chat

โรคไบโพลาร์ อารมณ์แปรปรวนสองขั้ว

‘โรคไบโพลาร์’ หรือ ‘โรคอารมณ์สองขั้ว’ เป็นภาวะทางสุขภาพจิตและอารมณ์ที่แปรปรวนระหว่างซึมเศร้า (depression) สลับกับช่วงอารมณ์ดีหรือหงุดหงิดมากกว่าปกติ (manic) ระยะเวลาในแต่ละระยะอาจเป็นสัปดาห์หรือเดือน และอาจมีบางช่วงที่อารมณ์ปกติได้ เช่น ช่วงซึมเศร้า (depression episode) ติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ สลับกับช่วงอารมณ์ครึกครื้น (manic episode) อย่างน้อย 4 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ในโรคอารมณ์สองขั้วชนิดที่ 1 และ 2 ตามลำดับ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้างในทุกมิติ โรคไบโพลาร์เป็นโรคที่คนรอบข้างต้องทำความเข้าใจกับผู้ป่วย หากสังเกตอาการของคนรอบข้างว่ามีแนวโน้มที่เสี่ยงเป็นโรคดังกล่าว ควรเข้ารับการปรึกษาและรักษาอย่างเหมาะสมจากจิตแพทย์

ราคาปรึกษาแพทย์และรักษาโรคไบโพลาร์ที่โรงพยาบาลยันฮี

โรคไบโพลาร์คืออะไร? อารมณ์แปรปรวนคือโรคอะไร?

โรคไบโพลาร์เกิดจากสาเหตุอะไร?

โรคไบโพลาร์มีอาการอย่างไร? ไบโพลาร์มีกี่ประเภท?

การวินิจฉัยโรคไบโพลาร์

การรักษาโรคไบโพลาร์

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “โรคไบโพลาร์”

โรคไบโพลาร์ คืออะไร? อารมณ์แปรปรวน คือโรคอะไร?

ไบโพลาร์ (Bipolar disorder) เป็นโรคที่แสดงความผิดปกติทางอารมณ์ที่แตกต่างกันอย่างชัดเจนสองด้าน ทั้งขั้วอารมณ์ดี อารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง และขั้วอารมณ์ซึมเศร้า โดยอารมณ์จะขึ้นลงสุด เป็นระยะเวลานานต่อเนื่อง ส่งผลกระทบทั้งต่ออารมณ์ จิตใจ ร่างกาย ความคิด และพฤติกรรม ตลอดจนการดำเนินชีวิตประจำวันทั้งการเรียน การทำงาน และการเข้าสังคม

โรคไบโพลาร์

โรคไบโพลาร์ เกิดจากสาเหตุอะไร?

โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder) เกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็น

พันธุกรรมที่ผิดปกติ ไบโพล่าเป็นกรรมพันธุ์ไหม? คือคำถามที่หลายคนอยากรู้ คำตอบคือมีส่วนเกี่ยวข้องเนื่องจากพบว่าผู้ที่มีบุคคลในครอบครัวป่วยด้วยโรคนี้หรือโรคทางจิตเวชอื่นๆ จะมีโอกาสเป็นโรคไบโพลาร์มากกว่าคนทั่วไป

ปัจจัยทางด้านชีวภาพ การทำงานที่ผิดปกติในการหลั่งสารสื่อประสาทของสมองส่วนหน้า (Neurotransmitters) เช่น สารเซโรโทนิน (Serotonin) สารโดพามีน (Dopamine) สารเมลาโทนิน (Melatonin) หรือ สารนอร์อดรีนาลิน (Noradrenaline) ที่ไม่สมดุล ส่งผลทำให้เกิดความผิดปกติในการทำงานของเซลล์สมองในส่วนที่ควบคุมระดับอารมณ์ เช่น ความโกรธ ความเครียด ความสุข ความเคลิบเคลิ้ม หรือสมาธิในการทำสิ่งต่าง ๆ

ปัจจัยด้านพฤติกรรม, สังคม เช่น การอดนอน, ความเครียดอย่างรุนแรง, การเลี้ยงดูในวัยเด็ก

การใช้สารเสพติด/สารกระตุ้นอื่นๆ

โรคไบโพลาร์ มีอาการอย่างไร? อารมณ์สองขั้วมีอาการอย่างไร?

อาการที่พบมีได้ทั้ง 2 ขั้ว แต่บางคนอาจเกิดเฉพาะขั้ว manic หรืออาการคึก โดยไม่มีประวัติซึมเศร้าเลย ผู้ป่วยไบโพลาร์จะมีอารมณ์แปรปรวนสลับกันระหว่างอารมณ์ดีหรือก้าวร้าวผิดปกติ กับอารมณ์ซึมเศร้าผิดปกติโดยไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ทั้ง 2 แบบเช่นนี้ เรียกว่า Bipolar I Disorder) อีกส่วนหนึ่งจะมีอาการซึมเศร้าเป็นส่วนใหญ่ มีอาการคึกน้อย ๆ (Hypomanic) เรียกว่า Bipolar II Disorder

1. อาการคึก (mania and hypomanic) อาจมีอาการดังนี้

  • คึก มีความสุข แจ่มใสมากเกินไป
  • พลังเยอะ แอคทีฟมากเกินไป
  • เชื่อมั่นในตนเองมาก รู้สึกตนเองเก่ง ยิ่งใหญ่ สำคัญ ทั้งที่จริง ๆ ไม่ได้เป็นเช่นนั้น
  • ความต้องการนอนลดน้อยลง
  • พูดมากกว่าปกติ
  • ความคิดในสมองแล่นเร็ว
  • ถูกรบกวนจากสิ่งเร้าภายนอกง่าย สมาธิการจดจ่อลดลง
  • อยากทำสิ่งต่างๆมากขึ้น ทั้งที่มีเป้าหมายและไม่มีเป้าหมาย
  • การตัดสินใจทำสิ่งต่างๆไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้น

2. อารมณ์เศร้า (depressive episode) ผู้ป่วยมักเบื่อหน่าย ท้อแท้ ไม่อยากทำอะไร อ่อนเพลีย มองโลกในแง่ลบ เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ใน 1 เดือน ขาดความสนใจในกิจกรรมที่เคยชอบ สมาธิลดลง ลังเลใจ ตัดสินใจอะไรไม่ได้ รู้สึกไร้ค่า รู้สึกผิดทั้งที่อาจไม่เป็นเช่นนั้น บางรายอาจคิดทำร้ายตัวเอง ฆ่าตัวตาย

โรคไบโพลาร์

3. อารมณ์คลุ้มคลั่ง (Manic Episode) ผู้ป่วยมักรู้สึกว่าตนมีความสำคัญหรือมีความสามารถมาก นอนน้อยกว่าปกติโดยไม่มีอ่อนเพลียหรืออยากนอนเพิ่ม พูดเร็ว พูดมาก มีหลายความคิดเข้ามาในสมอง สมาธิลดลง ตอบสนองต่อสิ่งเร้าง่าย อารมณ์หงุดหงิดก้าวร้าวจนถึงขั้นทะเลาะหรือทำร้ายร่างกายผู้อื่น

โรคไบโพลาร์

การวินิจฉัยโรคไบโพลาร์

จิตแพทย์จะซักประวัติสุขภาพ ประวัติครอบครัว โรคประจำตัว ประวัติการใช้ยา ประวัติการใช้สารเสพติด พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลจากบุคคลในครอบครัว เพื่อนร่วมงาน เพื่อให้ทราบสภาวะอารมณ์และพฤติกรรมว่าเข้าข่ายเป็นโรคไบโพลาร์หรือไม่ แพทย์จะตรวจประเมินร่างกายเบี้องต้น ตรวจเลือดและปัสสาวะ อาการเจ็บป่วยทางกายที่อาจส่งผลต่ออารมณ์ จิตแพทย์ตรวจประเมินสภาพจิต ให้ทำแบบทดสอบทางจิตวิทยา จิตแพทย์อาจทดสอบในห้องปฏิบัติการเพื่อระบุปัญหาด้านร่างกายที่อาจเป็นสาเหตุของความผิดปกติทางอารมณ์ จิตแพทย์อาจขอให้บันทึกการขึ้น-ลงของอารมณ์ในแต่ละวัน บันทึกพฤติกรรมการนอน และพฤติกรรมอื่น ๆ ที่ช่วยวินิจฉัยโรค และช่วยวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสมต่อไป

การรักษาโรคไบโพลาร์

จิตแพทย์ใช้ยารักษาโรคไบโพลาร์เป็นหลัก เป็นยาทางจิตเวชเพื่อปรับสารสื่อประสาทและควบคุมอารมณ์ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายจากอาการผิดปกติและกลับไปใช้ชีวิตประจำวันได้เหมือนเดิมภายในเวลาประมาณ 2-8 สัปดาห์

จิตแพทย์จะใช้การรักษาด้วยยาควบคู่ไปกับการปรับพฤติกรรม โดยในช่วงแรกที่อาการมากจะเน้นการใช้ยาปรับการนอนให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ หากมีประวัติใช้สารเสพติดจำเป็นต้องงดสารเสพติดทุกประเภท เพราะอาจมีผลต่ออาการและการรักษา หาวิธีผ่อนคลายความเครียด วิตกกังวลอย่างเหมาะสม หรือหากพบมีสาเหตุทางสุขภาพกายอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ก็จะส่งปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านต่อไป

ราคาปรึกษาแพทย์และรักษาโรคไบโพลาร์ที่โรงพยาบาลยันฮี

ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของจิตแพทย์ตามอาการของคนไข้แต่ละบุคคล

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ โรคไบโพลาร์

ถาม
ตอบ

ภาวะแทรกซ้อนของโรคไบโพลาร์เป็นอย่างไร?

มีความเสี่ยงในการใช้สารเสพติด หรือดื่มแอลกอฮอล์ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคสมาธิสั้น โรคต่อมไทรอยด์ ปวดหัวเรื้อรัง วิตกกังวล ล้มเหลวในความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง การคิดสั้นและพยายามฆ่าตัวตาย

ถาม
ตอบ

โรคไบโพลาร์ รับมือยังไง?

เราสามารถสังเกตอารมณ์และพฤติกรรมของตัวเองและคนรอบข้างเพื่อประเมินความเสี่ยง หากสงสัยว่ามีอาการเข้าข่ายเป็นไบโพลาร์ควรรีบพบแพทย์เพื่อบำบัดรักษา หากอยู่ในอารมณ์ซึมเศร้าสลับอารมณ์ดีหรือหงุดหงิดผิดปกติบ่อยครั้ง ควรรีบปรึกษาแพทย์ หลีกเลี่ยงสารเสพติดและแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้ยาลดความอ้วนหรือสมุนไพร พักผ่อนให้เพียงพอ ทานยาให้ครบตามแพทย์สั่ง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ครั้งละ 30 นาที อย่างน้อย 3-4 ครั้งต่อสัปดาห์ เพื่อให้สมองหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน (Endorphin) หรือสารแห่งความสุข เพื่อช่วยให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย ลดความตึงเครียดในชีวิตประจำวัน และช่วยให้นอนหลับสนิท

ถาม
ตอบ

โรคไบโพลาร์รักษาหายได้หรือไม่?

ไบโพลาร์อาจสามารถรักษาให้หายขาดหรือสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันตามปกติ โดยระยะเวลาที่ต้องใช้ในการรักษาจะแตกต่างกันตามอาการและระยะเวลาที่เจ็บป่วย หากปล่อยให้เรื้อรังมีโอกาสรักษายากขึ้น ดังนั้น เมื่อสงสัยว่าผิดปกติควรรีบเข้ามาปรึกษาจิตแพทย์ก่อน เพื่อได้รับการดูแลทันท่วงที เพิ่มโอกาสในการหายขาด