chat

ออกกำลังกาย…ถึงตายได้เลยเหรอ!


การออกกำลังกาย เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์และสำคัญต่อร่างกายอย่างที่เราทุกคนต่างรู้กันดี แต่เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินข่าวที่ทำให้เราตกใจและสงสัยอยู่ไม่น้อยเกี่ยวกับการเสียชีวิตกะทันหันขณะออกกำลังกายหรือเล่นกีฬา อย่างในกรณีของนักฟุตบอลต่างประเทศที่หัวใจวายเสียชีวิตขณะฝึกซ้อม ข่าวนักกีฬาเทนนิสระดับเยาวชน หรือ นักวิ่ง ที่เสียชีวิตขณะแข่งขันในบ้านเรา จะเห็นได้ว่านักกีฬาที่ฝึกซ้อมเป็นประจำสม่ำเสมอ มีความฟิตความแข็งแรงระดับมืออาชีพ รวมถึงคนธรรมดาที่ไม่เคยมีอาการของโรคหัวใจ แต่ทำไมยังมีข่าวการเสียชีวิตขณะออกกำลังกาย ฝึกซ้อม หรือลงแข่ง วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยนี้กัน


การเสียชีวิตเฉียบพลันขณะออกกำลังกาย สาเหตุเกี่ยวข้องกับการทำงานของหัวใจที่ผิดปกติเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเกิดได้จาก

  • กรณีที่มีอายุน้อยกว่า 35 ปี สาเหตุอาจมาจากความผิดปกติของกล้ามเนื้อหัวใจที่หนาขึ้น จากกรรมพันธุ์ (HOCM) เมื่อเกิดการออกแรงมาก ๆ ทำให้การทำงานของหัวใจผิดปกติ กระตุ้นให้เกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรง เป็นสาเหตุทำให้หัวใจไม่สามารถเต้นได้หรือมีการบีบตัวได้ตามปกตินั่นเอง
  • กรณีที่มีอายุมากกว่า 35 ปี สาเหตุอาจมาจาก โรคหัวใจขาดเลือดฉับพลัน อาจเป็นจากการมีเส้นเลือดหัวใจตีบเรื้อรังก่อนหน้า หรือ อาจเป็นจากการที่มีคราบไขมันที่เกาะตามหลอดเลือด (Plaque) และมีการฉีกขาดหลุดของคราบไขมัน ขณะออกกำลังกายอย่างหนัก ทำให้เกิดการขาดเลือดนำไปสู่กล้ามเนื้อหัวใจตายฉับพลัน และเกิดหัวใจเต้นผิดจังหวะแบบรุนแรงและเสียชีวิตฉับพลัน ซึ่งบางคนอาจมีโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดหัวใจหรือกล้ามเนื้อหัวใจที่ผิดปกติอยู่เดิม แต่ไม่เคยทราบมาก่อน ซึ่งบางกรณีสามารถตรวจคัดกรองได้ด้วยการออกกำลังกายแบบเต็มที่ และป้องกันการเสียชีวิตอย่างเฉียบพลันได้เพียงเพราะคิดว่า “การออกกำลังกายเป็นประจำอยู่แล้ว ร่างกายก็น่าจะแข็งแรงดี ไม่มีปัญหาสุขภาพอะไร” แต่ในความเป็นจริงนั้น ทั้งในคนที่ออกกำลังกายเป็นประจำ แม้กระทั่งนักกีฬาทั้งมืออาชีพและมือสมัครเล่นบางคน หรือคนทั่วไปที่ไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย ก็มีโอกาสที่จะมีโรคใด ๆ แอบแฝงอยู่ซึ่งเราอาจไม่ทราบมาก่อน


ดังนั้นคุณควรให้ความสำคัญกับการตรวจสุขภาพก่อนออกกำลังกายเป็นอย่างมาก นอกจากนี้การสังเกตสัญญาณผิดปกติขณะออกกำลังกายอย่าง อาการเจ็บหน้าอก, เหนื่อยง่ายกว่าที่ควรจะเป็น (สำหรับการออกกำลังกายระดับนั้นๆ), หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่นผิดปกติ หรือเป็นลมหมดสติ เป็นตัวที่บ่งบอกว่าต้องหยุดออกกำลังกายและตรวจเช็คโดยละเอียดทันที เพื่อป้องกันอันตรายจากการออกกำลังกาย การออกกำลังกายและการเล่นกีฬานั้นยังคงเป็นเรื่องที่ดีมีประโยชน์ ไม่ใช่เรื่องอันตรายน่ากลัว หากคุณตรวจเช็คสุขภาพ เพื่อลดการเกิดอันตรายจากโรคที่ซ่อนอยู่ โดยเฉพาะโรคหัวใจ และเลือกที่จะออกกำลังกายในปริมาณที่เหมาะสม พร้อมฟังเสียงผิดปกติของร่างกายขณะออกกำลังกายตลอดเวลา


ประโยชน์ของการตรวจ VO2 Max พร้อมการตรวจคลื่นหัวใจ

  • ทำให้ผู้ถูกทดสอบทราบถึงระดับความแข็งแรง ความฟิต หรือขีดสมรรถนะสูงสุดของตนเอง
  • ทำให้ผู้ทดสอบรู้โซน (Zone) การออกกำลังกายของตนเองอย่างแท้จริง โดยไม่ใช่การประมาณการจากนาฬิกาวัดชีพจร
  • สามารถนำข้อมูลไปออกแบบโปรแกรมการออกกำลังกาย การพัฒนา หรือการฝึกซ้อม ที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล เพื่อเพิ่มศักยภาพของร่างกาย โดยเฉพาะนักกีฬา
  • ทำให้ผู้ถูกทดสอบบรรลุเป้าหมายที่ต้องการได้มากขึ้น เช่น การเพิ่มศักยภาพสำหรับนักกีฬา การมีสุขภาพที่ดี การลดน้ำหนัก เป็นต้น
  • ช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตเฉียบพลันจากออกกำลังกาย (Sudden death)
  • ช่วยตรวจคัดกรองโรคหัวใจและหลอดเลือดจากการออกกำลังสูงสุด โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดจากหลอดเลือดหัวใจตีบ เป็นต้น