chat

โรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร ฟังดูแล้วเหมือนจะเป็นโรคธรรมดาทั่วไปที่ไม่ร้ายแรง บางคนก็อาจจะใช้ชีวิตอยู่กับอาการปวดท้องจนเคยชิน หิวข้าวก็ปวดท้อง กินอิ่มแล้วก็ยังปวดท้องอีก ด้วยภาวะสังคมที่เร่งรีบและชีวิตประจำวันที่วุ่นวาย หลายคนจึงปล่อยปละละเลย ทำให้เกิดพฤติกรรมและปัจจัยที่ส่งเสริมทำให้เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคกระเพาะอาหาร แบ่งเป็น 3 กลุ่มใหญ่ คือ โรคกระเพาะอาหารชนิดที่ไม่มีแผล พบได้มากที่สุดประมาณ 70-80% รองลงมาคือโรคแผลในกระเพาะอาหาร พบประมาณ 10-20% และสุดท้ายคือโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร พบประมาณ 2% ของผู้ป่วยที่มาด้วยอาการปวดท้อง ซึ่งสงสัยว่าเป็นโรคกระเพาะอาหาร

ถึงแม้ว่าโรคแผลในกระเพาะอาหารจะพบได้น้อยกว่าโรคกระเพาะอาหารชนิดที่ไม่มีแผล แต่มีความสำคัญและอันตรายมาก เพราะอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ โดยเฉลี่ยประมาณ 10-15% เพราะเป็นโรคที่มีภาวะแทรกซ้อน เช่น เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งคนไข้จะมาพบแพทย์ด้วยอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ หรือมาด้วยอาการปวดท้องรุนแรง และช็อกจากกระเพาะอาหารทะลุได้

สาเหตุของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

โรคแผลในกระเพาะอาหาร (Peptic Ulcer) หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่าโรคกระเพาะอาหาร เกิดจากหลายสาเหตุ และมีกลไกของพยาธิกำเนิดที่ซับซ้อนมาก แต่สาเหตุที่สำคัญคือ กรดและน้ำย่อยที่หลั่งออกมาในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นตัวทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารที่สร้างแนวต้านทานกรดได้ไม่ดี ไม่ว่ากรดนั้นจะมีปริมาณมากหรือน้อยก็ตาม

นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ได้แก่ ยาแอสไพริน ยารักษาโรคกระดูกและข้ออักเสบ การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ความเครียด อาหารเผ็ด ซึ่งทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร เกิดการอักเสบเรื้อรัง แล้วนำไปสู่การเกิดแผลในกระเพาะอาหารและแผลที่ลำไส้เล็กส่วนต้น

โรคแผลในกระเพาะอาหาร หมายถึง แผลที่เกิดขึ้นในเยื่อบุทางเดินอาหารบริเวณที่สัมผัสกับน้ำย่อยของกระเพาะอาหารที่มีกรดเป็นองค์ประกอบสำคัญ จึงพบแผลได้ตั้งแต่ส่วนล่างของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร และลำไส้เล็กส่วนต้น ส่วนตำแหน่งที่พบแผลได้บ่อย คือ กระเพาะอาหารส่วนปลาย (เรียก Gastric Ulcer, GU) และลำไส้เล็กส่วนต้น ใกล้รอยต่อระหว่างกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น (เรียก Duodenal Ulcer, DU) โดยแผล DU พบได้บ่อยในทุกอายุตั้งแต่ 20-70 ปี ส่วนแผล GU จะพบมากในผู้สูงอายุคืออายุ 40-70 ปี

ปัจจุบัน พบว่าเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (Helicobactor Pylori) ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อยู่ในกระเพาะอาหาร มีบทบาทโดยตรงและถือเป็นสาเหตุสำคัญอันหนึ่งที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หากในขณะทำการรักษาแผลในกระเพาะอาหารอยู่ เชื้อนี้จะเป็นสาเหตุที่ทำให้แผลหายช้า หรือทำให้แผลที่หายแล้วกลับมาเป็นซ้ำได้อีก กลายเป็นแผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง ที่สำคัญ ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหารอีกด้วย

อาการสำคัญของโรคแผลในกระเพาะอาหาร

  • ปวดหรือจุกแน่นท้องบริเวณใต้ลิ้นปี่ หรือหน้าท้องช่วงบน เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด มักเป็นเวลาท้องว่างหรือเวลาหิว อาการจะไม่เป็นตลอดทั้งวัน
  • อาการปวดแน่นท้อง มักจะบรรเทาได้ด้วยอาหารหรือยาลดกรด ผู้ป่วยบางคนมีอาการปวดจะเป็นมากขึ้นหลังมื้ออาหาร โดยเฉพาะหลังกินอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เป็นต้น
  • อาการปวดมักเป็นๆ หายๆ มานานเป็นปี โดยมีช่วงเว้นที่ปลอดอาการค่อนข้างนาน เช่น ปวดอยู่ 1-2 สัปดาห์ และหายไปหลายๆ เดือน จึงกลับมาปวดอีก
  • ปวดแน่นท้องกลางดึกหลังจากหลับไปแล้ว
  • บางรายจะไม่มีอาการปวดท้อง แต่จะมีอาการแน่นท้องหรือรู้สึกไม่สบายในท้อง มักจะเป็นบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือกลางท้องรอบสะดือ มักมีท้องอืดร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังกินอาหาร ท้องจะอืดขึ้นชัดเจน มีลมมากในท้อง ท้องร้องโครกคราก ต้องเรอหรือผายลมจะดีขึ้น อาจมีคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย โดยเฉพาะหลังอาหารแต่ละมื้อหรือช่วงเช้ามืด ผู้ป่วยอาจมีอาการอิ่มง่ายกว่าปกติ ทำให้กินได้น้อยลงและน้ำหนักลดลงบ้างเล็กน้อย
  • แม้จะมีอาการเรื้อรังเป็นปี สุขภาพโดยทั่วไปจะไม่ทรุดโทรม ไม่มีน้ำหนักลด ไม่ซีดลง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคแผลในกระเพาะอาหาร พบได้ประมาณร้อยละ 25-30 ได้แก่

    1. เลือดออกจากแผลในกระเพาะอาหาร พบได้บ่อยที่สุด ผู้ป่วยจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำเหลว หรือเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม

    2. กระเพาะอาหารทะลุ ผู้ป่วยมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลันรุนแรง หน้าท้องแข็งตึง กดเจ็บมาก

    3. กระเพาะอาหารอุดตัน ผู้ป่วยจะกินได้น้อย อิ่มเร็ว มีอาเจียนหลังอาหารเกือบทุกมื้อ เบื่ออาหาร น้ำหนักลด

การรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ให้กินยาลดกรดหรือยารักษาแผลในกระเพาะอาหารติดต่อกันอย่างน้อย 6-8 สัปดาห์ รวมทั้งให้ยากำจัดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไร (ในกรณีที่มีการติดเชื้อเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร ร่วมด้วย) หลังได้รับยา อาการปวดจะหายไปก่อนใน 3-7 วัน แต่แผลจะยังไม่หาย ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจำเป็นต้องได้รับยารักษาติดต่อกัน เป็นเวลานาน 6-8 สัปดาห์ แผลจึงหาย

ข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว

นอกจากการรักษาโดยการกินยาแล้ว การปฏิบัติตัวเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องทำควบคู่ไปกับการกินยา ซึ่งจะทำให้โรคแผลในกระเพาะอาหารหายเร็วขึ้น และยังสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำได้ด้วย สำหรับข้อแนะนำในการปฏิบัติตัว มีดังนี้

  • กินอาหารอ่อน ย่อยง่าย
  • กินอาหารจำนวนน้อยๆ แต่กินให้บ่อยมื้อ ไม่ควรกินจนอิ่มมากในแต่ละมื้อ
  • หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง น้ำอัดลม
  • หลีกเลี่ยงอาหารไขมันสูง รวมทั้งของทอด ครีม กะทิ
  • งดสูบบุหรี่ และงดดื่มสุรา
  • งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาแก้โรคกระดูกและข้ออักเสบทุกชนิด
  • ผ่อนคลายความเครียดและวิตกกังวล พักผ่อนให้เพียงพอ
  • ถ้ามีอาการของภาวะแทรกซ้อน ปวดท้องรุนแรง หรือเบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก ควรรีบไปพบแพทย์

การรับประทานอาหารในผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร

ผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร ควรหลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดจัด เปรี้ยวจัด ของหมักดอง อาหารแข็งย่อยยาก อาหารทอด อาหารที่มีไขมันมาก เพราะไขมันเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารอาหารชนิดอื่น รวมถึงหลีกเลี่ยงการกินผลไม้ที่ทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น บางคนกินฝรั่งหรือสับปะรดจะมีอาการปวดท้องมากขึ้น เป็นต้น ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย เมื่อมีอาการดีขึ้นแล้ว จึงค่อยๆ กลับมารับประทานอาหารที่ใกล้เคียงปกติ

โรคกระเพาะอาหารอาจเป็นโรคที่หลายท่านยังละเลย เพียงเพราะคิดว่าเป็นโรคที่ไม่ร้ายแรง แต่ความเป็นจริง หากทิ้งไว้นานวันเข้า โรคที่คิดว่าไม่ร้ายแรงอาจเป็นสาเหตุโรคร้ายแรงอย่าง โรคมะเร็งกระเพาะอาหารได้ ดังนั้นคุณจึงไม่ควรละเลย หากมีอาการที่ยังไม่รุนแรงก็สามารถรักษาโดยทานยาลดกรดร่วมกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และหากมีอาการที่ยังไม่ดีขึ้น มีอาการแทรกซ้อนต่างๆ ดังข้างต้นแล้ว ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อการรักษาที่ถูกต้อง ทันท่วงที และป้องกันไม่ให้กลับมาเป็นซ้ำได้อีก

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
ตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy) 1 คืน 50,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อวินิจฉัย Colonoscope 20,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อการรักษา Colonoscope แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อวินิจฉัย Gastroscope 12,000 บาท
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อการรักษา Gastroscope แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อวินิจฉัย 25,000 บาท
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อการรักษา แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทวารหนักส่วนปลาย Sigmoidoscopy 20,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 1 ปี) (Gastric Balloon) 1 คืน 180,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 6 เดือน) (Gastric Balloon) 2 คืน 120,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องส่วนบน (CT Upper Abdomen) 8,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen) 14,000 บาท
การวินิจฉัย การเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( COLONIC TRANSIT STUDY)) 3,400 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) 2,000 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) 3,000 บาท
เอกซ์เรย์ (X-ray) (Plain Film) 400 บาท/1ส่วน
ปากกาลดน้ำหนัก ด้ามละ 4,200บาท
การรักษา
ตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy)
1 คืน
50,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อวินิจฉัย Colonoscope
20,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อการรักษา Colonoscope
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อวินิจฉัย Gastroscope
12,000 บาท
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อการรักษา Gastroscope
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อวินิจฉัย
25,000 บาท
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อการรักษา
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทวารหนักส่วนปลาย Sigmoidoscopy
20,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 1 ปี) (Gastric Balloon)
1 คืน
180,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 6 เดือน) (Gastric Balloon)
2 คืน
120,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องส่วนบน (CT Upper Abdomen)
8,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen)
14,000 บาท
การวินิจฉัย การเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( COLONIC TRANSIT STUDY))
3,400 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
2,000 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)
3,000 บาท
เอกซ์เรย์ (X-ray) (Plain Film)
400 บาท/1ส่วน
ปากกาลดน้ำหนัก ด้ามละ
4,200บาท

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ