chat

ไวรัสตับอักเสบซี (Hepatitis C)

ประชากรทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีประมาณร้อยละ 3 ส่วนใหญ่มักไม่ทราบว่ามีเชื้อแฝงอยู่ในร่างกาย จะทราบก็ต่อเมื่อตรวจร่างกายแล้วพบค่าการทำงานของตับผิดปกติ และตรวจเลือดพบการติดเชื้อ ผู้ป่วยระยะแรกจะตับอักเสบเฉียบพลัน อาการไม่รุนแรง เป็นแบบค่อยเป็นค่อยไป มักเหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หากปล่อยทิ้งไว้จนกลายเป็นตับอักเสบเรื้อรัง โรคจะดำเนินไปจนเข้าสู่ระยะตับแข็ง อาจกินเวลา 10-30 ปี บางรายกว่าผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ก็เข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคแล้ว และมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับ

ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบซี

อาการโรคไวรัสตับอักเสบซี

กลุ่มเสี่ยงโรคไวรัสตับอักเสบซี

การปฏิบัติตัวเมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

การรักษา โรคไวรัสตับอักเสบซี

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบซี”

‘ไวรัสตับอักเสบซี’ (Hepatitis C) คือ โรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสชนิดซี เป็นเชื้อไวรัสชนิดอาร์เอ็นเอ (RNA) ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 2 สัปดาห์ถึง 6 เดือน ติดต่อกันทางเลือดหรือเพศสัมพันธ์คล้ายกับไวรัสตับอักเสบบี แต่ไม่สามารถติดต่อผ่านการให้นมบุตร การจามไอรดกัน รับประทานอาหารหรือดื่มน้ำด้วยกัน และใช้ภาชนะร่วมกัน

ไวรัสตับอักเสบซี

เชื้อไวรัสตับอักเสบซีเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะแบ่งตัวและอาศัยอยู่ในตับ ระยะแรกทำให้เกิดตับอักเสบเฉียบพลัน มักมีอาการไม่มาก ทำให้ผู้รับเชื้อไม่ทราบว่ามีตับอักเสบแฝง ราวร้อยละ 8 ของผู้ได้รับเชื้อจะติดเชื้อเรื้อรัง ตามด้วยตับอักเสบเรื้อรังแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ปรากฏอาการเด่นชัด จนผ่านไป 10-30 ปี จึงเข้าสู่ระยะตับแข็ง อีกสิบปีต่อมาจึงเข้าสู่ระยะสุดท้ายของโรคตับแข็ง มีโอกาสเกิดมะเร็งตับได้ร้อยละ 1-3 ต่อปี การวินิจฉัยสามารถตรวจเลือดแล้วนำส่วนที่เป็นน้ำเหลืองไปตรวจหาภูมิต่อต้านไวรัสตับอักเสบซี “แอนติ เอช ซี วี (Anti-HCV)” รอผลประมาณ 3-7 วัน

ชนิดของไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซีแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ในประเทศไทยพบชนิดที่ 1 และ 3 ในอัตราส่วนเท่า ๆ กัน ประมาณร้อยละ 40 รองลงมาคือชนิดที่ 2 ส่วนชนิดที่ 4, 5 และ 6 พบน้อย ผู้ป่วยจำเป็นต้องตรวจว่าไวรัสตับอักเสบซีที่เป็นคือชนิดอะไร เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาโรคต่อไป เนื่องจากการรักษาไวรัสแต่ละชนิดมีความยากง่ายแตกต่างกัน

ไวรัสตับอักเสบซี

สาเหตุของโรคไวรัสตับอักเสบซี

มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเชื้อโดยไม่ได้สวมถุงยางอนามัย

ใช้เข็มฉีดยา ใช้เข็มสักตามตัว หรือเจาะหู ร่วมกัน สัมผัสกับเลือด น้ำคัดหลั่ง ผ่านเข้าทางบาดแผล

ใช้แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บร่วมกัน

ติดเชื้อขณะคลอดจากแม่ที่มีเชื้อ ถ้าแม่มีเชื้อลูกมีโอกาสได้รับเชื้อ 90% จึงควรตรวจเลือดมารดาระหว่างฝากครรภ์ ถ้าพบว่ามารดามีเชื้อควรให้วัคซีนและสารภูมิต้านทาน อิมมูโนโกลบูลินในทารกตั้งแต่แรกเกิดเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคนี้

อาการของโรคไวรัสตับอักเสบซี

ตับอักเสบเฉียบพลัน หลังจากไวรัสตับอักเสบซีเข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำให้ตับอักเสบ ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการ มีเพียงร้อยละ 25-30 ของผู้ป่วยจะตัวเหลือง ตาเหลือง เรียกว่า ‘ดีซ่าน’ ปัสสาวะสีเข้ม เบื่ออาหาร น้ำหนักลด อ่อนเพลีย มีน้ำในช่องท้อง ปวดชายโครงขวา ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ ตับม้ามโต ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่รู้ตัวว่าติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีแบบเฉียบพลัน

ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซีกว่าร้อยละ 60 จะตับอักเสบเรื้อรัง ระยะแรกมักไม่แสดงอาการ เมื่อตับถูกทำลายหรืออักเสบมากผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร

ตับแข็ง ผู้ป่วยตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบซี ตับจะอักเสบและถูกทำลายไปเรื่อยๆ จนกลายเป็นตับแข็ง ถ้าเป็นมากแล้ว ผู้ป่วยจะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ผอมลง ตัวเหลืองเป็นดีซ่าน ท้องมาน ผิวดำคล้ำ แห้งคันโดยไม่มีแผล หรือผื่นมากกว่าเดิม เลือดกำเดาออก เลือดออกตามไรฟันและตับวายได้ในที่สุด

มะเร็งตับ ผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรังมีโอกาสเป็นมะเร็งตับมากกว่าคนปกติ หากได้รับการรักษาอย่างถูกต้องก็สามารถลดโอกาสเกิดมะเร็งตับลงได้

กลุ่มเสี่ยงโรคไวรัสตับอักเสบซี
  • ผู้รับเลือดที่ไม่ผ่านการคัดกรองตรวจหาเชื้อ โดยเฉพาะก่อนปี พ.ศ. 2533 ที่ยังไม่มีการตรวจคัด กรองหาเชื้อไวรัสตับอักเสบซี
  • ผู้ที่ฉีดสารเสพติดเข้าเส้นเลือด ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน
  • ผู้ที่ใช้ของส่วนตัวที่เปื้อนเลือดร่วมกัน เช่น มีดโกน หรือกรรไกรตัดเล็บ
  • ผู้ที่สักตามตัว ใช้เข็มติดเชื้อโรคสักผิวหนัง เจาะหู ฝังเข็ม
  • ผู้ป่วยโรคเอดส์ และกลุ่มผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง โดยเฉพาะผู้ที่ได้ฟอกไตมาเป็นระยะเวลานาน
  • ผู้ที่มีผลเลือดพบการทำงานของตับอักเสบ
  • ผู้ที่ได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบซีจากการทำฟัน
  • ผู้ที่มีประวัติมีเพศสัมพันธ์กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบซีเรื้อรัง

การปฏิบัติตัวเมื่อติดเชื้อไวรัสตับอักเสบซี

ไวรัสตับอักเสบซี

งดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด

ไวรัสตับอักเสบซี

งดทานยาที่เป็นอันตรายต่อตับ เช่น ยาลดไข้และยาแก้ปวดพาราเซตามอล สมุนไพร

ไวรัสตับอักเสบซี

ทานอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูงเพื่อเสริมสร้างพลังงานที่บกพร่องไป เน้นทานโปรตีนพวกเนื้อ นม ไข่ ถั่วต่างๆ ในปริมาณที่มากกว่าปกติ เพื่อซ่อมแซมและสร้างเซลล์ใหม่ของตับ

ไวรัสตับอักเสบซี

ไม่ควรดื่มน้ำหวาน เพราะน้ำตาลมาก จะทำให้ตับทำงานเพิ่มขึ้น

ไวรัสตับอักเสบซี

งดอาหารประเภททอด อาหารมัน เพื่อลดการทำงานของตับ

ไวรัสตับอักเสบซี

หากมีอาการบวม ควรทานอาหารรสจืดกว่าปกติ งดอาหารหมักดอง อาหารกระป๋อง หรืออาหารสำเร็จรูป เพราะมีโซเดียมสูง

ไวรัสตับอักเสบซี

ไม่ควรบริจาคเลือดหรืออวัยวะต่าง ๆ

ไวรัสตับอักเสบซี

หลีกเลี่ยงอาหารเสริมที่ไม่จำเป็น รวมถึงยาสมุนไพร ยาลูกกลอน เพราะวิตามินบางชนิดหากทานมากเกินไปอาจเกิดอันตรายต่อตับได้

การรักษาโรคไวรัสตับอักเสบซี

ทานยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 12 สัปดาห์ ถือเป็นไวรัสเลี้ยงรังตัวแรกที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ก่อนการรักษาแพทย์จะต้องตรวจดูปริมาณไวรัส ในบางกรณีต้องตรวจสายพันธุ์ของไวรัสร่วมกับประเมินความรุนแรงของโรคตับ เพื่อพิจารณายาที่เหมาะสมกับผู้ป่วย จากนั้นเริ่มทานยาให้ต่อเนื่องจนครบ 12 สัปดาห์ และต้องแจ้งให้แพทย์ทราบด้วยว่าผู้ป่วยกำลังทานยาประเภทใดอยู่เพื่อให้แพทย์ประเมินผลข้างเคียงเมื่อใช้ร่วมกัน เพราะอาจส่งผลต่อการหายของไวรัสตับอักเสบซี

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับไวรัสตับอักเสบซี

ถาม
ตอบ

ข้อห้ามของการรักษาโรคตับอักเสบเรื้อรังจากไวรัสซีมีอะไรบ้าง?

อายุต่ำกว่า 2 ปี, มีประวัติแพ้ยาฉีดและยารับประทานที่ใช้ในการรักษา, มีภาวะซึมเศร้ารุนแรง, ตั้งครรภ์, ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ ไม่ว่าจะเป็นไต หัวใจ หรือปอด, เป็นโรคภูมิต้านทานทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง (autoimmune diseases) และมีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือด ถุงลมโป่งพอง โรคไทรอยด์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม แพทย์จะให้ข้อเสนอแนะและแนวทางการรักษาเป็นรายบุคคล

ถาม
ตอบ

แนวทางป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบซีเป็นอย่างไร?

ปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนสำหรับป้องกันไวรัสตับอักเสบซี แนวทางป้องกันที่ดีคือ ตรวจสุขภาพร่างกายประจำทุกปี โดยเฉพาะตับควรตรวจปีละครั้ง และตรวจคัดกรองมะเร็งตับเป็นระยะ,ห้ามใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน, ควรสวมถุงมือเมื่อต้องสัมผัสเลือด, ห้ามใช้มีดโกนหนวด อุปกรณ์การสัก แปรงสีฟันร่วมกัน และใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม เชื้อไวรัสตับอักเสบซีไม่ติดต่อผ่านการทานอาหารร่วมกัน การใช้ภาชนะด้วยกัน การให้นมบุตร การกอดจูบ ไอจามรดกัน ทั้งนี้ ความเสี่ยงในการแพร่เชื้อไวรัสจากหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อไปสู่ทารกในครรภ์อยู่ที่ประมาณ 5%

แพทย์ผู้เขียนบทความ

หัตถการของศูนย์อายุรกรรม