chat

สัญญาณเตือนอันตราย! “ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ” เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว

สัญญาณเตือนอันตราย! “ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ” เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว

สัญญาณเตือนอันตราย ! “ หัวใจเต้นผิดจังหวะ ” เสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลว

หน้ามืดตาลาย ใจสั่น เจ็บหน้าอก หรือรุนแรงถึงขั้นเป็นลมหมดสติ อย่ามองข้าม เพราะคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่ที่จริงอาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ”และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน ความเครียด และการสูบบุหรี่ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ

อาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะหลายคนจะไม่รู้ตัวเลย เนื่องจากมีอาการที่แตกต่างกันออกไป คิดว่าอาการเล็กน้อย บางคนอาจไม่พบอาการหรือความผิดปกติใดๆ แต่บางคนอาจมีอาการที่สังเกตได้ เช่น ใจสั่น หัวใจเต้นเร็ว หรือหัวใจเต้นช้ากว่าปกติ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหงื่อออกมาก วิงเวียนศีรษะ หน้ามืด คล้ายจะเป็นลม หมดสติ เป็นต้น นั่นหมายความว่าอาจมีความเสี่ยงเป็นภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ โดยจะแสดงอาการออกมาดังนี้

- อัตราการเต้นของหัวใจช้ากว่า 60 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการมึนงง ใจหวิว ระดับความดันโลหิตต่ำลง และอาจทำให้เป็นลมหมดสติ

- อัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่า 120 ครั้งต่อนาที อาจจะส่งผลให้มีอาการเหนื่อยง่ายเจ็บหน้าอก เสี่ยงภาวะหัวใจวายและเสียชีวิตเฉียบพลัน

ทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

การที่ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะเป็นภาวะที่ยากจะควบคุม ต้องพบปรึกษาแพทย์เพื่อที่จะวินิจฉัยจากอาการของผู้ป่วย และการตรวจร่างกาย โดยเฉพาะการตรวจสอบสมรรถภาพของหัวใจ หรือปัจจัยที่จะไปกระตุ้นให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ สามารถตรวจได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้

- การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram :ECG)

- การตรวจสมรรถภาพของหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test :EST)

- การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง (Echocardiogram :Echo)

- การตรวจและบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจตลอด 24 ชั่วโมง

สาเหตุของภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ

ภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ มีความแตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งมีปัจจัยจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต โดยสาเหตุที่ทำให้เกิดภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ ได้แก่ ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือความผิดปกติแต่กำเนิดหรือความผิดปกติของโครงสร้างหัวใจ เช่น กล้ามเนื้อหัวใจผิดปกติแต่กำเนิด ลิ้นหัวใจรั่ว ผนังหัวใจหนาผิดปกติ รวมทั้งโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ และความเครียด

ซึ่งที่โรงพยาบาลยันฮี เราพร้อมให้การบริการแก่ผู้เข้ารับการรักษา ภายใต้การดูแลของทีมแพทย์และเจ้าหน้าที่เฉพาะทาง มีเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัย

บทความโดย นพ.สุธน พิศูทธินุศาสตร์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลยันฮี