chat

ไวรัสตับอักเสบบี

ปัจจุบันมีประชากรไทยเกินกว่า 9 ล้านคนที่เป็นพาหะของโรคไวรัสตับอักเสบบี และสามารถแพร่เชื้อต่อไปได้เรื่อย ๆ ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus Infection) ทำให้เกิดการอักเสบของเซลล์ตับและทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย หากเป็นเรื้อรังจะเกิดพังผืด ตับแข็ง และมะเร็งตับได้ จากหลักฐานการศึกษาในปัจจุบันพบว่าการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับ ซึ่งเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดในคนไทย พบความชุกของโรคในประชากรไทยราวร้อยละ 5-7 ของประชากรทั้งหมด

ราคาฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบีที่โรงพยาบาลยันฮี

สาเหตุของโรค

อาการของโรค

วิธีป้องกัน

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบบี”

สาเหตุของโรค

ไวรัสตับอักเสบบี
ไวรัสตับอักเสบบี

ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B Virus Infection) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดบี (HBV) ทำให้เกิดปฏิกิริยาต่อระบบภูมิต้านทานของร่างกาย ส่งผลให้ผู้ที่ได้รับเชื้อมีการอักเสบของเซลล์ตับ และทำให้เซลล์ตับถูกทำลาย สามารถติดต่อทางเลือด น้ำเชื้อ และสารคัดหลั่งอย่างอื่น เช่น น้ำเหลือง โดยสามารถรับเชื้อจาก

การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย

ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน ใช้เข็มสักตามตัวร่วมกัน และการเจาะหู

กลุ่มคนที่มีความเสี่ยง ได้แก่ ผู้ที่มีตับอักเสบเรื้อรัง หรือ ตับแข็ง ผู้ที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ ผู้ที่มีเชื้อ HIV

ใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน

ติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในประเทศไทย ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90% จึงควรตรวจเลือดมารดาระหว่างฝากครรภ์ ถ้าพบว่ามารดามีเชื้อควรให้วัคซีนและสารภูมิต้านทาน อิมมูโนโกลบูลินในทารกตั้งแต่แรกเกิดเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้

สัมผัสกับเลือด น้ำคัดหลั่ง ผ่านเข้าทางบาดแผล

อาการของโรค

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบบี แบ่งได้เป็น 2 ระยะ คือ ‘ระยะเฉียบพลัน’ กับ ‘ระยะเรื้อรัง’

ระยะเฉียบพลัน

ไวรัสตับอักเสบบี

ผู้ป่วยจะเริ่มปรากอาการภายใน 1-4 เดือนหลังติดเชื้อ มีอาการไข้ ตัวเหลือง ตาเหลืองคล้ายดีซ่าน ปวดท้องใต้ชายโครงขวา คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย ปวดข้อ กรณีมีอาการรุนแรงอาจทำให้เกิดภาวะตับวายได้ อาการตับอักเสบระยะเฉียบพลันจะดีขึ้นใน 1-4 สัปดาห์ และจะหายเป็นปกติเมื่อร่างกายสามารถกำจัดและควบคุมเชื้อไวรัสตับอักเสบได้ มักใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ผู้ป่วยส่วนน้อย (ร้อยละ 5-10) ไม่สามารถกำจัดเชื้อออกจากร่างกายได้หมด ทำให้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง

ระยะเรื้อรัง

ไวรัสตับอักเสบบี

จำแนกผู้ป่วยได้เป็น 2 กลุ่ม ‘กลุ่มพาหะ’ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่มีอาการแต่สามารถแพร่เชื้อสู่ผู้อื่นได้ ผลการตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับอยู่ในเกณฑ์ปกติ ดังนั้น ก่อนแต่งงานหรือมีเพศสัมพันธ์ควรตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีก่อน และ ‘กลุ่มตับอักเสบเรื้อรัง’ คือ ผู้ป่วยที่มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย และตรวจเลือดพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ ผู้ป่วยส่วนมากมักไม่มีอาการ บางรายอาจมีอาการอ่อนเพลียหรือเบื่ออาหาร ส่วนการติดเชื้อแบบเรื้อรังพบบ่อยในเด็กที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกเกิด

วิธีป้องกัน

ตรวจสุขภาพร่างกายประจำทุกปี โดยเฉพาะตับควรตรวจปีละครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ

ฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไวรัสตับอักเสบ หากร่างกายยังไม่มีภูมิคุ้มกัน ไม่ควรรับประทานยาติดต่อกันเป็นเวลานาน หากไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์

งดดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค

มีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย หลีกเลี่ยงการสัมผัสเลือดและสารคัดหลั่งของผู้อื่นะ

หลีกเลี่ยงยาประเภทสเตรียรอยด์ เป็นสารที่กระตุ้นให้ไวรัสตับบีเพิ่มปริมาณมากขึ้น

เมื่อใดควรไปพบแพทย์

ผู้ป่วยที่ตรวจพบว่าตนเองมีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีควรพบแพทย์ทุกราย เพื่อประเมินว่าตับได้รับความเสียหายหรือมีการสะสมของพังผืดมากน้อยเพียงใด รวมถึงตรวจประเมินสถานการณ์ติดเชื้อของไวรัส และตรวจนับจำนวนไวรัสคัดกรองมะเร็งตับอีกด้วย กรณีคู่สมรสที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี รวมถึงผู้ที่มีประวัติครอบครัวของโรคตับแข็งหรือมะเร็งตับที่ไม่ทราบสาเหตุชัดเจน ควรตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบบีเช่นกัน เนื่องจากประเทศไทยมีความชุกของไวรัสตับอักเสบบีค่อนข้างสูง ผู้ที่ยังไม่เคยตรวจหาไวรัสตับอักเสบบีมาก่อน ควรตรวจอย่างน้อยหนึ่งครั้ง

ราคาฉีดวัคซีนไวรัสตับอักเสบบี ที่โรงพยาบาลยันฮี

วัคซีนป้องกันไวรัสตับเอกเสบบี เข็มละ
(ต้องฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 0-1-6 เดือน)

650 บาท

วัคซีนป้องกันไวรัสตับเอกเสบเอ+บี เข็มละ
(ต้องฉีด 3 เข็ม ห่างกัน 0-1-6 เดือน)

1,400 บาท

หมายเหตุ ราคานี้ยังไม่รวมค่าบริการ โรงพยาบาล ค่าแพทย์ และอื่น ๆ ประเภทของวัคซีนแพทย์จะเป็นผู้ประเมินตามความเหมาะสมของคนไข้เป็นรายบุคคล)

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบบี

ถาม
ตอบ

โรคไวรัสตับอักเสบบีรักษาหายไหม?

ผู้ป่วยที่มีอาการแบบเฉียบพลันมีโอกาสรักษาหายขาดได้ แต่ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรังและยังคงตรวจพบเชื้ออยู่ อาจนำไปสู่ภาวะตับแข็ง หรือเป็นมะเร็งตับได้ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและวางแผนรักษาต่อไป

ถาม
ตอบ

แนวทางการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบบีเป็นอย่างไร?

วิธีรักษาไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังมี 2 แบบ คือ ใช้ยาชนิดรับประทานไปยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส และใช้ยาฉีดกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ป่วย เรียกว่า ยาฉีดเพ็กไกเลดเตด อินเตอร์เฟียรอน (pegylated interferon) มีฤทธิ์ไปกระตุ้นภูมิต้านทานของผู้ป่วยให้ต่อสู้ควบคุมไวรัสตับอักเสบบีเป็นหลัก มีฤทธิ์ยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัส การฉีดเพ็กไกเลดเตด อินเตอร์เฟียรอน ใช้เวลารักษานาน 48 สัปดาห์ ได้ผลตอบสนอง 6 เดือน ร้อยละ 33–40 หลังหยุดฉีดยาแล้วภูมิต้านทานของผู้ป่วยที่ถูกกระตุ้นไว้ ยังคงออกฤทธิ์ต่อสู้กับไวรัสอยู่จึงสามารถตอบสนองเพิ่มขึ้น อีกประมาณร้อยละ 14 หลังหยุดการรักษาไปแล้ว 1 ปี ผลตอบสนองจากการรักษาด้วยยาฉีดอินเตอร์เฟียรอนมักอยู่นาน โอกาสการกลับเป็นซ้ำน้อยกว่ายากินต้านไวรัส

แพทย์ผู้เขียนบทความ

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม