ยาฉีดควบคุมความหิว

ค่ารักษา

โปรแกรม S 12,500 บาท
โปรแกรม M 23,000 บาท
โปรแกรม L 32,000 บาท

โปรแกรม S

12,500 บาท

โปรแกรม M

23,000 บาท

โปรแกรม L

32,000 บาท

 

การพยายามควบคุมน้ำหนักหนักอย่างไม่ถูกวิธี อาทิ การอดอาหาร งดอาหารจำพวกแป้งและไขมันแบบตัดขาด รับประทานอาหารเพียงมื้อใดมื้อหนึ่ง รับประทานแต่ผักและผลไม้ รวมไปถึงพฤติกรรมหรือปัจจัยอื่น ๆ ที่ส่งผลเสีย เช่น การ รับประทานอาหารไม่ตรงเวลา หรือความเครียด สิ่งเหล่านี้กลับยิ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง เพราะถึงน้ำหนักจะลดลงแต่ก็เสี่ยงกับภาวะขาดสารอาหาร และส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงซึ่งจะทำให้ยิ่งมีความอยาก ความโหยเพิ่มมากขึ้น จนนำไปสู่การรับประทานอาหารที่มากขึ้นด้วย นอกจากนี้ยังส่งผลให้ระบบเผาผลาญในร่างกายทำงานได้น้อยลง ไม่มีประสิทธิภาพ นี่จึงเป็นที่มาของคำว่า “ยิ่งลด ยิ่งอด ยิ่งอ้วน” ซึ่งนอกจากความอ้วนจะมีผลต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจแล้ว ยังมีผลเสียต่อสุขภาพจนอาจก่อให้เกิดโรคร้ายนานาชนิด อาทิ

  • โรคเบาหวาน
  • โรคความดันโลหิตสูง
  • โรคหัวใจขาดเลือด
  • โรคมะเร็ง
  • โรคข้อเข่าเสื่อม
  • ไขมันในเลือดสูง, ไขมันพอกตับ
  • ปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับ (เนื่องจากเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ)
แบบไหนที่เรียกว่า “อ้วน”

หลายท่านสงสัยว่า “ตอนนี้เราอ้วนหรือยังนะ” “แล้วแบบไหนที่เรียกว่าอ้วน” ก่อนอื่นเราคงต้องมาวิเคราะห์เบื้องต้นกันก่อนว่า แต่ละคนมีรูปร่างอย่างไร ซึ่งค่า BMI จะสามารถบ่งบอกได้ว่าคุณมีภาวะผอมเกินไป, สมส่วนตามมาตรฐาน, น้ำหนักเกิน หรือโรคอ้วน โดยจะใช้วัดในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับค่า BMI ที่หลายท่านคุ้ยหูแต่ยังไม่ทราบรายละเอียดกันก่อนดีกว่า ค่า BMI คือ ค่าดัชนีที่ใช้ชี้วัดความสมดุลของน้ำหนักตัว (กิโลกรัม) และส่วนสูง (เซนติเมตร) ซึ่งนำมาใช้เป็นสูตรที่จะหาได้ว่าตอนนี้คุณมีรูปร่างที่สมส่วนหรือไม่

….ทีนี้ลองหยิบปากกากับกระดาษมาลองคำนวณค่า BMI กันดีกว่า!

ถ้าหาค่า BMI ได้แล้ว เราลองมาดูกันว่าตอนนี้รูปร่างคุณเป็นอย่างไร


ควบคุมน้ำหนักด้วยวิธีไหนดี

ในปัจจุบันมีวิธีควบคุมน้ำหนักอย่างปลอดภัยภายใต้การควบคุมดูแลโดยแพทย์มีหลากหลายวิธีด้วยกัน อาทิ การรักษาด้วยยาภายใต้การดูแลของแพทย์, การดูดไขมัน/ตัดไขมัน (เหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI 30 ขึ้นไป ), การใส่บอลลูนกระเพาะอาหาร (เหมาะกับผู้ที่มีค่า BMI 27-29 ) ฯลฯ และในปัจจุบันยังมีอีกหนึ่งทางเลือกในการควบคุมน้ำหนัก ไม่กลับมาโยโย่อีก นั่นก็คือ “ยาฉีดควบคุมความหิว”

ทำความรู้จักกับ “ยาฉีดควบคุมความหิว”

ยาฉีดควบคุมความหิวเป็นการฉีดยา Liraglutide (ลิรากลูไทด์) เข้าชั้นใต้ผิวหนัง โดยสารชนิดนี้เป็นเปปไทด์โปรตีนที่ออกฤทธิ์คล้ายกับฮอร์โมน GLP-1 ซึ่งมีอยู่แล้วในร่างกายที่จะหลั่งออกมาจากลำไส้หลังรับประทานอาหารเสร็จ ส่งผลให้รู้สึกอิ่มนาน หิวน้อยลง กินน้อยลง ลดการกินจุกจิกระหว่างวัน ลดการผลิตน้ำตาลที่ตับ ช่วยเพิ่มความไวของอินซูลินบริเวณตับอ่อนและกล้ามเนื้อ

โดยยาฉีดควบคุมความหิวได้รับการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาช่วยในการควบคุมน้ำหนักภายใต้การดูของทีมแพทย์และนักโภชนาการ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการรับประทานอาหารแบบยั่งยืนและที่สำคัญต้องทำควบคู่ไปกับการคุมอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงจะช่วยให้ประสิทธิภาพในการควบคุมน้ำหนักดียิ่งขึ้น

“ยาฉีดควบคุมความหิว” เหมาะกับใคร

  • ผู้ที่มีน้ำหนักเกิน หรือภาวะโรคอ้วน
  • มีปัญหาสุขภาพที่เกิดจากน้ำหนักเกินมาตรฐาน เช่น เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, ไขมันในเลือดผิดปกติ หรือมีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจขณะนอนหลับ (หยุดหายใจขณะหลับเนื่องจากเกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจ) เป็นต้น
  • ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนักแต่ไม่อยากผ่าตัด
  • ผู้ที่ต้องการปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
 
หมายเหตุ ยาฉีดควบคุมความหิว ไม่เหมาะ กับผู้ที่มีประวัติการแพ้ยา Liraglutide, ผู้ที่เป็นโรคไทรอยด์, ผู้ที่เป็นโรคเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ, ผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี และอายุ 75 ปีขึ้นไป, หญิงตั้งครรภ์หรือวางแผนตั้งครรภ์ และผู้ที่ใช้ยาเบาหวาน หรือยาที่เกี่ยวข้องกับการแข็งตัวของเลือด รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการทำงานของตับ ไต ลำไส้และกระเพาะอาหารควรปรึกษาแพทย์ก่อน

อยากใช้ “ยาฉีดควบคุมความหิว” ต้องทำอย่างไรบ้าง

ยาฉีดควบคุมความหิว เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะน้ำหนักเกิน หรือภาวะโรคอ้วน โดยก่อนรักษาจำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อซักประวัติ ตรวจร่างกาย รวมไปถึงตรวจเลือดเพื่อดูไขมันในเลือด, การทำงานของตับ ไต และฮอร์โมนในร่างกาย ควรใช้ยาฉีดควบคุมความหิวจะต้องอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น

วิธีใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

ในการใช้ยาฉีดควบคุมความหิวในครั้งแรก แพทย์และพยาบาลจะเป็นผู้บอกรายละเอียดขั้นตอนการใช้ยา รวมถึงสาธิตวิธีการใช้ยาฉีดอย่างละเอียด ซึ่งแพทย์แนะนำให้ฉีดยาวันละครั้ง (แนะนำฉีดหลังมื้ออาหาร) โดยจะต้องฉีดในเวลาเดิมหรือใกล้เคียงกันในทุกวัน และตำแหน่งที่ฉีดคือ ใต้ผิวหนังบริเวณหน้าท้อง หรือด้านหน้าของต้นแขนหรือต้นขา (ห้ามฉีดเข้าเส้นเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ)

ขนาดของยา

การเริ่มต้นใช้ยาครั้งแรกจะเริ่มต้นที่ 0.6 มิลลิกรัม ทุกวัน ๆ ละ 1 ครั้ง อย่างน้อย 1 สัปดาห์ และจะปรับยาเพิ่มขึ้นครั้งละ 0.6 มิลลิกรัมในแต่ละสัปดาห์ จนกว่าจะถึงขนาดยาที่แนะนำคือ 3.0 มิลลิกรัม วันละ 1 ครั้ง


อาการข้างเคียง

โดยส่วนใหญ่อาการที่เกิดขึ้นหลังฉีดยาได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย หรือท้องผูก ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเพียงช่วงสัปดาห์แรก ๆ ที่ได้รับยา และอาการจะหายได้เองภายใน 2-3 สัปดาห์ เมื่อได้รับยาอย่างต่อเนื่อง

ผลลัพธ์หลังการใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

หลังการใช้ยาในช่วงวันแรก ๆ คุณจะเริ่มรู้สึกอยากอาหารน้อยลง อิ่มไวและอิ่มนานขึ้น เมื่อคุมหิวได้นานขึ้นก็จะส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลงอย่างต่อเนื่อง และมีผลให้น้ำหนักลดลงตามด้วย

หากลืมฉีดยา…ทำอย่างไรดี?

  • หากลืมฉีดยาน้อยกว่า 12 ชั่วโมง สามารถฉีดยาได้ทันทีที่นึกได้
  • หากลืมฉีดยามากกว่า 12 ชั่วโมง ให้ฉีดยาให้วันถัดไปตามเวลาปกติ
  • ไม่ควรเพิ่มขนาดการฉีดยาเองเพื่อชดเชยยาที่ลืมฉีด

การเก็บรักษายา

  • ยาฉีดที่ยังไม่เคยเปิดใช้ให้เก็บในตู้เย็น (อุณหภูมิ 2ºC – 8ºC)
  • ยาฉีดหลังเปิดใช้ครั้งแรกแล้ว เก็บที่อุณหภูมิห้อง (อุณหภูมิต่ำกว่า 30ºC) ยามีอายุอยู่ได้ 1 เดือน
  • ห้ามแช่ยาฉีดในช่องแช่แข็ง
  • ควรสวมปลอกยาทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน
  • ให้ใช้ยาฉีดแต่ละด้ามสำหรับผู้ป่วยรายเดียวเท่านั้น ไม่ควรใช้ร่วมกันถึงแม้จะเปลี่ยนหัวเข็มก็ตาม

การที่จะมีน้ำหนักและรูปร่างที่สมส่วนอย่างปลอดภัยโดยวิธีทางการแพทย์ นอกจากจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ก็จะต้องทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายเป็นประจำ เท่านี้ก็จะสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารได้อย่างยั่งยืนซึ่งส่งผลดีกับสุขภาพแบบองค์รวมทั้งภายในและภายนอก

ข้อมูลโดยพญ.กัลยาณี พรโกเมธกุล

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม