chat

ไข้เลือดออก

หน้าฝนทีไร โรคไข้เลือดออกระบาดทุกที เรียกว่าเป็นโรคที่มากับหน้าฝนก็คงจะได้ แต่จริง ๆ แล้วไข้เลือดออกพบได้ทุกฤดู เพียงแต่อาจจะชุกชุมมากช่วงฤดูฝนตามสภาพดินฟ้าอากาศจึงอย่าประมาทกันนะคะ โดยเฉพาะบรรดาพ่อแม่ผู้ปกครองเพราะในแต่ละปีโรคนี้ได้คร่า ชีวิตของเด็ก ๆ ไปเป็นจำนวนไม่น้อย จนปัจจุบันจัดว่าโรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขที่สำคัญของบ้านเราอีกปัญหาหนึ่งทีเดียว

ระยะไข้

ระยะวิกฤต

ระยะฟื้น

กำจัดยุงลาย…วายร้ายตัวน้อย

ระยะไข้เลือดออก

โรคไข้เลือดออกเกิดขึ้นได้ตลอดทั้งปี แต่จะระบาดมากในช่วงหน้าฝน โรคนี้มักพบมากในเด็กอายุ 2-10 ปี แต่อาจพบในเด็กโต และผู้ใหญ่ได้ เช่นกัน สาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส 2 ชนิด คือ เด็งกี่ (Dengue) และชิกุนคุนย่า (Chigunkunya) โดยมียุงลายสายพันธุ์ Aedes aegypti เป็นพาหะ ซึ่งยุงชนิดนี้จะออกหากินในเวลากลางวัน และชอบเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำนิ่งในบริเวณบ้าน เช่น น้ำในตุ่ม, แจกัน, กระป๋อง, จานรองตู้กับข้าว, หลุมที่มี น้ำขัง ฯลฯ

ผู้ที่ถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด หากภูมิต้านทานในร่างกายไม่แข็งแรงพอก็จะทำให้เป็นไข้เลือดออกได้ โดย เชื้อที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะมีระยะฟักตัวประมาณ 5-8 วัน จึงจะเริ่มปรากฏอาการ ในทางการแพทย์แบ่งอาการของโรคนี้ออกเป็น 3 ระยะดังนี้

ระยะไข้

อาการมักจะเกิดขึ้นทันทีทันใดด้วยการ มีไข้สูง ตัวร้อนจัดตลอดเวลา แม้จะรับประทานยาลดไข้ก็ไม่ได้ผลหรือไข้ลดลงเพียงไม่นานก็กลับร้อนขึ้นใหม่ โดยไม่มีอาการเป็นหวัดหรือไอแบบไข้หวัด เบื่ออาหาร หน้าแดง ปวดศีรษะ ผู้ป่วยบางรายจะมีอาการคลื่นไส้ ปวดท้อง หรือจุกแน่นท้องบริเวณลิ้นปี่ หรือชายโครง มีจุดเลือดออกตา มลำตัว แขนขา อาจมีเลือดกำเดาออกหรือเลือดออกตามไรฟัน ระยะนี้มักจะกินเวลา 3-7 วันโดยประมาณ

ระยะไข้เลือดออก

ระยะวิกฤต

ระยะนี้ไข้จะลดลงอย่างรวดเร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการทรุดลง กระสับกระส่ายมือเท้าเย็น ชีพจรเบาเร็ว บางรายมีอาการปวดท้องมาก อาเจียนและถ่ายเป็นเลือด และอาจถึงขั้นช็อกหมดสติได้ หากผู้ป่วยได้รับการรักษาเยียวยาจนผ่านพ้นระยะนี้ไปได้ก็จะเข้าสู่ระยะฟื้นซึ่งเป็นระยะที่ปลอดภัย

ระยะวิกฤตไข้เลือดออก

ระยะฟื้น

ผู้ป่วยที่ผ่านพ้นระยะวิกฤตมาได้แล้ว เมื่อเข้าสู่ระยะนี้มักจะมีอาการดีขึ้น สบายขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถรับประทานอาหารได้ อาการต่าง ๆ ที่เคยมีจะหายไปและฟื้นคืนสู่สภาวะปกติ

ระยะฟื้นไข้เลือดออก

กำจัดยุงลาย…วายร้ายตัวน้อย

ระยะฟื้นไข้เลือดออก

ยุงลายเป็นพาหะของโรคไข้เลือดออกจะมีชุกชุมมากในฤดูฝนช่วงหลังฝนตก เพราะอุณหภูมิและความชื้นเหมาะแก่การแพร่พันธุ์ โดยทั่วไป ยุงลายจะออกหากินในเวลากลางวัน แต่ถ้าในช่วงเวลากลางวันนั้นยุงลายไม่ได้กินเลือดหรือกินเลือดไม่อิ่ม ยุงลายก็อาจออกหากินในเวลาพลบค่ำด้วยหากในห้องนั้นหรือบริเวณนั้นมีแสงสว่างเพียงพอ ฉะนั้นอย่าแปลกใจว่าพลบค่ำแล้วทำไมเจ้ายุงลายถึงไม่เลิกรังควานสักที

ยุงลายจะแพร่พันธุ์โดยวางไข่ตามภาชนะขังน้ำซึ่งมีน้ำนิ่งและใส น้ำนั้นอาจจะสะอาดหรือไม่ก็ได้ น้ำฝนมักเป็นน้ำที่ยุงลายชอบวางไข่มากที่สุด ดังนั้น แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงลายจึงมักอยู่ตามโอ่งน้ำดื่มและน้ำใช้ที่ไม่ปิดฝาทั้งภายในและภายนอกบ้าน หรือภาชนะอื่น ๆ เช่น บ่อซีเมนต์ในห้องน้ำ จานรองขาตู้กันมด จานรองกระถางต้นไม้ แจกัน อ่างล้างเท้า ยางรถยนต์ ไห ภาชนะใส่น้ำเลี้ยงสัตว์ เศษภาชนะ เช่น โอ่งแตก เศษกระป๋อง กะลา เป็นต้น

ทราบอย่างนี้แล้วก็ควรหาทางลดหรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ของ ยุงลาย เป็นต้นว่า ปิดฝาโอ่งน้ำให้มิดชิด แจกันหรือขวดเลี้ยงพลูด่างควรเปลี่ยนน้ำทุก 7 วัน หรือเปลี่ยนมาปลูกด้วยดินแทนการแช่ในน้ำ, จานรองขาตู้กับข้าวควรเติมน้ำเดือดลงไปทุก 7 วัน หรือใส่ชันหรือขี้เถ้าแทนการใส่ด้วยน้ำ, จานรองกระถางต้นไม้ให้เทน้ำที่ขังออกทุก 7 วัน หรือใส่ทรายธรรมดาให้ลึก ¾ ส่วนของจาน, ยางรถยนต์เก่า ๆ ควรเจาะรูหรือดัดแปลงใช้ประโยชน์และไม่ขังน้ำ, อ่างบัวควรใส่ปลาไว้กินลูกน้ำ, ระบายน้ำออกจากท่อระบายน้ำอย่าปล่อยให้ท่ออุดตัน หรือหลุมบ่อแอ่งน้ำควรกลบถมด้วยดินหรือทรายให้เรียบร้อย ฯลฯ

ระยะฟื้นไข้เลือดออก

คุณพ่อคุณแม่ควรหาทางป้องกันลูกหลานไม่ให้ถูกยุงกัด โดยให้เด็กนอนในมุ้งแม้ในเวลากลางวัน หรือจะนอนในห้องที่บุด้วยมุ้งลวดก็ได้ แต่ต้องแน่ใจว่าในห้องนั้นไม่มียุงลายเล็ดลอดเข้าไปอาศัยอยู่ ส่วนพวกยาทากันยุงกัดหรือสารไล่ยุงควรใช้ด้วยความระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจเป็นอันตรายต่อเด็กอ่อนและทารกได้ ถ้าไม่จำเป็นก็ควรหลีกเลี่ยงนะคะ

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
อัตราค่ารักษาพยาบาล แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1723
การรักษา
อัตราค่ารักษาพยาบาล แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 1723

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม