chat

โรคไอกรนในเด็ก

หลังจากกระทรวงสาธารณสุขได้รายงานสถานการณ์ระบาดของโรคไอกรนในเด็ก ในสถาบันการศึกษาบางแห่งในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดที่ได้ปิดสถานศึกษาเพื่อป้องกันอันตรายจากโรคดังกล่าว โดยเฉพาะเด็กเล็กในสถานศึกษาที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนป้องกัน ถือเป็นกลุ่มเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอันตราย จากสถิติพบว่าผู้ป่วยกว่าครึ่งเป็นเด็กเล็กอายุเฉลี่ย 1-3 เดือน ประเด็นที่น่าเป็นกังวล คือ แม้เด็กจะได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันแล้วแต่ภูมิคุ้มกันลดลงก็ยังสามารถติดเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis ได้ แต่จะมีอาการน้อยกว่าเด็กที่ไม่ได้ฉีดวัคซีนเลย จึงมีอาการในระบบทางเดินหายใจส่วนบน คือ ลำคอเป็นหลัก ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองและครูในสถาบันการศึกษาควรพาบุตรหลานและนักเรียนมาฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนในเด็กที่โรงพยาบาลยันฮี เพื่อป้องกัน รักษา และให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพโดยแพทย์เพื่อความปลอดภัย

ราคาฉีดวัคซีนโรคไอกรนในเด็กที่โรงพยาบาลยันฮี

โรคไอกรนในเด็กคืออะไร?

สาเหตุของโรคไอกรนในเด็ก?

อาการของโรคไอกรนในเด็ก

แนวทางการรักษาโรคไอกรนในเด็ก

แนวทางป้องกันโรคไอกรนในเด็ก

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับโรคไอกรนในเด็ก

โรคไอกรนในเด็กคืออะไร?

โรคไอกรนในเด็ก

‘โรคไอกรน’ เป็นโรคติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ ทำให้เกิดการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจและไอ มีลักษณะเฉพาะคือ ไอติดกัน 5-10 ครั้งหรือมากกว่านั้นจนเด็กหายใจไม่ทัน จึงหยุดไอ และมีอาการหายใจเข้าลึกๆ เป็นเสียงวู๊ป สลับกันไปกับการไอเป็นชุดๆ จึงมีชื่อเรียกว่า “โรคไอกรน” บางครั้งอาการอาจจะเรื้อรังนานเป็นเวลา 2-3 เดือน

สาเหตุของโรคไอกรนในเด็ก?

เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis มักพบเชื้อได้ในลำคอ สามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม การสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย ทำให้เชื้อแพร่สู่คนอื่นได้ง่าย โดยเฉพาะในสถานที่ที่มีการรวมตัวของคนจำนวนมาก เช่น สถานศึกษา สถานรับเลี้ยงเด็ก หรือพื้นที่สาธารณะทั่วไป ระยะฟักตัวอยู่ระหว่าง 6-20 วัน พบได้บ่อยในเด็ก ส่วนใหญ่ติดเชื้อมาจากผู้ใหญ่ในครอบครัวซึ่งมีการติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ โรคไอกรนเป็นได้กับทารกตั้งแต่เดือนแรก เนื่องจากภูมิคุ้มกันน้อย ในเด็กเล็กอาการจะรุนแรงมากและมีอัตราเสียชีวิตสูง โดยเฉพาะเด็กอายุต่ำกว่า 1 ปี และเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน อย่างไรก็ตาม โรคนี้เป็นได้ทุกอายุหากไม่มีภูมิคุ้มกัน แต่ในผู้ใหญ่อาจไม่มีอาการหรือไม่ไอกรน

อาการของโรคไอกรนในเด็ก
จำแนกได้ออกเป็น 3 ระยะ ประกอบด้วย

ระยะแรก เด็กจะเริ่มมีน้ำมูกและไอ เหมือนอาการเริ่มแรกของโรคหวัดธรรมดา อาจมีไข้ต่ำๆ ตาแดง น้ำตาไหล จะเป็นอยู่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ ส่วนใหญ่ยังวินิจฉัยโรคไอกรนไม่ได้ แต่มีข้อสังเกตว่าไอนานเกิน 10 วัน เป็นแบบไอแห้ง ๆ

ระยะต่อมา มีอาการไอเป็นชุดๆ เมื่อเข้าสู่สัปดาห์ที่ 3 ไม่มีเสมหะ จะเริ่มปรากฏอาการไอกรน คือ ไอถี่ๆ ติดกันเป็นชุด 5-10 ครั้งตามด้วยหายใจเข้าอย่างแรงจนเกิดเสียงดูดลมเข้าอย่างแรง ระหว่างที่ไอเด็กจะหน้าแดง น้ำมูก น้ำตาไหล ตาถลน ลิ้นจุกปาก เส้นเลือดที่คอโป่งพอง เกิดจากการขับเสมหะข้นเหนียวในระบบทางเดินหายใจ จะไอติดต่อกันไปเรื่อยๆ จนกว่าจะขับเสมหะออกมาได้ บางครั้งเด็กหายใจไม่ทันโดยเฉพาะเด็กเล็กๆ อายุน้อยกว่า 6 เดือน จึงพบอาการหน้าเขียวได้บ่อย บางครั้งหยุดหายใจร่วมด้วย ส่วนใหญ่เด็กเล็กมักอาเจียนตามหลังการไอเป็นชุดๆ อาการจะอยู่ระหว่าง 2-4 สัปดาห์ หรือนานกว่าก็ได้

ระยะสุดท้าย เรียกว่า ‘ระยะฟื้นตัว’ ใช้เวลาระหว่าง 2-3 สัปดาห์ มีอาการไอเป็นชุดๆ จะค่อยๆลดลงทั้งความรุนแรงและจำนวนครั้ง แต่จะยังมีอาการไอติดต่อกันหลายสัปดาห์อยู่ หากไม่มีโรคแทรกซ้อนจะใช้เวลาระหว่าง 6-10 สัปดาห์

แนวทางการรักษาโรคไอกรนในเด็ก

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย Bordetella pertussis มีอยู่ในลำคอของผู้ป่วยเด็กระยะแรก จะให้ยาปฏิชีวนะเป็นเวลา 2 สัปดาห์ ช่วยให้ความรุนแรงของโรคลดลง สามารถฆ่าเชื้อโรคให้หมดไป เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อ พ่อแม่ผู้ปกครองควรให้เด็กได้พักผ่อน ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน อยู่ในห้องที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยง ฝุ่นละออง ควันไฟควันบุหรี่ อากาศร้อนหรือเย็นจัดเกินไป

แนวทางการป้องกันโรคไอกรนในเด็ก

แยกผู้ป่วย

ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะควรแยกตัวออกมานับตั้งแต่เริ่มให้ยา หรือหลังจากที่เริ่มมีอาการไอเป็นชุด ผู้สัมผัสโรคทุกคนควรได้รับการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ถึงแม้จะได้รับวัคซีนป้องกันโรคครบ 4 ครั้งแล้วก็ตาม เพราะระดับภูมิคุ้มกันต่อโรคไอกรนอาจลดลงในเด็กที่อายุน้อยกว่า 6 ปี หรือเด็กที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ควรเริ่มให้วัคซีนหรือฉีดเพิ่มให้ครบ ส่วนเด็กที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว 4 ครั้ง สามารถฉีดกระตุ้นเพิ่มได้อีก 1 ครั้ง ยกเว้นเด็กที่เคยฉีดเพิ่มมาแล้วภายใน 3 ปี ส่วนเด็กที่อายุเกิน 6 ปีไม่ต้องฉีดกระตุ้นเพิ่ม กรณีผู้ที่เคยได้รับวัคซีนมาแล้ว 3 ครั้ง และครั้งที่ 3 เกิน 6 เดือนควรฉีดเข็มที่ 4 ทันทีที่สัมผัสโรค

ฉีดวัคซีน

ในเด็กอายุน้อยกว่า 6 ปี ควรได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรน ครบ 4 ครั้ง เพื่อช่วยป้องกันและควบคุมโรค โดยกำหนดให้เริ่มฉีดวัคซีนเมื่ออายุ 2 เดือน และให้อีก 2 ครั้ง ระยะห่างกัน 2 เดือนคือ ให้เมื่ออายุ 4 และ 6 เดือน ครั้งที่ 4 ให้เมื่ออายุ 18 เดือน ถือว่าครบชุดแรก ส่วนเข็มที่ 5 ถือเป็นการกระตุ้น ให้เมื่ออายุ 4 ปี กรณีเด็กอายุเกิน 7 ปี จะไม่ให้วัคซีนไอกรน เนื่องจาก พบผลข้างเคียงค่อนข้างสูง แต่ถ้าหากเด็กคนไหนไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคไอกรนช่วง 10-12 ปี อาจรับช่วงวัยรุ่นอายุ 15-16 ปี และหลังจากนั้นควรได้รับวัคซีนกระตุ้นทุก 10 ปี

โรคไอกรนในเด็ก

ราคาการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไอกรนในเด็กที่โรงพยาบาลยันฮี

วัคซีนป้องกันโรคไอกรนในเด็ก ซึ่งเป็นวัคซีนรวม ครอบคลุมทั้งโรคคอตีบ, บาดทะยัก, โปลิโอ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (HIB) เข็มที่ 1-4

5,900 บาท

วัคซีนป้องกันโรคไอกรนในเด็ก ซึ่งเป็นวัคซีนรวม ครอบคลุมทั้งโรคคอตีบ, บาดทะยัก, โปลิโอ และเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (HIB) เข็มที่ 5

1,370 บาท

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับโรคไอกรนในเด็ก

ถาม
ตอบ

โรคแทรกซ้อนที่สามารถเกิดขึ้นได้จากโรคไอกรนในเด็ก?

โรคแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจ ที่พบบ่อย คือ ปอดอักเสบซึ่งเป็นสาเหตุของการตายที่สำคัญของโรคไอกรนในเด็กเล็กโรคในปอดที่อาจพบได้อีกจะเกิดจากการมีเสมหะเหนียวไปอุดในหลอดลมและถุงลม ทำให้เกิด “ปอดแฟบ” (atelectasis) นอกจากนี้ การไอมากๆทำให้มีเลือดออกในเยื่อบุตา (Subconjunctival hemorrhage) มีจุดแดง (peteciae) ที่หน้าและในสมอง และบางกรณีระบบประสาทอาจมีอาการชัก พบบ่อยในเด็กเล็ก เนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงสมองในขณะที่ไอถี่ๆและอาการชักอาจเกิดจากมีเลือดออกในสมอง

ถาม
ตอบ

โรคไอกรนอันตรายอย่างไร?

ในเด็กเล็ก อาจทำให้หายใจลำบาก หยุดหายใจ ชัก หรือเสียชีวิตได้ ทั้งยังแพร่กระจายได้ง่าย ติดต่อผ่านละอองฝอยจากการไอหรือจาม ในคนไข้เด็กบางรายค่อนข้างรักษายาก เพราะอาการไออาจยาวนานหลายเดือน

ถาม
ตอบ

ผู้ใหญ่สามารถเป็นโรคไอกรนได้ไหม?

เป็นได้ หากเกิดในผู้ใหญ่ไม่มีความรุนแรง ไม่มีอาการเหนื่อยหอบ ไม่มีไข้ มีเพียงอาการไอเท่านั้น

ถาม
ตอบ

หญิงตั้งครรภ์ควรได้รับวัคซีนโรคไอกรนด้วยไหม?

โดยปกติหญิงตั้งครรภ์จะได้รับวัคซีนป้องกันบาดทะยักอยู่แล้ว แนะนำให้รับเป็นวัคซีนรวมที่มีไอกรนรวมอยู่ด้วย โดยควรได้รับเมื่ออายุครรภ์ 27-36 สัปดาห์ นอกจากนี้ วิธีป้องกันอีกหนึ่งวิธีคือการให้วัคซีนกับผู้ใหญ่ที่อยู่ในบ้านที่มีเด็กเล็ก เพื่อป้องกันการเกิดโรคในผู้ใหญ่ที่จะแพร่เชื้อไปยังเด็กได้

แพทย์ผู้เขียนบทความ

หัตถการของศูนย์กุมารเวช

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม