chat

โรคแพนิค (Panic Disorder)

โรคแพนิค (Panic Disorder) หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรควิตกกังวลประเภทหนึ่ง เกิดจากระบบประสาทอัตโนมัติ (Automatic Nervous System) ทำงานผิดปกติ โดยระบบประสาทนี้ควบคุมการทำงานของร่างกายหลายส่วน มักมีความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก และเกิดขึ้นซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน อาการเบื้องต้น ได้แก่ มือสั่น, ใจสั่น, แน่นหน้าอก, ตัวชา, เหงื่อแตก, หายใจติดขัด, รู้สึกอึดอัด, คลื่นไส้, ควบคุมตัวเองไม่ได้ ฯลฯ อาการเหล่านี้สามารถพบได้ในหลายโรค เช่น โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะด โรคต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ โรคไมเกรน โรคลมชักบางประเภท รวมทั้งอาจเกิดจากสารบางอย่างกระตุ้น ที่พบบ่อย เช่น คาเฟอีน จึงควรตรวจประเมินหาสาเหตุทางกายก่อน

ราคาการตรวจวินิจฉัยโรคแพนิค

สาเหตุของการเกิดโรคแพนิค

เกณฑ์วินิจฉัย Panic Disorder

แนวทางการรักษาโรคแพนิค

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “โรคแพนิค”

สาเหตุของการเกิดโรคแพนิค

โรคแพนิคสามารถเกิดขึ้นได้จากหลากหลายสาเหตุ ประกอบด้วย

  • ปัจจัยด้านพันธุกรรมที่ผู้มีประวัติสมาชิกในครอบครัวเคยป่วยเป็นโรคแพนิคมาก่อนมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการได้มากกว่าผู้ที่ไม่มีประวัติในเครือญาติเลย
  • เกิดจากสมองส่วนควบคุมความกลัวที่เรียกว่า “อะมิกดาลา” (Amygdala) ทำงานผิดปกติ ความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ระบบประสาทอัตโนมัติมีความไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ
  • ปัจจัยด้านความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย ส่งผลให้สารเคมีในสมองเสียสมดุล การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติผิดปกติ
  • ปัจจัยด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิต อารมณ์ และจิตใจ ได้แก่ ทำงานกับหน้าจอคอมพิวเตอร์และหน้าจอโทรศัพท์มือถือเป็นเวลานาน, ทำงานภายใต้ภาวะความเครียดและความกดดัน, เกิดความเครียดและวิตกกังวลเกี่ยวกับการเรียน การทำงาน และการใช้ชีวิตประจำวัน, ปรับตัวไม่ทันกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชีวิต เช่น สูญเสียคนรัก เกิดอุบัติเหตุรุนแรง เปลี่ยนตำแหน่งงาน เปลี่ยนสถาบันการศึกษา ไปใช้ชีวิตในต่างประเทศ, ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ, นอนหลับพักผ่อนน้อย, ผลข้างเคียงจากการใช้สารเสพติดหรือสารกระตุ้น ฯลฯ

“Panic Attack” คือ ความรู้สึกกลัวหรือไม่สบายใจอย่างมาก มักไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน ลักษณะเริ่มเป็นอย่างรุนแรงและรวดเร็ว โดยถึงจุดสูงสุดภายใน 10 นาที แล้วความรุนแรงจะค่อยๆลดลงจนหายไปใน 60 นาที

Panic

“Panic Disorder” เป็นกลุ่มอาการ Panic Attack ที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งและต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 1 เดือน ได้แก่ มีความวิตกกังวลว่าจะเกิดอาการของโรคเกิดขึ้นซ้ำอีกอยู่ตลอดเวลา, เกิดความวิตกกังวลว่าจะเกิดภาวะแทรกซ้อนหรือผลกระทบร้ายแรงตามมา เช่น เป็นบ้า เป็นโรคประสาท เป็นโรคหัวใจ, พฤติกรรมการใช้ชีวิตเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยยะสำคัญ ได้แก่ ไม่กล้าอยู่คนเดียว, ไม่กล้าออกไปไหน, หมกมุ่นเรื่องสุขภาพ

เกณฑ์วินิจฉัย Panic Disorder คือ

มี Panic Attack

มีอาการบ่อยหรือผู้ป่วยกลัว, กังวลจะเกิดอาการซ้ำ

ไม่สามารถคาดเดาได้ล่วงหน้าว่าจะเกิดอาการตอนไหน เช่น มีอาการขณะหลับจนตื่นขึ้น

อาการดังกล่าวไม่ได้เกิดจากยาหรือสารต่างๆ ไม่ได้เกิดจากโรคหรือสาเหตุทางกายอื่นๆที่อาจทำให้มีอาการคลาย Panic ได้

แนวทางการรักษาโรคแพนิค

การรักษาโรคแพนิคใช้ทั้งวิธีรักษาทางกายด้วยการทานยาและบำบัดทางใจควบคู่กันไป

โรคแพนิครักษาได้ด้วยการรับประทานยาเพื่อปรับสมดุลสารเคมีในสมองที่ผิดปกติ โดยยาที่ใช้รักษาประกอบด้วยยาต้านซึมเศร้า ยาคลายวิตกกังวล ใช้เวลาในการรักษาประมาณ 8-12 เดือน อย่างไรก็ตาม การใช้ยาอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ วิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความรุนแรงของโรคด้วย

Panic

สามารถรักษาควบคู่กับการบำบัดรักษาทางจิตใจ การบำบัดพฤติกรรมทางปัญญา (CBT) ปรับแนวคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยและคนรอบข้างเพื่อช่วยลดความเครียด ความกดดัน ความวิตกกังวล ได้แก่ การฝึกวิธีหายใจใหม่, นอนหลับพักผ่อนให้มากขึ้น, หลีกเลี่ยงการใช้งานโทรศัพท์มือถือหรือทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์มากจนเกินไป, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ทำให้จิตใจผ่อนคลายมากขึ้น

Panic

นอกจากนี้ ที่โรงพยาบาลยันฮียังมีการติดตามอาการและประเมินผลการรักษาด้วยยาหรือจิตบำบัดในรูปแบบ Telemedicine ที่คนไข้ได้รับการให้คำปรึกษาผ่านระบบออนไลน์ อย่างไรก็ตาม ในการรักษาครั้งแรกแนะนำให้มารับการตรวจรักษาที่โรงพยาบาลก่อนในเบื้องต้น ส่วนการติดตามอาการผ่าน Telemedicine จะเป็นการวินิจฉัยและพิจารณาภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเป็นรายกรณี

ราคาการตรวจวินิจฉัย โรคแพนิค ที่โรงพยาบาลยันฮี

แพทย์จะเป็นผู้ประเมินตามอาการและวิธีการรักษาเฉพาะรายบุคคล

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “โรคแพนิค”

ถาม
ตอบ

ในระหว่างรักษาอาการโรคแพนิคสามารถดื่มสุรา หรือชากาแฟเพื่อช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้หรือไม่?

ไม่ควรบรรเทาอาการโรคแพนิคด้วยการดื่มสุราหรือทานยานอนหลับโดยไม่จำเป็นเพราะจะทำให้อาการของโรครุนแรงขึ้นเมื่อกลับมาเป็นอีกครั้ง และแนะนำให้ลดหรืองดการดื่มชา กาแฟ และเครื่องดื่มชูกำลังในระหว่างการรักษาร่วมด้วย เนื่องจากการได้รับคาเฟอีนอาจทำให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล กระสับกระส่าย และอาจทำให้ผู้ป่วยโรคแพนิคมีอาการกำเริบขึ้นได้

ถาม
ตอบ

ในระหว่างรักษาอาการโรคแพนิคควรงดรับประทานอาหารประเภทใด?

ควรงดอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง เนื่องจากของหวานจะไปเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด ร่างกายต้องปล่อยอินซูลินออกมา เพื่อปรับระดับน้ำตาลให้ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว จนกลายเป็นภาวะน้ำตาลต่ำทำให้รู้สึกอ่อนเพลียและกระตุ้นให้อารมณ์เปลี่ยนแปลงได้ในที่สุด รวมทั้งอาหารแปรรูปและครีมเทียม เช่น ไส้กรอก เค้ก และอาหารทอด อาจกระตุ้นให้เกิดอารมณ์ซึมเศร้าหรือวิตกกังวลได้เช่นกัน