chat

ยาฉีดควบคุมความหิว

การมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐานจนกลายเป็นโรคอ้วนคือปัญหาที่หลายคนกำลังวิตกกังวลจากทั้งพันธุกรรมและพฤติกรรมการกินที่นำไปสู่ความเสี่ยงในการเป็นโรคอื่นๆตามมา ได้แก่ โรคเบาหวาน, ความดันโลหิตสูง, โรคหัวใจ หรือโรคมะเร็งในอนาคต บางคนไม่มีวินัยในการควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายเพื่อลดน้ำหนักเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่กลับใช้ยาลดความอ้วนที่ไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลโดยแพทย์และผ่านการรับรองจาก อย. ควบคู่กันไปด้วย จนเกิดผลกระทบข้างเคียงต่อร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นหัวใจเต้นเร็ว นอนไม่หลับ และกลับมาอ้วนซ้ำได้ โรงพยาบาลยันฮีขอนำเสนอนวัตกรรมเพื่อช่วยลดน้ำหนักได้อย่างไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย ได้แก่ “ยาฉีดควบคุมความหิวลิรากลูไทด์” ชนิดฉีดยาควบคุมความหิวเข้าสู่ใต้ผิวหนัง

ยาฉีดควบคุมความหิว
ยาฉีดควบคุมความหิว

เหมาะสำหรับผู้มีภาวะอ้วนที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตั้งแต่ 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตรขึ้นไป หรือผู้มีภาวะน้ำหนักเกินที่มีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) เท่ากับ 27 แต่ไม่เกิน 30 กิโลกรัมต่อตารางเมตร และมีปัญหาสุขภาพ เช่น เบาหวาน ความดันเลือดสูง หรือมีปัญหาหยุดหายใจขณะนอนหลับจากการอุดกั้น แม้จะออกกำลังกายแล้วแต่น้ำหนักก็ยังไม่ลด หรือไม่ต้องการลดน้ำหนักด้วยวิธีผ่าตัด

ราคายาฉีดควบคุมความหิวที่โรงพยาบาลยันฮี

วิธีใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

การดูแลตัวเองหลังใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “การใช้ยาฉีดควบคุมความหิว”

วิธีใช้ยาควบคุมความหิว

ยานี้มีชื่อสามัญว่า “ลิรากลูไทด์” (liraglutide) เป็นยาช่วยลดน้ำหนักที่ผ่านการรับรองจาก อย. ยาจะทำหน้าที่เลียนแบบฮอร์โมน GLP1 ที่มีในร่างกาย ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยควบคุมความหิวและอิ่มได้นาน โดยยาจะฉีดเข้าชั้นใต้ผิวหนัง ฉีดเพียงวันละ 1 ครั้ง

สัปดาห์ ปริมาณยา
สัปดาห์ที่ 1 0.6 มิลลิกรัม วันละครั้ง
สัปดาห์ที่ 2 1.2 มิลลิกรัม วันละครั้ง
สัปดาห์ที่ 3 1.8 มิลลิกรัม วันละครั้ง
สัปดาห์ที่ 4 2.4 มิลลิกรัม วันละครั้ง
สัปดาห์ที่ 5 เป็นต้นไป 3.0 มิลลิกรัม วันละครั้ง

เป็นขนาดที่ช่วยลดน้ำหนักได้อย่างมีประสิทธิภาพ ยานี้ใช้เพื่อลดน้ำหนักควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกายในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป

ขนาดและวิธีใช้ยาควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์เท่านั้น เนื่องจากขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาตัวนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความรุนแรงของโรคก่อนได้รับยาฉีดควบคุมความหิว แพทย์ พยาบาล เภสัชกรจะเป็นผู้สาธิตวิธีการใช้ให้ ควรฉีดยาในเวลาใกล้เคียงกันของแต่ละวัน สามารถฉีดยาเวลาไหนก็ได้ของวัน โดยฉีดพร้อมมื้ออาหารและเครื่องดื่มหรือไม่ก็ได้ การฉีดยาจะฉีดเข้าบริเวณใต้ผิวหนังตรงตำแหน่งหน้าท้อง ต้นขา หรือต้นแขน ห้ามฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ หรือกล้ามเนื้อ และห้ามผสมยานี้กับยาอื่นที่ฉีด เช่น ยาฉีดอินซูลิน

คุณสมบัติและการทำงานของยาฉีดควบคุมความหิว

ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น ไม่ค่อยหิวบ่อย

ช่วยลดการผลิตน้ำตาลที่ตับ

เพิ่มความไวของอินซูลินที่ตับอ่อนและที่กล้ามเนื้อ

ลดการเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหาร จึงทำให้อาหารอยู่ท้องนานขึ้น

การดูแลตัวเองหลังใช้ยาฉีดควบคุมความหิว

ส่วนใหญ่อาการที่เกิดในระบบทางเดินอาหารมักมีอาการเพียงเล็กน้อยถึงปานกลาง และเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว โดยอาการคลื่นไส้เป็นผลข้างเคียงที่พบบ่อยที่สุด อาการข้างเคียงมักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกที่ได้รับยา ส่วนใหญ่อาการจะหายไปเองภายใน 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ เมื่อได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ผู้ป่วยไม่ควรปรับระดับยาเอง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ราคายาฉีดควบคุมความหิวที่โรงพยาบาลยันฮี

โปรแกรมที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและพิจารณาภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้ชำนาญการเป็นรายกรณี

โปรแกรม S M L
ตรวจร่างกายโดยแพทย์ (Physical examination)
ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด (FBS)
ตรวจระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสม ( HbA1c )
ตรวจค่าการทำงานของไต ( Cr )
ตรวจระดับไขมันคอเลสเตอรอล ( Cholesterol )
ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ ( Triglyceride )
ตรวจระดับไขมันดี ( HDL-Cholesterol )
ตรวจระดับไขมันไม่ดี ( LDL-Cholesterol )
ตรวจฮอร์โมนควบคุมไทรอยด์ ( TSH )
ตรวจเอมไซม์ตับ ( SGOT, SGPT )
อัลตราซาวนด์ ช่องท้องส่วนบน
Body Composition Analyzer
ยาฉีดควบคุมความหิว 3 mg. 3 ด้าม
ยาฉีดควบคุมความหิว 3 mg. 6 ด้าม
ยาฉีดควบคุมความหิว 3 mg. 9 ด้าม
ราคา (บาท) 14,500 25,500 37,500

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “ยาฉีดควบคุมความหิว”

ถาม
ตอบ

ยาฉีดควบคุมความหิวจะส่งผลกระทบข้างเคียงต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

อาการข้างเคียงที่พบบ่อยเป็นอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร ส่วนใหญ่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางและเกิดขึ้นชั่วคราว อาการข้างเคียงมักเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์แรกที่ได้รับยา และส่วนใหญ่อาการจะหายไปภายใน 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์ เมื่อได้รับยาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ ไม่ควรปรับขนาดยาเองเพื่อลดอาการข้างเคียง ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง

ถาม
ตอบ

ยาฉีดควบคุมความหิวมีข้อควรระวังสำหรับบุคคลกลุ่มใดบ้าง?

  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในผู้ที่มีภาวะหัวใจล้มเหลวรุนแรง โรคกระเพาะอาหารหรือลำไส้ที่รุนแรงซึ่งทำให้กระเพาะอาหารต้องใช้เวลานานขึ้นในการบีบตัวเพื่อส่งอาหารไปที่ลำไส้เล็ก โรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
  • หลีกเลี่ยงการใช้ยานี้ในผู้ป่วยที่มีอายุตั้งแต่ 75 ปีขึ้นไป เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลด้านความปลอดภัย และยังไม่มีการศึกษาด้านความปลอดภัยและประสิทธิภาพของยานี้ในเด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี
  • ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานี้หากท่านมีภาวะโรคตับอ่อนอักเสบ โรคถุงน้ำดีอักเสบและนิ่วในถุงน้ำดี โรคไทรอยด์ มีอาการใจสั่นหรือหัวใจเต้นเร็วผิดปกติในขณะพัก สูญเสียน้ำมากผิดปกติหรือขาดน้ำ เป็นโรคไตหรือกำลังฟอกไต เป็นโรคตับ
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพราะอาจต้องปรับขนาดยารักษาโรคเบาหวาน และห้ามใช้ยานี้แทนการใช้ยาฉีดอินซูลิน
  • การใช้ยานี้ร่วมกับยาบางชนิดอาจมีผลต่อการรักษาหรือเกิดอันตราย ให้แจ้งแพทย์หากท่านใช้ยาอื่นร่วมด้วย ได้แก่ ยารักษาโรคเบาหวาน (เช่น ยาไกลเมพิไรด์ ไกลเบนคลาไมด์ เอ็กเซนาไทด์ ลิซิเซนาไทด์ อินซูลิน) หรือยาต้านการแข็งตัวของเลือด (เช่น ยาวอร์ฟาริน)
  • ถ้าท่านปรับขนาดยาของอินซูลิน แพทย์อาจแนะนำให้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดบ่อยขึ้นกว่าเดิม
  • เมื่อท่านเริ่มใช้ยา Saxenda สำคัญมากที่ต้องดื่มน้ำมากๆเพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไป หากมีคำถามหรือข้อกังวลให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร
  • ห้ามใช้ยานี้หากตั้งครรภ์หรือวางแผนจะตั้งครรภ์ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลผลของยานี้ต่อทารกในครรภ์
  • อย่าให้นมบุตรในระหว่างใช้ยานี้ เนื่องจากไม่มีข้อมูลว่ายานี้ผ่านน้ำนมไปสู่ทารกได้หรือไม่
ถาม
ตอบ

มีวิธีเก็บรักษายาฉีดควบคุมความหิวอย่างไร?

การจัดเก็บยาฉีดควบคุมความหิวต้องควบคุมอุณหภูมิที่เหมาะสม เช่น ในตู้เย็นอุณหภูมิระหว่าง 2-8 องศาเซลเซียส ยาฉีดหลังเปิดใช้ครั้งแรกแล้วให้เก็บที่อุณหภูมิห้อง มีอายุอยู่ได้ 1 เดือน ห้ามแช่ยาฉีดในห้องแช่แข็ง ควรสวมปลอกยาทุกครั้งเมื่อไม่ได้ใช้งาน ให้ใช้ยาฉีดแต่ละครั้งสำหรับผู้ป่วยรายเดียวเท่านั้น ไม่ควรใช้ร่วมกันถึงแม้จะเปลี่ยนหัวเข็มก็ตาม