chat

ไวรัสตับอักเสบเอ

โรคไวรัสตับอักเสบเอ (Hepatitis A Virus) เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม picornavirus ทำให้เกิดการอักเสบแบบเฉียบพลันของตับ โดยทั่วไปอาการจะหายภายใน 2 เดือน พบว่าเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปีมักไม่มีอาการ วัยรุ่นขึ้นไปจนถึงวัยผู้ใหญ่ส่วนใหญ่จะมีอาการตับอักเสบเฉียบพลัน โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคตับอักเสบเรื้อรังจากสาเหตุอื่นมาก่อน อย่างไรก็ตาม ผู้ที่เคยติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ จะมีภูมิคุ้มกันตลอดชีวิตและจะไม่เป็นโรคนี้ซ้ำเดิมอีก แม้ว่าจะไม่ใช่โรครุนแรง แต่ก็ติดต่อกันได้ง่าย จึงควรป้องกันด้วยการฉีดวัคซีน

ราคาฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอที่โรงพยาบาลยันฮี

สาเหตุของโรค

อาการของโรค

วิธีป้องกัน

ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ”

สาเหตุของโรค

  • เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่ปนเปื้อนเชื้อ รับประทานอาหารที่ไม่ได้ปรุงสุก
  • ติดจากการใช้ชีวิตที่ไม่มีสุขอนามัย เช่น การขับถ่ายอุจจาระลงในแหล่งน้ำ ตัวเชื้อไวรัสตับอักเสบเอจะอยู่ในอุจจาระของผู้ป่วย เมื่อคนนำน้ำไปใช้งานต่อก็จะมีโอกาสได้รับเชื้อเข้าร่างกาย
  • ติดจากการใช้ของมีคมร่วมกับผู้ที่ติดเชื้อ เช่น การสัก การเจาะหู การฝังเข็ม เป็นต้น
  • ติดจากการมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะกลุ่มชายรักชายที่สัมผัสกันทางทวารหนักหรือทางปาก

อาการของโรค

ไวรัสตับอักเสบเอ

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคตับอักเสบจะมีไข้นำมาก่อน ร่วมกับอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย อ่อนเพลีย บางรายอาจมีอาการท้องเสียร่วมด้วย เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย, คลื่นไส้ อาเจียน, แน่นท้องใต้ชายโครงขวา ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้ม มีอาการตัวเหลืองตาเหลืองที่เรียกว่า ‘ดีซ่าน’

วิธีป้องกัน

ล้างมือทุกครั้งหลังเข้าห้องน้ำ หรือก่อนปรุงอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร

กินอาหารปรุงสุก สะอาด ใช้ช้อนกลาง

หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบเอ

ไม่ควรใช้เข็มฉีดยา เข็มเจาะเลือด เข็มเจาะหู หรือเข็มสักร่วมกันกับผู้อื่น

ไม่ควรรับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดจากผู้บริจาคที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบเอ

วิธีป้องกันที่ดีที่สุด คือ ฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบ ภูมิคุ้มกันจะเริ่มหลังได้วัคซีนเข็มแรก 4 สัปดาห์อยู่ได้นานประมาณ 20 ปี ขนาดของวัคซีนฉีด 3 เข็ม เดือนที่ฉีดคือเดือน 0 ครั้งต่อไป 6 และ 12 เดือน ตามลำดับ การให้วัคซีนสามารถให้พร้อมกับวัคซีนอื่น เช่น ไวรัสตับอักเสบบี บาดทะยัก วัคซีนป้องกันคอตีบ วัคซีนป้องกันไข้สมองอักเสบ ผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน เมื่อจะต้องไปประเทศที่มีการระบาดควรได้รับวัคซีน 4 สัปดาห์ก่อนเดินทาง อย่างไรก็ตาม วัคซีนไม่สามารถป้องกันโรคได้ หากมีการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบเออยู่ในขณะนั้น

ไวรัสตับอักเสบเอ

ผู้ที่อายุน้อยกว่า 18 ปี อาจให้วัคซีนโดยไม่จำเป็นต้องตรวจภูมิต้านทานโรค ส่วนผู้ที่อายุ 18 ปี ขึ้นไป ควรทดสอบภูมิคุ้มกันก่อน เนื่องจากประเทศไทยมีผู้ใหญ่จำนวนมากที่เคยได้รับเชื้อและมีภูมิต้านทานแล้ว ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับการใช้วัคซีนในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ เป็นวัคซีนชนิดเนื้อตาย จึงอาจพิจารณาให้วัคซีนได้ในกรณีที่มีความจำเป็นเท่านั้น

ผู้ที่ควรฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบเอ

ผู้ที่ยังไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค

เด็กอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีตับอักเสบเรื้อรัง หรือ ตับแข็ง ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผู้ที่มีเชื้อ HIV

ผู้ที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการรับและแพร่กระจายของโรค ได้แก่ ผู้ประกอบอาหาร สถานเลี้ยงเด็ก กองทัพ บุคลากรทางการแพทย์

นักท่องเที่ยวที่จะเดินทางไปแหล่งระบาด เช่น แถบอเมริกากลาง อเมริกาใต้ แถบทะเลคาริบเบียนเอเชีย (ยกเว้นประเทศญี่ปุ่น) แอฟริกา และยุโรปตะวันออก โดยควรฉีดอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนเดินทาง

ผู้ที่เป็นโรค Hemophilia

ราคาฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ ที่โรงพยาบาลยันฮี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับเอกเสบเอ เข็มละ
(ต้องฉีด 2 เข็ม ห่างกัน 0-6 เดือน)

2,000 บาท

วัคซีนป้องกันไวรัสตับเอกเสบเอ + บี เข็มละ
(ต้องฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 0-1-6 เดือน)

1,400 บาท

หมายเหตุ : ราคานี้ยังไม่รวมค่าบริการ โรงพยาบาล ค่าแพทย์ และอื่นๆ ประเภทของวัคซีนแพทย์จะเป็นผู้ประเมินตามความเหมาะสมของคนไข้เป็นรายบุคคล

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบเอ

ถาม
ตอบ

ไวรัสตับอักเสบเอ ก่อให้เกิดภาวะตับวายเฉียบพลันได้หรือไม่?

ตับวายเฉียบพลัน (Acute liver failure) พบได้น้อยมาก แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วมีอัตราการเสียชีวิตสูง โดยปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดตับวายเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบเอ ได้แก่ อายุมาก โดยเฉพาะในผู้ที่อายุมากกว่า 75 ปี ผู้ที่มีโรคตับอักเสบเรื้อรังหรือตับแข็งจากสาเหตุอื่นอยู่เดิม

ถาม
ตอบ

ใครที่ไม่ควรรับการฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ?

ผู้ที่มีอาการแพ้ชนิดรุนแรงหลังจากได้รับวัคซีนไวรัสตับอักเสบเอ ผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรงต่อส่วนประกอบของวัคซีน ผู้ที่มีอาการเจ็บป่วยเฉียบพลัน และหญิงตั้งครรภ์

แพทย์ผู้เขียนบทความ

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ