chat

การตรวจภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ Holter Monitoring

การรักษาภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะอย่างมีประสิทธิภาพ แพทย์ต้องวินิจฉัยในเบื้องต้นก่อนว่าเป็นความผิดปกติชนิดใด เป็นการเต้นแบบสั่นพลิ้ว เต้นผิดจังหวะ เต้นเร็ว หรือเต้นเร็วชนิดลัดวงจร และหาตำแหน่งกำเนิดความผิดปกติเกิดขึ้นว่าเป็น ณ ตำแหน่งใด หัวใจห้องบนหรือห้องล่าง ปัจจุบันได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ที่เรียกว่า “เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้า หัวใจแบบพกติดตัว” (Holter Monitor) หรือ “โฮลเตอร์ มอนิเตอร์” เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็ก กว้าง 1.75 นิ้ว ยาว 2 นิ้ว หนา 0.5 นิ้ว และมีน้ำหนักเพียง 25 กรัม ใช้สำหรับบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (Electrocardiogram หรือ EKG) ตลอด 24 ชั่วโมง ได้นานถึง 14 วัน

ราคาเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว(Holter Monitor)

“เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว” (Holter Monitor) ใช้สำหรับทำอะไร?

“เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว” (Holter Monitor) เหมาะกับใคร?

คุณสมบัติพิเศษของเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor)

ข้อดีของเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว(Holter Monitor)

หลักปฏิบัติขณะติด “เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว” (Holter Monitor)

ข้อควรระมัดระวังในการใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor)

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ“โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและการใช้เครื่อง Holter Monitor”

“เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว” (Holter Monitor) ใช้สำหรับทำอะไร?

  • ใช้สำหรับประเมินอัตราการเต้นเฉลี่ยของชีพจรและการตอบสนองของการเต้นของชีพจรในขณะกำลังทำกิจกรรมต่าง ๆ อยู่
  • ใช้สำหรับประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่น หรือเกิดความรู้สึกว่าหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ
  • ใช้สำหรับประเมินผู้ป่วยที่มาด้วยอาการวูบ หน้ามืด หรือเป็นลม เพื่อวินิจฉัยว่า มีสาเหตุมาจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือไม่?
  • ใช้สำหรับประเมินประสิทธิภาพหลังการรักษา ทั้งจากการรักษาโรคหัวใจเต้นผิด จังหวะด้วยยาหรือรักษาด้วยการทำหัตถการ

“เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว” (Holter Monitor) เหมาะกับใคร?

  • เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการใจสั่นหรือหัวใจหยุดเต้นชั่วขณะ ใช้สำหรับประเมินคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
  • เหมาะกับผู้ป่วยที่มีอาการวูบ หน้ามืด หรือเป็นลม เพื่อวินิจฉัยแยกโรคว่ามีสาเหตุจากโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะหรือไม่
  • เหมาะกับผู้ที่มีอาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดบ่อย ๆ และเป็นช่วงเวลา ๆ
  • เหมาะสำหรับผู้ที่ออกกำลังกาย เพื่อประเมินอัตราการเต้นของชีพจร และการตอบสนองของระบบการทำงานของหัวใจ (ชีพจร) ขณะออกกำลังกาย (Cardiac Response to exercise)
  • เหมาะกับผู้ที่รับการรักษาโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยยาหรือทำหัตถการเพื่อใช้ประเมินประสิทธิภาพหลังการรักษา

คุณสมบัติพิเศษของเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor) รุ่น “myPatch”

  • สามารถกันน้ำได้ในระดับ IP68 สามารถแช่อยู่ในน้ำลึกได้ถึง 1.5 เมตร ด้วยอุณหภูมิและความดันปกติเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง สามารถกันน้ำสาดได้ ป้องกันเหงื่อได้ ทั้งยังสามารถติดเครื่องในขณะฝนตกได้อีกด้วย
  • สามารถติดเครื่องในขณะออกกำลังกายได้ แต่ต้องไม่เป็นการออกกำลังกายที่หักโหมมากจนเกินไป เช่น ว่ายน้ำ, ดำน้ำลึก, สกีน้ำ, การโต้คลื่น กีฬาทางน้ำที่ใช้เครื่องยนต์ เช่น เรือเร็ว, เรือยนต์, การล้างรถ, การล่องแก่ง, หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่แช่อยู่ในน้ำเป็นเวลานาน

อาการที่ควรพบแพทย์เพื่อตรวจด้วยเครื่องบันทึกไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor)

  • ใจสั่น หัวใจเต้นแรง หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นรัว หายใจไม่ทัน
  • หัวใจเต้นช้ากว่าปกติ
  • เหนื่อยง่าย หายใจหอบ หายใจไม่ทัน อ่อนเพลีย เหงื่อออกมาก
  • เจ็บหน้าอก
  • หน้ามืด ตาลาย วิงเวียน วูบ เป็นลม หมดสติ
  • หัวใจหยุดเต้น
  • ไม่มีอาการหรือตรวจพบโดยบังเอิญ

ข้อดีของเครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor) รุ่น “myPatch”

  • เหมาะกับผู้ที่อาการหัวใจเต้นผิดปกติเกิดขึ้นบ่อย ๆ และเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ เมื่อติดเครื่อง Holter Monitor แล้วสามารถกลับไปพักที่บ้านหรือทำงานได้ตามปกติ ไม่ต้องเสียเวลานอนพักที่โรงพยาบาล เมื่อครบกำหนดจึงกลับมาถอดเครื่อง และรอรับทราบผลการตรวจวิเคราะห์จากแพทย์
  • อุปกรณ์นี้เป็น Multiple Channel Holter ที่สามารถติดไว้ได้นานที่สุด 14 วัน ซึ่งนานกว่า Traditional Holter Monitors ที่ติดไว้ได้เพียง 1-2 วันเท่านั้น
  • การติดเครื่อง Holter Monitor ไว้เป็นเวลานานกว่าย่อมทำให้ผลการวินิจฉัยอาการหรือค่าความผิดปกติในการเต้นของหัวใจมีความแม่นยำและเกิดข้อผิดพลาดได้น้อยกว่าการติดเครื่องในระยะเวลาที่สั้นกว่า จากผลการวิจัยในสหราชอาณาจักรพบว่า หากติดเครื่อง Holter Monitor ไว้ 1 วันมีอัตราส่วนในการพบความผิดปกติของผู้ป่วยเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น ขณะที่ติดเครื่องที่ 3 วันพบได้เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวคือร้อยละ 60 และติดเครื่องตั้งแต่ 7 วันเป็นต้น ไปสามารถพบความผิดปกติได้ 100 เปอร์เซ็นต์เต็ม โดยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นถึง 3 เท่า
  • ไม่มีสาย lead wire ทำให้สวมใส่เสื้อผ้าได้ตามปกติ
  • ไม่ต้องชาร์จแบตเตอร์รี่

หลักปฏิบัติขณะติด “เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจ แบบพกติดตัว” (Holter Monitor)

  • เจ้าหน้าที่จะติดแผ่นนำกระแสไฟฟ้า( Electrode Patch) บริเวณหน้าอกของ ผู้ป่วย สำหรับคนไข้ผู้ชายหากบริเวณหน้าอกมีขนค่อนข้างมากจะต้องโกนขนบริเวณหน้าอกออกบางส่วน เพื่อสามารถติดแผ่นนำกระแสไฟฟ้าให้แนบกับผิวหนังหน้าอกได้ดี และบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
  • กดเบา ๆ บนตัวเครื่องและบริเวณแผ่นนำกระแสไฟฟ้า( Electrode Patch) หลังจากเปลี่ยนเสื้อผ้าหรืออาบน้ำเพื่อให้แน่ใจว่าติดเครื่องอย่างแน่นหนา
  • แตะสองครั้งที่อุปกรณ์ระหว่างที่มีอาการ จะมีไฟสีน้ำเงินสว่างขึ้นชั่วครู่ และระบุในใบบันทึกกิจกรรมด้วย ไฟสีน้ำเงินเป็นสัญญาณแสดงว่ามี การเปิดใช้งาน และแสดงการบันทึกอาการที่เกิดขึ้น ณ ช่วงเวลานั้น และควรไปพบแพทย์ทันทีที่พบอาการผิดปกติ เช่น หมดสติ หรือใจสั่นเป็นระยะเวลานานที่มีความผิดปกติร่วมด้วย
  • การอาบน้ำ แนะนำให้อาบน้ำเบาๆภายใน 10-15 นาที หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ถูบริเวณที่มีอุปกรณ์ และแผ่นนำกระแสไฟฟ้า( Electrode Patch) แล้วล้างด้วยน้ำเปล่าอย่างรวดเร็ว หลังอาบน้ำเสร็จใช้ผ้าเช็ดตัวซับบริเวณแผ่นนำกระแสไฟฟ้า( Electrode Patch) หรือเป่าลมเย็นให้แห้ง (ห้ามใช้ลมร้อนเป่า)
  • เมื่อครบกำหนด จึงกลับมาถอดเครื่องคืนเพื่อรับผลวินิจฉัย
  • เจ้าหน้าที่จะให้สมุดบันทึกสำหรับบันทึกกิจกรรม รวมถึงอาการผิดปกติต่าง ๆ เช่น แน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น หน้ามืด คนไข้ควรบันทึกระยะเวลาที่มีอาการตั้งแต่เริ่มต้นเพื่อเปรียบเทียบกับคลื่นไฟฟ้าหัวใจขณะที่มีอาการ

ข้อควรระมัดระวังในการใช้เครื่องบันทึกคลื่นไฟฟ้าหัวใจแบบพกติดตัว (Holter Monitor)

  • ไม่แช่ในน้ำนานเกินกว่า 30 นาที หรือในระดับความลึกมากกว่า 1.5 เมตร
  • ไม่ควรไปบ่อน้ำพุร้อน แช่ออนเซ็น ห้องซาวน่า หรือห้องอบไอน้ำ รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ ในสภาพแวดล้อมที่มีอุณหภูมิสูง และมีความชื้นสูง
  • ห้ามทาน้ำมัน แป้ง โลชั่น หรือครีมใด ๆ บริเวณหน้าอก รวมทั้งการเข้าสปาเพื่อนวดตัวที่มีการใช้น้ำมันนวดด้วย
  • ห้ามทำเครื่องตกหรือกระแทกรุนแรงที่ตัวเครื่อง
  • หลีกเลี่ยงการอยู่บริเวณที่มีสายไฟแรงสูง หรือบริเวณที่มีเครื่องตรวจจับโลหะเป็นระยะเวลานาน
  • ห้ามเอ็กซเรย์, MRI หรือทำ CT Scan ในระหว่างติดเครื่อง Holter Monitor
  • หลีกเลี่ยงการสวมสร้อยคอระหว่างใช้อุปกรณ์

ค่าตรวจหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วยเครื่อง Holter Monitor

2 Chanel 2 วัน

5,500 บาท

2 Chanel 3 วัน

6,200 บาท

2 Chanel 7 วัน

10,000 บาท

3 Chanel 2 วัน

7,100 บาท

3 Chanel 3 วัน

8,100 บาท

3 Chanel 7 วัน

12,000 บาท

Q&A หลากคำถามมีคำตอบ เกี่ยวกับ “โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะและการใช้เครื่อง Holter Monitor”

ถาม
ตอบ

การใช้เครื่อง Holter Monitor มีผลกระทบข้างเคียงอย่างไรบ้าง?

การใช้เครื่อง Holter Monitor แทบไม่มีความเสี่ยงที่เป็นอันตรายเลย ไม่ทำให้เกิดความเจ็บปวด แต่ผู้ป่วยบางรายมีอาการระคายเคืองบริเวณที่ติดแผ่นนำกระแสไฟฟ้า( Electrode Patch) หากผู้ป่วยรายใดเคยมีประวัติแพ้เทปกาวควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบก่อน

ถาม
ตอบ

การใช้เครื่อง Holter Monitor ที่โรงพยาบาลยันฮีมีข้อจำกัดอะไรบ้าง?

เครื่อง Holter Monitor ถูกออกแบบมาเพื่อการใช้งานได้หลายช่วงวัยทั้งผู้ใหญ่ ผู้สูงอายุ รวมไปถึงเด็กด้วย แต่กรณีโรงพยาบาลยันฮีจะให้บริการเฉพาะผู้ใหญ่และ ผู้สูงอายุเท่านั้น ไม่มีอุปกรณ์สำหรับเด็ก โดยระยะเวลาในการติดอุปกรณ์ขึ้นอยู่กับแพทย์เป็นผู้ประเมินจำนวนวันและชนิดของช่อง (Chanel)

หัตถการของศูนย์หัวใจ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม