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนที่มีคุณภาพสูงได้แก่ เนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ขาว

เนื้อสัตว์ที่ควรเลือก

ไตเรื้อรัง

เนื้อสัตว์ที่ควรเลี่ยง

ไตเรื้อรัง

2. ไขมัน

ไตเรื้อรัง

เนื่องจากผู้ป่วยมักมีไขมันในเลือดสูงร่วมด้วยจึงต้องเลือกน้ำมันชนิดที่ดีที่ไม่เพิ่ม ไขมันตัวร้าย (LDL-Cholesterol) ในร่างกาย

น้ำมัน ที่ควรเลือก

น้ำมันที่มีกรดโอเลอิกสูง อาทิ

น้ำมัน ที่ควรเลือก น้ำมันที่มีกรดโอเลอิกสูง อาทิ

ไตเรื้อรัง

น้ำมัน ที่ควรเลี่ยง

เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น

น้ำมัน ที่ควรเลี่ยง เพราะมีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น

ไตเรื้อรัง

3. น้ำ

ไตเรื้อรัง

แนะนำให้ได้รับน้ำประมาณ 1 ลิตรต่อวัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการบวม และปริมาณปัสสาวะของผู้ป่วย ซึ่งควรได้รับ คำแนะนำจากแพทย์

4. วิตามิน

ไตเรื้อรัง

ควรได้รับวิตามินบางชนิดเพิ่ม โดยเฉพาะวิตามินชนิดที่ละลายในน้ำ เช่น วิตามินบีต่างๆ และกรดโฟลิก เนื่องจากจะมีการสูญเสียวิตามินเหล่านี้ทางน้ำยาที่ใช้ในการฟอกเลือดด้วย เครื่องไตเทียม และมักจะได้รับวิตามินเหล่านี้น้อย เนื่องจากถูกจำกัดผักและผลไม้ ควรเลี่ยงวิตามินเอ เนื่องจากจะมีการสะสมในร่างกายทำให้เกิดพิษได้

5. โซเดียม

ไตเรื้อรัง

การรับประทานเกลือหรือโซเดียมมาก ทำให้ความดันโลหิตสูงและบวมน้ำ ปริมาณของโซเดียม ที่ควรได้รับ ไม่ควรเกิน 2,300 มิลลิกรัม/วัน (เท่ากับ 1 ช้อนชาของเกลือแกงหรือน้ำปลา 3 ช้อนชาต่อวัน) ในกรณีมีความดันโลหิตสูงและควบ คุมได้ยากมีอาการบวมหรือมีน้ำในช่องท้อง และการทำงานของหัวใจ ไม่ปกติรวมทั้ง มีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ควรจำกัดโซเดียมให้น้อยกว่า 1,800 มิลลิกรัม

ปริมาณโซเดียมในเครื่องปรุงรสต่างๆ

เครื่องปรุงรสมักมีปริมาณโซเดียมสูงควรอ่านฉลาก และจำกัดปริมาณการใช้

ไตเรื้อรัง
ไตเรื้อรัง

กับข้าวและของกินเล่นที่มี โซเดียมสูง

ไตเรื้อรัง
ไตเรื้อรัง

6. โปแตสเซียม

ไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีการทำงานของไตลดลงมาก และผู้ป่วยที่ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม ควรจำกัดโปแตสเซียมปริมาณที่ควรได้รับในอาหารไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

วิธีการลดปริมาณโปแตสเซียมในอาหาร เช่น การนำผักมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ ต้มในน้ำ แล้วเทน้ำทิ้งจะกำจัดโปแตสเซียมออกได้ ปริมาณร้อยละ 20 - 30 อย่างไรก็ตามอาหารจะ สูญเสียคุณค่าของวิตามินที่จำเป็นด้วย

ผักที่มีโปแตสเสี่ยมต่ำถึงปานกลาง ที่ควรเลือก

ไตเรื้อรัง

ผักที่มีโปแตสเสี่ยมสูง ที่ควรเลี่ยง

ไตเรื้อรัง

ธัญพืชและน้ำผักที่มีโปแตสเสี่ยมสูง ที่ควรเลี่ยง

ไตเรื้อรัง

ผลไม้ที่มีโปแตสเสี่ยมต่ำถึงปานกลาง ที่ควรเลือก

ไตเรื้อรัง

ผลไม้ที่มีโปแตสเสี่ยมสูง ที่ควรเลี่ยง

ไตเรื้อรัง

7. ฟอสฟอรัส

การมีภาวะฟอสฟอรัสในเลือดสูง ทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนของต่อมพาราธัยรอยด์ชนิดทุติยภูมิซึ่งทำให้เกิดอาการต่างๆ (ดังแผนภูมิด้านล่าง) จึงต้องควบคุมปริมาณของฟอสฟอรัสในอาหารร่วมกับ การรับประทานยาที่ช่วยป้องกันการดูดซึมฟอสฟอรัส เช่น แคลเซียมคาร์บอเนต เป็นต้น ซึ่งต้องรับประทาน พร้อมกับอาหารจึงจะได้ผลในการช่วยลดปริมาณการดูดซึมฟอสฟอรัส

ปริมาณฟอสฟอรัสที่แนะนำให้รับประทานต่อวันคือ 800 - 1,200 มิลลิกรัม โดยรักษาระดับ ฟอสฟอรัสในเลือดไม่ให้เกิน 5.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

แผนภูมิแสดงผลเสียของการได้รับฟอสฟอรัสมากในผู้ป่วยไตเรื้อรัง

ไตเรื้อรัง ไตเรื้อรัง

8. แคลเซียม

ไตเรื้อรัง

ผู้ป่วยไตเรื้อรัง ควรได้รับแคลเซียมเสริมทั้งใช้ในการทดแทน และเป็นตัวช่วยจับฟอสเฟต ซึ่งต้อง รับประทานพร้อมอาหาร จึงจะได้ผล และควรมีระดับแคลเซียมในเลือดไม่สูงเกิน 10.5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดโรคแทรก ซ้อน