chat

หลังคอดำ เสี่ยงเบาหวาน


หลายคนที่มีคราบดำ หรือเรียกว่า ‘คอคาร์บอน’ บริเวณหลังคอ รักแร้ และขาหนีบ อาจเข้าใจว่าเป็นขี้ไคล แต่ความจริงแล้วอาจเป็นสัญญาณของความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานหรือภาวะดื้ออินซูลิน ในปัจจุบันยังไม่มีตัวยา หรือการรักษาภาวะคอดำให้หายขาดได้ แต่หากควบคุมน้ำหนัก ก็จะค่อย ๆ ดีขึ้นได้เองตามธรรมชาติ นอกจากนี้ผู้ที่สังเกตพบอาการดังกล่าวของตัวเองหรือคนรอบข้างควรเข้ารับการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานที่โรงพยาบาล

ราคา Picoway laser บริเวณลำคอที่โรงพยาบาลยันฮี
คอดำ หรือ คอคาร์บอน คืออะไร?
สาเหตุของการเกิดรอยดำบริเวณลำคอ
แนวทางในการปฏิบัติตัวเมื่อพบว่ามีอาการคอดำ
นวัตกรรมของโรงพยาบาลยันฮีที่ช่วยแก้ปัญหาคอดำ
Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับภาวะคอดำหรือคอคาร์บอน

คอดำ หรือ คอคาร์บอน คืออะไร?

คอคาร์บอน หรือ คอดำ เป็นคำที่หลายคนใช้เรียกโรคผิวหนังประเภทหนึ่งที่บริเวณคอด้านหลังหรือด้านข้างลำคอมีลักษณะคล้ำ เป็นปื้นดำ หนา ดูขรุขระคล้ายกำมะหยี่ และอาจมีกลิ่นเหม็น สามารถเกิดได้กับทุกส่วนของร่างกาย เช่น คอ รักแร้ ขาหนีบ ข้อพับ ริมฝีปาก ใต้หน้าอก ท้อง เป็นต้น

ภาวะคอดำ

ทางการแพทย์เรียกว่า Acanthosis Nigricans (อะแคนโทซิส นิกริแคนส์) ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน และจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นในคนที่มีน้ำหนักตัวมาก และคนที่มีอินซูลินในร่างกายสูง มีภาวะดื้อต่ออินซูลิน (insulin resistance) หรือเสี่ยงจะเป็นเบาหวาน หรือกำลังเป็นเบาหวานอยู่ คนที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคนี้ รวมถึงคนผิวคล้ำมีการกระตุ้นให้เซลล์ผิว หนังเจริญหนาตัว จึงปรากฏอาการดังกล่าว

สาเหตุของการเกิดรอยดำบริเวณลำคอ

คนที่มีน้ำหนักตัวมาก หรือคนที่เป็นโรคอ้วน

ภาวะคอดำ

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

โรคมะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งต่อมน้ำเหลือง มะเร็งกระเพาะอาหาร มะเร็งลำไส้ และมะเร็งตับ ความผิดปกติของต่อมหมวกไต ความผิดปกติของต่อมใต้สมอง เป็นต้น

ภาวะคอดำ

ผู้ที่ได้รับยาบางชนิด เช่น การคุมกำเนิด ยาสเตียรอยด์ ยาที่ช่วยลดผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด โกรทฮอร์โมน และวิตามินบี 3 ในปริมาณมาก เป็นต้น

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน เช่น คอดำภูมิแพ้ ภาวะตั้งครรภ์

ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome) ในผู้หญิงที่มีภาวะ PCOS มักมีภาวะดื้ออินซูลินร่วมด้วย ซึ่งระดับอินซูลินที่สูงขึ้นนี้สามารถกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์ผิวหนังและเซลล์สร้างเม็ดสีบริเวณคอ รักแร้ ขาหนีบ ฯลฯ ได้เช่นกัน

อาการภูมิแพ้ผิวหนัง อาจทำให้เกิดการอักเสบและระคายเคืองผิวหนังบริเวณลำคอ ยิ่งเกาก็ยิ่งอักเสบมากขึ้น ส่งผลให้เกิดการสร้างเม็ดสีเมลานินมากขึ้น แม้ว่าจะรักษาภูมิแพ้หายแล้วก็ตามแต่ก็อาจทิ้งรอยดำไว้

แนวทางในการปฏิบัติตัวเมื่อพบว่ามีอาการคอดำ

ภาวะคอดำ

ภาวะคอดำส่วนใหญ่มักเกิดกับคนอ้วน หรือผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกินมาตรฐาน จึงควรลดน้ำหนัก ด้วยการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ พร้อมกับความคุมอาหารเพื่อช่วยให้ภาวะดื้ออินซูลินค่อยๆ หายไป

ภาวะคอดำ

ทาครีมกันแดดทุกครั้ง เพราะผิวบริเวณลำคอย่อมต้องการการปกป้องไม่ต่างจากผิวหน้า

ภาวะคอดำ

หลีกเลี่ยงการสวมใส่สร้อยคอประดับ เพื่อป้องกันการเสียดสี จนเกิดอาการแพ้ และระคายเคือง ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้คอดำ

เลือกใช้ครีมบำรุงผิวที่มีสาร AHA, BHA และ whitening เพื่อบำรุงให้ผิวหนังชุ่มชื้น และทำให้ผิวหนังมีความกระจ่างใสอยู่เสมอ

กรณีที่มีอาการผิดปกติ ระบบอื่นร่วมด้วย หรือรอยดำเกิดขึ้นรวดเร็ว ควรรีบปรึกษาแพทย์

นวัตกรรมของโรงพยาบาลยันฮีที่ช่วยแก้ปัญหาคอดำ

การเลเซอร์แก้คอดำด้วย PicoWay Laser ที่มีฟังก์ชั่นกำจัดเม็ดสีผิวด้วยการใช้พลังงานสูงในระยะเวลาสั้น ส่งผ่านพลังงานด้วยความยาวคลื่น 1,064 นาโนเมตร ลงลึกสู่ใต้ผิวได้ถึง 7 มิลลิเมตร ทำให้เม็ดสีที่ฝังตัวอยู่ใต้ผิวแตกตัวได้ละเอียด จนทำให้รอยโรคจางหายได้เร็วและเห็นผลชัดเจน ช่วยกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนให้ผิวเรียบเนียนกระจ่างใส สามารถแก้ปัญหาคอดำได้อีกทางหนึ่ง

ราคา Picoway laser บริเวณลำคอ ที่โรงพยาบาลยันฮี

10,000 บาท/ครั้ง

28,000 บาท/คอร์ส 3 ครั้ง

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ"ภาวะคอดำหรือคอคาร์บอน"

ถาม ตอบ

สาเหตุของคอดำจากปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับความเจ็บป่วยในร่างกายมีอะไรบ้าง?

- การรักษาทำความสะอาดไม่ทั่วถึงจนเกิดเป็นคราบขี้ไคลฝังลึกใต้ชั้นผิว

- สวมใส่เครื่องประดับต่างๆ จนเกิดการเสียดสีทำให้เกิดรอยดำ

- ความอับชื้นจากการสวมใส่เสื้อผ้า

อ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล

พญ.สร้อยเพชร ประเทืองเศรษฐ์. (2566). รอยดำที่คอ ใช่สัญญาณโรคเบาหวานจริงหรือ?. กรุงเทพฯ : THE STANDARD. https://thestandard.co/life/dark-spots-on-neck-sign-of-diabetes/

ไทยรัฐออนไลน์. (2566). เช็กให้ดี หลังคอดำ ไม่ใช่ขี้ไคลเสมอไป อาจเป็นสัญญาณเตือนเบาหวาน. กรุงเทพฯ : https://www.thairath.co.th/news/society/2690941#google_vignette

โรงพยาบาลกรุงเทพจันทบุรี. (2567). คอดำบอกอะไรได้บ้าง. จันทบุรี.

โรงพยาบาลรามคำแหง. (2568). “คอดำ” หรือที่เรียกกันว่า “คอคาร์บอน” เกิดจากอะไร ขัดผิวแล้วหายไหม?. กรุงเทพฯ : https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2724

ศูนย์เบาหวาน ต่อมไร้ท่อ และควบคุมน้ำหนัก โรงพยาบาลวิมุด. (2567). แพทย์เตือน! รอยดำที่คอคล้ายขี้ไคล อาจไม่ใช่สกปรก แต่เป็นหนึ่งของอาการโรคเบาหวานชนิดที่ 2 ที่ร่างกายมีภาวะดื้อต่อฮอร์โมนอินซูลิน. กรุงเทพฯ : https://www.facebook.com/vimuthospital/posts/770320095115987/

บทความโดย พญ.พัชรินทร์ แช่มพูลศิลป์