chat

ลมพิษเป็นโรคใกล้ตัวที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศวัย อาการอาจดูไม่รุนแรง นอกจากคันบริเวณผิวหนัง แต่ความจริงแล้วลมพิษมีหลากหลายประเภทและแสดงอาการแตกต่างกัน ทั้งลมพิษแบบฉับพลันและแบบเรื้อรังที่ต้องใช้เวลารักษายาวนาน บางกรณีมีอาการแทรกซ้อนรุนแรงร่วมด้วย เช่น หายใจติดขัด อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความดันโลหิตผิดปกติ ฯลฯ ซึ่งไม่สามารถคาดเดาได้ว่าลมพิษจะเกิดขึ้นช่วงเวลาใด หากมีอาการกำเริบรุนแรง ควรพบแพทย์เพื่อรักษาอย่างเร่งด่วน

โรคลมพิษคืออะไร?

อาการของโรคลมพิษ

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ

อาหารที่คนเป็นลมพิษควรหลีกเลี่ยง

แนวทางการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรค

แนวทางการปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคลมพิษ

แนวทางการรักษาโรคลมพิษ

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับโรคลมพิษ

โรคลมพิษคืออะไร?

โรคลมพิษ

โรคลมพิษ (urticaria) คือ โรคที่ผิวหนังมีอาการเป็นผื่นแดงหรือปื้นนูนแดง มีหลายขนาดทั้งเล็กและใหญ่ มีอาการคัน ผื่นจะเกิดขึ้นเร็วและกระจายตามลำตัว แขนขา บางรายลามขึ้นบนลำคอและใบหน้า มักอยู่ไม่นานระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมง บางรายอาจมีริมฝีปากบวม ปวดท้อง แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก จำแนกได้ออกเป็นสองชนิด คือ ‘ชนิดเฉียบพลัน’ มีอาการต่อเนื่องไม่เกิน 6 สัปดาห์ สาเหตุมักเกิดจากการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือการติดเชื้อบางชนิด ส่วน ‘ชนิดเรื้อรัง’ จะมีอาการแบบเป็น ๆ หาย ๆ ต่อเนื่องกันนานเกิน ๖ สัปดาห์ ส่วนใหญ่มักไม่สามารถระบุสาเหตุของการเกิดลมพิษได้ อาจจะเกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย หรือเกิดจากปัจจัยทางกายภาพ เช่น ความเย็น-ความร้อน การกดทับ

อาการของโรคลมพิษ

ผื่นแดงคันขึ้นเป็นปื้น บวมนูน มีขนาดเล็กใหญ่ไม่เท่ากันมีขอบชัดเจน ไม่มีขุย กระจายตัวทั่วทั้งร่างกาย

ผื่นคันที่เกิดขึ้นแล้วหายไปได้เองภายใน 24 ชั่วโมง

อาการที่รุนแรง ได้แก่ หน้าบวม ปากบวม ตาบวม คล้ายอาการแองจีโออีดีมา (Angioedema), อาการในระบบทางเดินหายใจ เช่น ทางเดินหายใจตีบตัน หอบหืด แน่นจมูก หายใจไม่สะดวก, อาการทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น แน่นหน้าอก ความดันโลหิตต่ำ, อาการในระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ

แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล แป้งสาลี ถั่วลิสง อาหารแปรรูป อาหารผสมสารกันบูด อาหารหมักดองเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ฯลฯ

โรคลมพิษ

แพ้ยาบางชนิด เช่น กลุ่มยาแก้ปวด แอสไพริน อินซูลิน มอร์ฟิน ยาควบคุมความดันโลหิตสูง หรือ ยาปฏิชีวนะ

แพ้สารเคมีจากผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ วัสดุจากยางพารา สีสเปรย์ สารทึบรังสีที่ใช้ ในการเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ฯลฯ

แพ้ฝุ่น ละอองเกสร ขนสัตว์ พิษจากแมลงกัดต่อย พันธุ์ไม้ที่มีขนคัน ยางพืช

แพ้ส่วนผสมในเครื่องสำอางบางชนิด

โรคลมพิษ

การติดเชื้อ เช่น ไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา พยาธิ

แพ้แสงแดด ความร้อน ความเย็น หรือเหงื่อ แพ้น้ำประปา-น้ำบาดาล หรือรอยขีดข่วน/กดทับที่เกิดกับผิวหนัง

โรคลมพิษ

ภาวะแพ้ภูมิตัวเอง หรือระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง ผื่นอาจเกิดจากโปรตีนในเลือดของผู้ป่วยเอง ที่ไปกระตุ้นเซลล์อักเสบให้หลั่งสารที่ทำให้เกิดอาการของลมพิษขึ้น

ระบบต่อมไร้ท่อบกพร่อง เช่น โรคต่อมไทรอยด์, โรคลูปัส หลอดเลือดอักเสบ ทอนซิลอักเสบ

นอนพักผ่อนไม่เพียงพอจนภูมิคุ้มกันในร่างกายแปรปรวน

ผลข้างเคียงจากมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

อาหารที่คนเป็นลมพิษควรหลีกเลี่ยง

โรคลมพิษ

ผัก เช่น ผักปวยเล้ง, มะเขือเทศ, พืชตระกูลถั่ว

โรคลมพิษ

อาหารทะเลที่มีกระดองจำพวก กุ้งหอยปูที่อาจผ่านการแช่สารเคมีเพื่อรักษาความสด

โรคลมพิษ

อาหารแปรรูปผสมสารกันบูด อาหารกระป๋อง อาหารรมควัน

โรคลมพิษ

ชีสต์, โยเกิร์ต, อาหารหมักดอง, ชาสมุนไพร, ไข่

โรคลมพิษ

เครื่องปรุงรส เช่น พริกป่น น้ำส้มสายชู ถั่วบด อบเชย กานพลู

โรคลมพิษ

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

โรคลมพิษ

วัตถุเจือปนในอาหาร เช่น สารกันบูด

แนวทางการตรวจวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของโรค

ซักประวัติ เช่น สิ่งกระตุ้นทางกายภาพ ยา อาหาร แมลงกัดต่อย และการติดเชื้อ

ตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือทำการตรวจเฉพาะ เช่น การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนังโดยวิธีสะกิด (skin prick testing, SPT) หรือการเจาะเลือดหาสารกระตุ้นอาการภูมิแพ้ (specific IgE) โดยแพทย์จะ เป็นผู้พิจารณาส่งตรวจตามข้อบ่งชี้ที่พบจากการซักประวัติและการตรวจร่างกายเป็นสำคัญ

ตรวจภูมิแพ้ด้วยการเจาะเลือด (Allergy Blood Test) เป็นการเจาะเลือดตรวจวัดปริมาณภูมิต่อต้าน สารก่อภูมิแพ้ ที่ร่างกายจะผลิตออกมาเพื่อต่อสู้กับสารก่อภูมิแพ้ในร่างกาย

แนวทางการปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคลมพิษ

หลีกเลี่ยงหรือหยุดให้ปัจจัยภายนอกที่คาดว่ากระตุ้นให้เกิดการแพ้ในทันที

ไม่เกาบริเวณที่เป็น ผื่น ลมพิษ เพราะจะทำให้เป็นแผลติดเชื้อ

โรคลมพิษ

รับประทานยาต้านฮีสตามีนหรือยาแก้แพ้และทายาบริเวณผื่น

งดใช้สบู่ ครีมบำรุงผิว เครื่องสำอาง และน้ำหอมที่มีสารเคมีรุนแรง

เพิ่มความชุ่มชื้นให้กับผิวเพื่อลดอาการคันด้วยโลชั่นสูตรอ่อนโยน ปราศจากน้ำหอม และ แอลกอฮอล์

พักผ่อนให้เพียงพอเพื่อเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง

โรคลมพิษ

อยู่ในที่อากาศถ่ายเท ปลอดโปร่ง

แนวทางการรักษาโรคลมพิษ

กินยาแก้แพ้หรือยาต้านฮีสตามีนและทายาในกรณีที่อาการไม่รุนแรงมาก ช่วยลดอาการคันจากสารก่อภูมิแพ้

ยากดภูมิคุ้มกัน ในผู้ที่อาการไม่ดีขึ้นหรือลมพิษที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยาต้านฮีสตามิน แพทย์จะพิจารณาให้ยากลุ่มออกฤทธิ์กดภูมิคุ้มกันเพื่อช่วยให้ผื่นคันสงบลงเร็วขึ้น

ยาต้านการอักเสบ สำหรับผู้ที่อาการลมพิษชนิดรุนแรง หรือแองจิโออีดีมา แพทย์อาจพิจารณาให้ยา คอร์ติโคสเตียรอยด์ ชนิดรับประทานหรือฉีดเพื่อลดอาการบวม อักเสบ และคัน

ยากลุ่มชีวโมเลกุล ช่วยลดการทำงานของเซลล์ภูมิคุ้มกันที่ทำงานผิดปกติแต่จะไม่กดภูมิคุ้มกัน ร่างกาย โดยแพทย์จะใช้ยากลุ่มนี้เฉพาะผู้ที่มีอาการลมพิษเรื้อรังเท่านั้น

ทาครีมหรือโลชั่นที่มีส่วนผสมของสารที่ช่วยลดการอักเสบเพื่อลดอาการคัน

หากพบอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก หน้าบวม ตาบวม ปากบวม หรืออาการไม่ดีขึ้น ภายใน 24 ชั่วโมง ควรรีบพบแพทย์โดยเร็ว

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “โรคลมพิษ”

ถาม
ตอบ

ภาวะแทรกซ้อนของลมพิษได้แก่อาการอะไรบ้าง?

– ภาวะแองจิโออีดีมา (Angioedema) หรืออาการบวมของเนื้อเยื่อใต้ชั้นผิวหนังขั้นรุนแรงที่ทำให้มีอาการบวมที่ใบหน้า และอาจก่อให้เกิดการอุดกั้นทางเดินหายใจส่วนบน ซึ่งอาจเป็นอันตรายถึงชีวิต

– ภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน เป็นภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่ถูกกระตุ้นโดยการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้รุนแรง เช่น แพ้ยา แพ้อาหาร แพ้เหล็กในสัตว์มีพิษที่ทำให้หายใจติดขัด แน่นหน้าอก ชีพจรลดต่ำ หัวใจเต้นเร็วที่จำเป็นต้องรีบนำส่งแพทย์โดยเร็วที่สุด

ถาม
ตอบ

แนวทางการป้องกันโรคลมพิษ?

สังเกต หลีกเลี่ยง และออกห่างจากการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ เช่น อาหาร ยา เกสรดอกไม้ ความร้อน ความเครียด หรือวัสดุบางชนิดที่ทำให้เกิดอาการแพ้

บทความโดย พญ.อภัสสร์ฑริกา สี่ศิลปชัย

หัตถการของศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม