chat

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

เจ็บหน้าอก ระวังเป็น “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ”

เคยไหม! ขณะออกกำลังกาย หรือทำอะไรรีบๆ ทำกิจกรรมหนักๆ จะมีอาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก เหนื่อยง่าย เจ็บร้าวไปที่แขน คอ ขากรรไกร หรือหลัง รวมทั้งมีอาการเหงื่อออกหรือใจสั่นร่วมด้วย แต่หลังจากนั่งหรือนอนพักแล้ว อาการก็จะทุเลาลงและหายปวด แต่เมื่อเริ่มทำใหม่ก็จะเจ็บหน้าอกเหมือนเดิม บางครั้งก็เจ็บเองโดยที่ไม่ได้ออกกำลังกายหรือทำกิจกรรมอะไรที่หนักๆ อาการเหล่านี้อาจเป็นอาการเตือน “โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ” ได้

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบคืออะไร

ปัจจัยเสี่ยง ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ

สัญญาณเตือน! อาจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ

หลอดเลือดหัวใจตีบ ตรวจเจอ รักษาได้

การดูแลหลังรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบคืออะไร

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

โรคหลอดเลือดตัวใจตีบ หรือ โรคหัวใจขาดเลือด เป็นภาวะที่ผนังหลอดเลือดแดงแข็งและหนาตัว (Atherosclerosis) เนื่องจากหลอดเลือดแดงเสื่อมสภาพตามปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ที่ไปกระตุ้นให้ผนังด้านในหลอดเลือดแข็งและหนาตัวนั้น มีไขมันเกาะอยู่ภายในผนังหลอดเลือด ซึ่งจะค่อยๆ พอกตัวขึ้นทีละน้อย ทำให้ช่องทางเดินของเลือดตีบแคบลง ส่งผลให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อยลง

ปัจจัยเสี่ยง ทำให้เกิดเส้นเลือดหัวใจตีบ

  • เพศและอายุ โดยเฉพาะเพศชายจะมีโอกาสเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มากกว่าเพศหญิง 3-5 เท่า เพศชายมักเกิดในอายุ 40 ปีขึ้นไป ส่วนเพศหญิงจะเกิดในวัยหมดประจำเดือน อายุ 50-55 ปีขึ้นไป
  • มีประวัติโรคหลอดเลือดหัวใจตีบของคนในครอบครัว มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบได้มากกว่าคนอื่น
  • ภาวะไขมันในเลือดสูง โอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตันจะเพิ่มขึ้นตามระดับคอเลสเตอรอลที่เพิ่มขึ้น
  • โรคความดันโลหิตสูง ภาวะความดันโลหิตสูงทำให้ผนังหลอดเลือด เสื่อมเร็ว
  • เบาหวาน หากควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี จะเป็นการกระตุ้นให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็ง เสื่อมเร็วขึ้น
  • โรคอ้วน โรคอ้วนมีความสัมพันธ์กับปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ คนอ้วนที่มี BMI หรือ ดัชนีมวลกาย มากกว่าหรือเท่ากับ 40 จะมีความเสี่ยงในการเสียชีวิตเพิ่มมากขึ้น
  • พฤติกรรมการใช้ชีวิต เช่น การสูบบุหรี่ ขาดการออกกำลังกาย การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม อาหารที่มีไขมันสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงความเครียดทำให้เกิดหลอดเลือดหัวใจตีบ

สัญญาณเตือน! อาจมีภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ


เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก


เหนื่อยง่าย


เจ็บร้าวที่แขน คอ ขากรรไกร หรือหลัง


เหงื่อออกหรือใจสั่น มักเกิดขณะออกกำลังกาย หรือทำอะไรรีบๆ ทำกิจกรรมหนักๆ

หากคุณสงสัยว่าตัวเองเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สามารถพบแพทย์เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยได้ ซึ่งแพทย์จะวินิจฉัยเบื้องต้นจากประวัติและอาการแสดง อาการปวดแน่น จุก บริเวณกลางหน้าอก แล้วปวดร้าวขึ้นไปที่คอ ไหล่ ขากรรไกร แล้วแพทย์อาจทำการตรวจวินิจฉัยเพิ่มเติมด้วยการตรวจเลือดเพื่อดูเอ็นไซม์กล้ามเนื้อหัวใจ, ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ, การวิ่งสายพาน CT Coronary Angiography ตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วย VO2MAX , CPET หรือพิจารณาการฉีดสีดูหลอดเลือดหัวใจ

หลอดเลือดหัวใจตีบ ตรวจเจอ รักษาได้

เมื่อตรวจวินิจฉัยพบว่าเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ การรักษาสามารถทำได้ 3 วิธีหลัก ได้แก่

1.การใช้ยา
  • แพทย์จะให้ยาขยายหลอดเลือดหัวใจชนิดกิน และ/หรือ ชนิดอมใต้ลิ้น เพื่อป้องกันและบรรเทาอาการเจ็บหน้าอก
  • ให้ยาต้านเกร็ดเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดกั้นหลอดเลือดหัวใจ เช่น แอสไพริน
  • ให้ยาควบคุมโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

2.การรักษาด้วยการทำบอลลูนเพื่อขยายหลอดเลือด

ใส่ลวดค้ำยันผนังหลอดเลือดหัวใจไว้ ใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรง เจ็บหน้าอกบ่อย ทานยาแล้วยังไม่ได้ผล โดยแพทย์จะทำการฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจ และทำการรักษาโดยการขยายหลอดเลือดด้วยวิธีบอลลูน จากนั้นจึงใส่หลอดลวดตาข่ายหรือสเต็นท์ (Stent) ไว้ในหลอดเลือดบริเวณที่ตีบตัน การรักษาด้วยวิธีนี้อาจไม่สามารถทำได้ทุกราย

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

3.การผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ

(เรียกว่า การผ่าตัดทำบายพาส) ใช้ในกรณีที่มีอาการรุนแรง หลอดเลือดหัวใจตีบหลายเส้น แพทย์จะทำการผ่าตัดนำหลอดเลือดดำส่วนอื่น เช่น หลอดเลือดดำที่ขา หรือหลอดเลือดแดง ที่ข้อมือไปเชื่อมต่อระหว่างหลอดเลือดหัวใจกับหลอดเลือดแดงใหญ่ เป็นการต่อเส้นเลือดใหม่คร่อมบริเวณเส้นเลือดที่ตีบ ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้ขึ้นกับการตัดสินใจของแพทย์และผู้ป่วยร่วมกัน

การดูแลหลังรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

correct

การรักษาด้วยการสวนหัวใจขยายหลอดเลือด นอนพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 1–3 วัน ส่วนการผ่าตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจนอนพักฟื้นอยู่ที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 7-10 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน

correct

เริ่มทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูสภาพหัวใจให้แข็งแรง หลัง 8 – 12 สัปดาห์

correct

สามารถกลับไปทำงานได้ แต่ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหนัก ใช้แรงมาก

correct

งดการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลา 4-5 สัปดาห์

correct

พบแพทย์ตามนัดเพื่อติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่องทุก 1 – 3 เดือน โดยในการนัดตรวจแต่ละครั้ง แพทย์จะตรวจร่างกายและปรับการใช้ยาให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของผู้ป่วย

นอกจากการดูแล การจัดยา และให้คำแนะนำการรักษาด้วยวิธีต่างๆ จากแพทย์แล้ว ในขณะเดียวกันผู้ป่วยต้องดูแลตัวเองร่วมด้วย โดยแพทย์จะแนะนำให้คนไข้ปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับโรค เช่น ไม่เครียด ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เน้นผัก ผลไม้ ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง อาหารที่มีรสจัด งดสูบบุหรี่และสิ่งของมึนเมา และมาพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ผู้ป่วยดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี และมีชีวิตที่ยืนยาวได้

การรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจตีบนั้น ทางที่ดีควรเริ่มด้วยการป้องกัน ควบคุมปัจจัยเสี่ยง หากมีความจำเป็นต้องรักษา ความรวดเร็วและความพร้อมของทีมแพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่ จะช่วยให้อันตรายจากโรคหัวใจลดลงได้อย่างมาก หากมีปัญหาหลอดเลือดหัวใจตีบในกรณีฉุกเฉิน ทางศูนย์หัวใจโรงพยาบาลยันฮีมีห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ(Cardiac Cath Lab) และทีมแพทย์ พยาบาลพร้อมให้การรักษาตลอด 24 ชั่วโมง

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
การฉีดสีสวนหัวใจ ทางข้อมือ (Radial) 40,000 บาท
การฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจและขยายหลอดเลือด ทางข้อมือ (ไม่รวม Stent) 135,000 บาท
การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง 2D 250,000 บาท
การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง 3D 350,000 บาท
อัตราค่ารักษาพยาบาล แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร 1723
การรักษา
การฉีดสีสวนหัวใจ ทางข้อมือ (Radial)
40,000 บาท
การฉีดสีตรวจหลอดเลือดหัวใจและขยายหลอดเลือด ทางข้อมือ (ไม่รวม Stent)
135,000 บาท
การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง 2D
250,000 บาท
การจี้ไฟฟ้าหัวใจด้วยเครื่อง 3D
350,000 บาท
อัตราค่ารักษาพยาบาล แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร 1723

หัตถการของศูนย์หัวใจ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม