chat

โรคเฮอร์แปงไจนา

ในช่วงที่ฝนตกและน้ำท่วมภาคต่างๆ ชุกแบบนี้ มีโรคหนึ่งที่มาพร้อมกับสายฝนและอาจเป็นอันตรายต่อลูกน้อย นั่นคือ โรคเฮอร์แปงไจนา (Herpangina) หรือโรคตุ่มแผลในปากเด็ก เป็นโรคติดเชื้อจากไวรัสกลุ่มเอนเทอโรไวรัส (Enterovirus) และไวรัสค็อกซากีชนิดเอในระบบทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นไวรัสชนิดเดียวกันกับโรคมือ เท้า ปาก พบบ่อยในเด็กอายุ 2 ถึง 10 ปี เป็นโรคที่พบได้ทุกช่วงอายุ แต่จะพบมากในเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี โรคนี้จะติดต่อกันได้ในแหล่งที่มีเด็กๆ อยู่รวมกันจำนวนมาก เช่น โรงเรียน สถานรับเลี้ยงเด็ก เป็นต้น

ราคาการตรวจและรักษาโรคเฮอร์แปงไจนาที่โรงพยาบาลยันฮี

โรคเฮอร์แปงไจนาคืออะไร?

ลักษณะอาการของโรคเฮอร์แปงไจนา

ความแตกต่างระหว่างโรคมือเท้าปากกับโรคเฮอร์แปงไจนา

แนวทางการรักษาโรคเฮอร์แปงไจนา

แนวทางการป้องกันโรคเฮอร์แปงไจนา

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับโรคเฮอร์แปงไจนา

โรคเฮอร์แปงไจนาคืออะไร?

โรคเฮอร์แปงไจนา

โรคเฮอร์แปงไจนา เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มคอกซากีไวรัสกรุ๊ปเอ (Coxsackie viruses A sero type 1 – 10, 16 และ 22) และเอ็นเทอร์โรไวรัส (Enterovirus) โรคนี้แพร่เชื้อผ่านทางสารคัดหลั่งจำพวกน้ำมูก น้ำลาย เสมหะ อุจจาระ หรือการแพร่เชื้อที่ปนเปื้อนมาในน้ำ อาหาร การสัมผัสภาชนะ ของเล่น วัสดุต่างๆ ผ่านทางปาก ผู้ป่วยจะมีอาการหลังได้รับเชื้อประมาณ 3-14 วัน ซึ่งผู้ป่วยที่ติดเชื้อจะแพร่เชื้อได้ตั้งแต่วันแรกไปจนกว่าจะหายจากโรค คือ ประมาณ 1-2 สัปดาห์นับจากติดเชื้อ

ลักษณะอาการของโรคเฮอร์แปงไจนา

โรคเฮอร์แปงไจนา
โรคเฮอร์แปงไจนา

มีไข้แบบเฉียบพลัน แม้ได้รับยาลดไข้แล้วแต่อาการยังไม่ดีขึ้น บางรายมีไข้สูง 40 องศา เด็กบางคนอาจชักจากไข้สูง อาจพบมีภาวะร่างกายขาดน้ำ เช่น ริมฝีปากแห้ง ตาโหล ต่อมน้ำเหลืองในคอบวมโต ร้องไห้ไม่มีน้ำตา ปัสสาวะสีเข้ม ปัสสาวะน้อย ในเด็กเล็กมักเกิดแผลขนาดเล็กในลำคอ บริเวณเพดานอ่อน ลิ้นไก่ ต่อมทอนซิล และในโพรงคอหอยด้านหลัง อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร อาจมีการอาเจียนด้วย ซึม งอแง สำหรับเด็กโตมักพบอาการเจ็บคอ ปวดศีรษะ ปวดคอ แต่หากอาการของโรคเฮอร์แปงไจนาค่อนข้างซับซ้อน แพทย์อาจส่งตรวจเพิ่มเติมด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น เก็บตัวอย่างของเหลวจากโพรงจมูก ตรวจปัสสาวะ และอุจจาระ ตรวจเลือดหาภูมิคุ้มกันต่อเชื้อ เป็นต้น

ความแตกต่างระหว่างโรคมือเท้าปากกับโรคเฮอร์แปงไจนา

แม้ว่าโรคทั้งสองชนิดจะเกิดจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเดียวกัน แต่อาการแสดงออกแตกต่างกัน คือ

โรคมือเท้าปากจะมีไข้ เกิดผื่น ตุ่มน้ำใสหรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า บางรายอาจอาเจียน ถ่ายเหลวรุนแรง ร่างกายขาดน้ำ ปอดบวมน้ำ หอบเหนื่อย ซึม ชัก เกร็ง ช็อกเสียชีวิต

ส่วนโรคเฮอร์แปงไจน่าจะไม่พบผื่นบริเวณฝ่ามือและฝ่าเท้า เมื่อเริ่มมีผื่นขึ้น คออักเสบ จึงจะสามารถสังเกตอาการได้ บางรายอาจพบเพียงผื่นและแผลตื้น ๆ ในช่องปากเท่านั้น

แนวทางการรักษาโรคเฮอร์แปงไจนา

โรคเฮอร์แปงไจนา

ปัจจุบันยังไม่มียาต้านไวรัสที่จะรักษาโรคเฮอร์แปงไจนา สามารถหายเองได้ภายใน 7-10 วัน เน้นวิธีรักษาตามอาการ หากมีไข้ ให้พ่อแม่ผู้ปกครองเช็ดตัวลูกจนกว่าไข้จะลดลง ให้ทานยาลดไข้พาราเซตามอลหรือยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เพื่อลดความเจ็บปวดจากผื่นแผลในปาก แต่ห้ามใช้ยาแอสไพรินรักษาในเด็กและไม่ต้องให้ยาต้านไวรัส หรือยาต้านจุลชีพ (ยาปฏิชีวนะ) ยกเว้นในรายการที่สงสัยว่ามีอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ให้เด็กทานอาหารอ่อนและดื่มน้ำอุ่น ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคเครื่องดื่มร้อน และผลไม้ตระกูลส้ม เพราะอาจทำให้เจ็บแผลในปากและคอมากขึ้น หากไข้ขึ้นสูงและเด็กเบื่ออาหาร ควรพาไปพบแพทย์เพื่อใช้ยาที่มีส่วนผสมของยาชา ช่วยลดอาการคออักเสบ

แนวทางการป้องกันโรคเฮอร์แปงไจนา

โรคเฮอร์แปงไจนา

หมั่นล้างมือให้สะอาด ใช้ช้อนกลางเวลารับประทานอาหาร ระมัดระวังการสัมผัสสารคัดหลั่งจำพวกน้ำลาย น้ำมูก ข้าวของเครื่องใช้ของเด็กที่เป็นโรค รวมทั้งของเล่นต่างๆ ด้วย ควรสวมหน้ากากอนามัยปิดปากและจมูกทุกครั้งเมื่อจามหรือไอ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ หากเด็กป่วยให้งดไปโรงเรียนจนกว่าจะหาย ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในพื้นที่ชุมชนแออัด พื้นที่สาธารณะที่มีคนอยู่จำนวนมากในช่วงที่มีการระบาด

ราคารักษาโรคเฮอร์แปงไจนาที่โรงพยาบาลยันฮี

ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับโรคเฮอร์แปงไจนา

ถาม
ตอบ

อาการแทรกซ้อนของโรคเฮอร์แปงไจนามีอะไรบ้าง?

โรคเฮอร์แปงไจน่าไม่รุนแรง แต่ต้องระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดได้ เช่น ก้านสมองอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ เป็นต้น หากป่วยด้วยเฮอร์แปงไจน่าในขณะตั้งครรภ์ อาจทำให้คลอดก่อนกำหนด เด็กที่เกิดมามีภาวะตัวเล็ก มีน้ำหนักแรกเกิดน้อย

แพทย์ผู้เขียนบทความ

หัตถการของศูนย์กุมารเวช

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม