chat

ตามรอยต้นกำเนิด ธงสีรุ้ง สัญลักษณ์ของ LGBTQIA+


ทราบไหมว่า ประวัติศาสตร์ของธงสีรุ้งเกิดขึ้นครั้งแรกในปี 1978 หรือกว่า 46 ปีมาแล้ว จากผลงานการออกแบบของ กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิทธิชาวอเมริกัน ซึ่งเป็นคนรักร่วมเพศ ภายใต้การสนับสนุนจาก ฮาร์วีย์ มิลก์ (Harvey Milk) นักการเมืองชาวอเมริกันคนแรกที่เปิดเผยตัวเองว่าเป็นเกย์ เบเกอร์จึงสร้างสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจสำหรับชุมชนเกย์ขึ้นมา

ธงสีรุ้ง

เดิมทีธงสีรุ้งเวอร์ชั่นแรกมี 8 แถบสี

ธงสีรุ้ง

สีชมพูร้อน (Hot Pink) หมายถึง เซ็กส์

สีแดง (Red) หมายถึง ชีวิต

สีส้ม (Orange) หมายถึง การรักษา

สีเหลือง (Yellow) หมายถึง แสงแดด

สีเขียว (Green) หมายถึง ธรรมชาติ

สีเขียวอมฟ้า (Turquoise) หมายถึง ศิลปะ

สีคราม (Indigo) หมายถึง ความสามัคคี

สีม่วง (Violet) หมายถึง จิตวิญญาณ

โดยธงสีรุ้งถูกนำมาใช้ครั้งแรกในขบวนพาเหรดวันเสรีภาพเกย์ ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 1978 ซึ่งเบเกอร์และทีมอาสาสมัครช่วยกันทำธงด้วยมือ ด้วยความที่ ต้องการผลิตธงจำนวนมาก แต่ติดปัญหาการผลิต จึงตัดสินใจตัดสีชมพูร้อนและสีเขียวอมฟ้าออก ส่วนสีครามแทนที่ด้วยสีน้ำเงิน

ธงสีรุ้ง ธงสีรุ้ง

ส่งผลให้ธงสีรุ้งในเวอร์ชันต่อมาเหลือเพียง 6 แถบสี (แดง ส้ม เหลือง เขียว น้ำเงิน และม่วง) โดยมีแถบสีแดงอยู่ด้านบนเช่นเดียวกับสีรุ้งตามธรรมชาติ และสีต่างๆ สะท้อนถึงความหลากหลายและความสามัคคีของชุมชน LGBTQIA+

กระทั่งในปี 1994 ธงสีรุ้งได้รับการสถาปนาให้กลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความภาคภูมิใจของชุมชน LGBTQIA+ อย่างเป็นทางการและใช้เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ ยังมีธงที่ใช้สื่อแทนสัญลักษณ์ของกลุ่มความหลากหลายทางเพศอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น
Bisexual Flag

ธงไบเซ็กชวล (Bisexual Flag) ออกแบบโดย Michael Page ในปี 1998 ประกอบด้วยสีชมพู ม่วง และน้ำเงิน โดยสีชมพูสื่อแทนแรงดึงดูดเพศเดียวกัน, สีน้ำเงิน (royal blue) สื่อถึง แรงดึงดูดเพศตรงกันข้าม และสีม่วง สื่อแทนแรงดึงดูดต่อคนทั้งสองเพศ ทั้งยังสามารถใช้ครอบคลุมไปถึงกลุ่ม straight และกลุ่มคนที่ชอบเพศเดียวกันอีกด้วย

Transgender Flag

ธงคนข้ามเพศ (Transgender Flag) ออกแบบโดย Monica Helms ในปี 1999 เป็นธง 5 แถบที่ใช้สีฟ้า ชมพู และขาว โดยสีฟ้าอ่อนและสีชมพูอ่อน สื่อถึงเด็กผู้ชายและเด็กผู้หญิง ส่วนสีขาวสื่อถึงกลุ่มคนที่แปลงเพศ หรือคนที่เป็นกลางทางเพศ หรือคนที่มีเพศกำกวม (intersex)

Asexual Flag

ธงเอเซ็กชวล (Asexual Flag) ออกแบบโดยกลุ่มเอเซ็กชวล (Asexual) ในปี 2010 คือคนที่ไม่รู้สึกดึงดูดทางเพศกับใคร หรือไม่ฝักใฝ่กิจกรรมทางเพศ ไม่ว่าจะเป็นสัมผัสภายนอกหรือมีเพศสัมพันธ์ เป็นธงสี่แถบ ประกอบด้วย สีดำ เทา ขาว และม่วง สีดำสื่อแทนความไม่ฝักใฝ่ทางเพศ, สีเทา หมายถึง ความก้ำกึ่งระหว่างฝักใฝ่ทางเพศ และไม่ฝักใฝ่ทางเพศ, สีขาว สีขาว หมายถึง ความเป็นพันธมิตรกับกลุ่ม LBGTQI+ อื่น ๆ และสีม่วง หมายถึง การรวมกลุ่ม

Pan Sexual

ธงแพนเซ็กชวล (Pan Sexual) ออกแบบในปี 2010 โดยกลุ่มคนที่เปิดกว้างเรื่องความรัก ไม่ใช้เรื่องเพศเป็นสิ่งกำหนด คำว่า Pan มาจากภาษากรีก แปลว่า ทั้งหมด เป็นธงสามแถบ ประกอบด้วย สีชมพูสื่อแทน ความดึงดูดต่อเพศหญิง สีฟ้า หมายถึง ความดึงดูดต่อเพศชาย และสีเหลือง สัญลักษณ์ของความดึงดูดต่อเพศใด ๆ ก็ตามที่ไม่ใช่ชายหรือหญิง

Intersex Flag

ธงอินเตอร์เซ็กส์ (Intersex Flag) ออกแบบโดย Morgan Carpenter ในปี 2013 สำหรับผู้ที่มีลักษณะทางร่างกายไม่เป็นชายหรือหญิงชัดเจน เนื่องจากมีโครโมโซมเพศที่แตกต่างกันออกไป พื้นธงเป็นสีเหลือง สื่อถึงความไม่ใช่ชายหรือหญิง มีห่วงวงกลมสีม่วงอยู่ตรงกลาง สื่อถึงความสมบูรณ์และถูกต้อง

Nonbinary Flag

ธงนอนไบนารี (Nonbinary Flag) ออกแบบโดย Kye Rowan ในปี 2014 สื่อถึงคนที่ระบุว่าตัวเองไม่ใช่ทั้งชายและหญิง รวมถึงกลุ่มเควียร์ (queer) คำเรียกเพศที่สามอย่างกว้าง รวมถึงคนที่มีความเลื่อนไหลของอัตลักษณ์ทางเพศ (genderfluid) ที่สามารถเปลี่ยนไปมาได้ตลอด นอนไบนารีมักต้องการให้ผู้อื่นเรียกแทนด้วย they/them มากกว่าสรรพนามระบุเพศ เป็นธงสี่แถบ ประกอบด้วย สีเหลือง สื่อแทนคนที่เพศสภาพไม่ตรงกับเพศกำเนิด, สีขาว หมายถึง การรวมกัน, สีม่วงลาเวนเดอร์ สัญลักษณ์ของคนที่เป็นเควียร์ และสีดำ หมายถึง คนที่ไม่ต้องการระบุเพศ

ธงสีรุ้ง

ธงเลสเบียน (Lesbian Flag) ออกแบบโดย Emily Gwen ในปี 2018 ใช้แถบสีส้มและสีชมพูเป็นหลัก มีทั้งแบบ 5 และ 7 แถบ ประกอบด้วย สีส้มเข้ม สื่อแทนความไม่สอดคล้อง, สีส้มอ่อน คือ การรวมกลุ่ม, สีขาว หมายถึง ความสัมพันธ์ที่มีเอกลักษณ์ระหว่างผู้หญิงกับผู้หญิง, สีชมพู สัญลักษณ์ของความสงบและสันติภาพ และสีกุหลาบเข้ม (dark rose) สื่อแทนแนวคิดนิยมหญิง หรือ ‘เฟมินิสต์’ สำหรับ 7 แถบจะเพิ่ม ‘สีส้ม’ หมายถึง ความอิสระ และสีชมพูหม่น (dusty pink) คือ ความรักและเซ็กส์

Progress Pride Flag ธงรวมชุมชนความหลากหลายทางเพศ (Progress Pride Flag)

ออกแบบโดย Danial Quaser ในปี 2018 เป็นการต่อยอดจากธงสีรุ้ง เพื่อเพิ่มมิติความหมายของการอยู่ร่วมกันท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายอย่างเป็นเอกภาพ (inclusion) และความก้าวหน้า (progression) สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามา ได้แก่ แถบสีน้ำตาลและสีดำ เพื่อสื่อถึงกลุ่ม LGBTQI+ ผิวสี และกลุ่มคนที่มีเชื้อ HIV/AIDS และแถบสีฟ้า ชมพู ขาว ซึ่งเป็นธงของ Transgender โดยนำมาเรียงเป็นสัญลักษณ์หัวลูกศรเพื่อสะท้อนการเดินหน้าต่อสู้เรียกร้องสิทธิความเท่าเทียมทางสังคม