chat
ไซนัส

“รับมืออย่างไร…เมื่อคุณเป็นไซนัสอักเสบ”

ใครกำลังมีอาการไอจาม มีน้ำมูกเขียวข้น มีเสมหะ ไปจนถึงอาการปวดบริเวณรอบๆ จมูกหรือหัวคิ้ว อยู่ล่ะก็ อย่าได้นิ่งนอนใจคิดว่าเป็นเพียงอาการไข้หวัดธรรมดาเท่านั้น เพราะอาการเหล่านี้อาจกำลังจะบอกคุณว่า คุณกำลังเข้าข่ายอาการป่วยของโรคไซนัสอักเสบอยู่ก็ได้

ไซนัส คืออะไร…ไซนัสที่เรากำลังพูดถึงอยู่นี้ หมายถึง โพรงอากาศที่อยู่รอบ ๆ โพรงจมูกเราทั้งซ้ายและขวา ไซนัสมีทั้งหมด 4 คู่ แบ่งออกเป็น บริเวณโหนกแก้มท้ายจมูก บริเวณหัวคิ้วระหว่างลูกตา บริเวณหน้าผาก และบริเวณส่วนกลางกะโหลกศีรษะ โดยปกติโพรงอากาศไซนัสจะมีรูเปิด ซึ่งมีขนาดเล็ก แต่ละโพรงอากาศจะมีรูระบายอากาศตามธรรมชาติโพรงละ 1 รู ซึ่งจะระบายเข้าสู่โพรงจมูก และเมื่อเยื่อบุโพรงไซนัสมีการอักเสบ เกิดการเน่าเสียเป็นหนองในโพรงไซนัส เราจึงเรียกว่า “ไซนัสอักเสบ” นั่นเอง

สำหรับอาการของคนไข้ที่เป็นไซนัสอักเสบนั้น ส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการคล้ายๆ โรคภูมิแพ้ หรือแพ้อากาศ หรือไข้หวัดธรรมดา แต่หากสังเกตอาการดีๆ จะพบว่ามีอาการบางอย่างที่ต่างกัน โดยทั่วไปคนไข้จะมีอาการดังนี้ น้ำมูกข้นเขียวหรือเหลือง, คัดจมูก, เสมหะไหลลงคอ กระตุ้นให้เกิดการไอบ่อย, หายใจมีกลิ่นเหม็น, ปวดศีรษะ หรือปวดขมับ หรือปวดบริเวณรอบๆ จมูกหรือหัวคิ้ว และหน้าผาก, รู้สึกร้อนๆ หนาวๆ คล้ายจะมีไข้  ในบางรายที่เป็นหนักมากอาจมีไข้สูง ตาบวมอักเสบ เป็นต้น

สาเหตุการเกิดโรคไซนัสนั้นก็มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน  ไม่ว่าจะเป็น เกิดขึ้นหลังจากที่มีอาการไข้หวัด ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบมากที่สุด, การดำน้ำ หรือกระโดดน้ำ, การเป็นโรคภูมิแพ้อยู่ก่อนแล้ว, การมีเนื้องอกในจมูกหรือเป็นริดสีดวงในจมูก, หรือแม้แต่การมีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปภายในรูจมูก เช่น เมล็ดแตงโม ลูกปัด เป็นต้น ทั้งหมดนี้คือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคไซนัสอักเสบขึ้นได้ และเมื่อเกิดขึ้นแล้วคนไข้ควรปฏิบัติตัวอย่างไรเราไปหาคำตอบกัน

ในปัจจุบันสามารถตรวจหาโรคไซนัสอักเสบหรือความผิดปกติภายในโพรงไซนัสได้ด้วยการใช้กล้องขยายส่องเข้าไปตรวจดูพยาธิสภาพภายใน รวมไปถึงการเก็บตัวอย่างหนองหรือชิ้นเนื้อมาตรวจได้โดยอาจตรวจเพิ่มเติมด้วย CT Scan เครื่องคอมพิวเตอร์สแกน และเครื่องสนามแม่เหล็ก เอ็ม อาร์ ไอ (MRI) ช่วยให้แพทย์สามารถตรวจรอยโรคได้อย่างชัดเจน

เมื่อไหร่ก็ตามที่พบว่าตัวเองมีอาการคล้ายกับที่กล่าวไปแล้วนั้นควรมาพบแพทย์ทันที ซึ่งการรักษาส่วนใหญ่มักจะรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ ยาลดบวมของเยื่อจมูก โดยแพทย์จะให้ยาปฏิชีวนะอย่างน้อย 14 วัน ในบางรายที่เป็นไซนัสอักเสบเรื้อรัง อาจจะต้องให้ยาปฏิชีวนะนานถึง 6-8 สัปดาห์ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรคด้วย นอกจากนี้แพทย์อาจจะให้ยารักษาโรคภูมิแพ้ร่วมด้วยในคนไข้บางราย ไม่แนะนำให้คนไข้ซื้อยาแก้แพ้ลดน้ำมูกมารับประทานเอง เพราะผลข้างเคียงของยาแก้แพ้จะทำให้น้ำมูกแห้งซึ่งเป็นข้อเสียมากกว่าผลดี ทำให้เชื้อโรคเจริญได้ดีขึ้น ยกเว้นจะให้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโรคภูมิแพ้ร่วมด้วย ซึ่งโดยทั่วไปเมื่อรับประทานยาตามที่แพทย์สั่งแล้วส่วนใหญ่ก็จะมีอาการดีขึ้นตามลำดับ มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจต้องใช้วิธีการผ่าตัดในการรักษาโรคไซนัสอักเสบ ซึ่งในปัจจุบันการผ่าตัดไซนัสนิยมผ่าตัดทางจมูกโดยใช้กล้องส่อง เพราะเป็นวิธีที่ปลอดภัยและได้ผลค่อนข้างดี ไม่มีบาดแผลผ่าตัดที่ใบหน้าอีกด้วย

และแม้ว่าจะมีวิธีรักษาไซนัสอักเสบให้หายได้ แต่ในคนไข้บางรายที่มีอาการของโรคภูมิแพ้ หรือริดสีดวงที่จมูกร่วมด้วยอยู่แล้วนั้นก็ควรจะดูแลตัวเองให้ดี และหลีกเลี่ยงปัจจัยต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ไซนัสอักเสบกลับมาอีก โดยระมัดระวังไม่ให้ตนเองนั้นเป็นไข้หวัด หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ แต่หากมีอาการไข้หวัดควรรีบพบแพทย์เพื่อรักษาให้หายโดยไว และถ้าคนไข้รายใดที่มีประวัติเป็นหวัดโรคภูมิแพ้เรื้อรัง ควรหลีกเลี่ยงสารที่ทำให้เกิดอาการไม่ว่าจะเป็น ฝุ่น ไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ ขนสัตว์ เกสรดอกไม้ การสูบบุหรี่ ควันรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นวิธีที่จะช่วยให้คุณมีระบบทางเดินหายใจได้ดีขึ้นและห่างไกลจากโรคไซนัสอักเสบนั่นเอง

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู 2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู ( ฉีดยาให้หลับ) 6,000 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากจมูก 2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากช่องปาก 2,500 บาท
ส่องกล้องตรวจ จมูก 1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ คอ 1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ หู 1,300 บาท
การตรวจความผิดปกติของการนอนหลับ Sleep Lab test (แบบ full poly somnography) พัก 1 คืน 11,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วยวิธียกเพดานอ่อน พัก 1 คืน 59,000 บาท
รักษานอนกรนโดยใช้ความถี่วิทยุ 20,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วย PILLAR เทคนิค 37,500 บาท
ผ่าตัดทอลซิล พัก 1 คืน 55,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ดมยา) พัก 1 คืน 65,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ไม่ดมยา) พัก 1 คืน 55,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ แบบดมยา พัก 3 คืน 85,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ โดยใช้เครื่องพิเศษ ดมยา พัก 3 คืน 95,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์บางส่วน พัก 2 คืน 99,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 1 ข้าง พัก 2 คืน 85,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 2 ข้าง พัก 2 คืน 110,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 1 ข้าง ดมยา พัก 3 คืน 130,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 2 ข้าง ดมยา พัก 3 คืน 155,000 บาท
การรักษา
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู
2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู ( ฉีดยาให้หลับ)
6,000 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากจมูก
2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากช่องปาก
2,500 บาท
ส่องกล้องตรวจ จมูก
1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ คอ
1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ หู
1,300 บาท
การตรวจความผิดปกติของการนอนหลับ Sleep Lab test (แบบ full poly somnography)
พัก 1 คืน
11,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วยวิธียกเพดานอ่อน
พัก 1 คืน
59,000 บาท
รักษานอนกรนโดยใช้ความถี่วิทยุ
20,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วย PILLAR เทคนิค
37,500 บาท
ผ่าตัดทอลซิล
พัก 1 คืน
55,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ดมยา)
พัก 1 คืน
65,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ไม่ดมยา)
พัก 1 คืน
55,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ แบบดมยา
พัก 3 คืน
85,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ โดยใช้เครื่องพิเศษ ดมยา
พัก 3 คืน
95,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์บางส่วน
พัก 2 คืน
99,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 1 ข้าง
พัก 2 คืน
85,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 2 ข้าง
พัก 2 คืน
110,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 1 ข้าง ดมยา
พัก 3 คืน
130,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 2 ข้าง ดมยา
พัก 3 คืน
155,000 บาท

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม