chat

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เสี่ยง เกิดลิ่มเลือดในปอด สูงกว่า 7 เท่า อันตรายถึงชีวิต

เสี่ยงเกิดลิ่มเลือดในปอด

ผู้ติดเชื้อ COVID-19 เสี่ยง เกิดลิ่มเลือดในปอด

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์กลุ่มอาการทางเดินหายใจเฉียบพลันรุนแรง 2 (Severe Acute Respiratory Syndrome Coronavirus 2: SARS-CoV-2) เป็นไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ในมนุษย์ที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสาเหตุของโรค COVID-19 (Coronavirus 2019 (COVID-19) การระบาดของโรคนี้ได้เกิดขึ้นในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน ในช่วงปลายปี 2562 และแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังประเทศอื่นๆ จนเป็นการระบาดที่ร้ายแรงทั่วโลก

ปัจจุบันได้มีการคิดค้นและการฉีดวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันโรค COVID-19 อย่างแพร่หลาย แต่กระนั้นก็ยังมีรายงานการติดเชื้อไวรัสอย่างต่อเนื่อง แม้จะได้รับการฉีดวัคซีนไปแล้ว 3 เข็มก็ตาม

โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยในช่วงการระบาดของโรค COVID-19 ร่วมถึงมีความสัมพันธ์กับการพยากรณ์โรคที่ไม่ดี และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตในระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19 ที่มีอาการรุนแรงมีอัตราเกิดภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดสูงกว่า ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง อย่างมีนัยสำคัญและจากการศึกษาจากค่าตัวแปรต่างๆ ของความผิดปกติของการแข็งตัวในเลือด พบว่ามีความผิดปกติเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อ COVID-19 รุนแรงที่รักษาตัวในโรงพยาบาล

โดยความเสี่ยงต่อการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดว่าเพิ่มขึ้น 33 เท่าใน 30 วันหลังจากการติดเชื้อ COVID-19 และยังคงมีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเพิ่มขึ้นเป็นเวลา 6 เดือนหลังจากติดเชื้อ COVID-19

แม้ว่าความเสี่ยงจะสูงที่สุดในผู้ป่วยที่เจ็บป่วยรุนแรงกว่า แต่ผู้ที่ป่วยด้วยโรค COVID-19 ที่ไม่รุนแรงก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า

เนื่องจากโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอดอาจเป็นโรคที่อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรเฝ้าระวังและสังเกต อาการที่สงสัยดังนี้

  • เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก, หายใจไม่อิ่ม
  • เจ็บหน้าอกเวลาหายใจ
  • ไอแห้งๆ
  • หน้ามืด เวียนศีรษะ
  • ใจสั่น ใจเต้นเร็ว

ถ้ามีอาการดังกล่าวหลังจากรักษาอาการติดเชื้อ COVID-19 หายแล้วควรรีบปรึกษาแพทย์

คำแนะนำจากแพทย์

ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด ควรได้รับวัคซีนป้องกันติดเชื้อ COVID-19ให้ตรงตามเกณฑ์มาตรฐานและปฏิบัติตัว เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ดังนี้

  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรค COVID-19
  • สวมหน้ากากอนามัย
  • เว้นระยะห่าง
  • หลีกเลี่ยงบริเวณแออัดและอากาศถ่ายเทไม่สะดวก
  • ล้างมือบ่อย ๆ

ข้อมูล และเรียบเรียงโดย : นพ.ชวลิต หล้าคำมี แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโลหิตวิทยา ศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลยันฮี

ที่มา :

[1] Scudiero F, Silverio A, Di Maio M, Russo V, Citro R, Personeni D, Cafro A, D'Andrea A, Attena E, Pezzullo S, Canonico ME, Galasso G, Pitì A, Parodi G; Cov-IT Network. Thromb Res. 2021 Feb;198:34-39.

[2] N. Tang, H. Bai, X. Chen, J. Gong, D. Li, Z. Sun. J. Thromb. Haemost. 18 (2020) 1094–1099.

[3] Katsoularis I, Fonseca-Rodríguez O, Farrington P, Jerndal H, Lundevaller EH, Sund M, Lindmark K, Fors Connolly AM. BMJ. 2022 Apr 6;377:e069590.

[4] Gong X, Yuan B, Yuan Y.PLoS One.2022 Mar 14;17(3): e0263580.