chat
โรคภูมิแพ้

ภูมิแพ้ …แค่สร้างความรำคาญหรือถึงขั้นเสียชีวิต 

ภูมิแพ้ นับว่าเป็นโรคที่หลายคนรู้จักและคุ้นเคยกันดี บางคนที่มีอาการเพียงเล็กน้อย โรคภูมิแพ้ ก็ดูเหมือนจะเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปเสียแล้ว อย่างบางคนตื่นนอนตอนเช้าก็มักจะมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล พอสายหน่อยอาการถึงจะดีขึ้น แต่โรคภูมิแพ้บางชนิดไม่ใช่แค่เรื่องที่สร้างความรำคาญให้เท่านั้น แต่อาจรุนแรงจนถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้

โรคภูมิแพ้ (Allergy) คือโรคที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายมีความผิดปกติต่อสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้น ทำให้มีอาการผิดปกติเกิดขึ้นบริเวณอวัยวะที่สัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ ซึ่งในคนปกติร่างกายจะไม่มีอาการแพ้ต่อสารก่อภูมิแพ้ หรือมีอาการน้อยมาก แต่สำหรับผู้ป่วยโรคภูมิแพ้จะมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น โดยอาการ ความรุนแรง และระยะเวลาที่แสดงอาการ จะแตกต่างกันออกไป ถึงแม้จะเป็นสารก่อภูมิแพ้ชนิดเดียวกันก็ตาม ขึ้นกับชนิดของสารก่อภูมิแพ้และการตอบสนองของอวัยวะนั้นๆ

สารก่อภูมิแพ้ (Allergens) หรือ สิ่งกระตุ้น ที่ทำให้เกิดโรคภูมิแพ้ อาจเข้าสู่ร่างกายทางระบบหายใจ การสัมผัสทางตา หู จมูก การสัมผัสทางผิวหนัง หรือการรับประทานอาหาร เช่น ฝุ่น ไรฝุ่น เชื้อราในอากาศ ละอองเกสรของพืช ซากแมลงสาบ ขนสัตว์ พิษจากแมลงกัดต่อย ถั่วบางชนิด ไข่ นมวัว อาหารทะเล เช่น กุ้ง ปู หอยทะเลต่างๆ ควันบุหรี่ ควันรถยนต์ ควันก๊าซจากโรงงาน  มลภาวะ ยาไอบูโพรเฟน ยาแอสไพริน และยาปฏิชีวนะบางชนิด สารเคมีในผงซักผอก และน้ำยาเปลี่ยนสีผม เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่ไม่ใช่สารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้น แต่มีผลกับคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ คือ ความเย็น ความร้อน ความชื้น ฝนตก ความกดอากาศต่ำ ซึ่งทำให้อาการของโรคภูมิแพ้กำเริบได้โดยที่ไม่ต้องสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ได้

โรคภูมิแพ้ นับเป็นโรคเรื้อรังที่พบได้มากที่สุดและพบได้ทั่วประเทศไทย ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้น 3-4 เท่า เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา โดยสาเหตุของโรคภูมิแพ้นั้นเกิดจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ถ้าพ่อหรือแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้ประมาณร้อยละ 30-50 ถ้าทั้งพ่อและแม่เป็นโรคภูมิแพ้ ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้มากขึ้นร้อยละ 50-70 แต่ถ้าพ่อแม่ไม่มีประวัติโรคภูมิแพ้เลย ลูกจะมีโอกาสเป็นโรคภูมิแพ้เพียงร้อยละ 10

สิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงจากสังคมชนบทกลายเป็นสังคมเมืองมากขึ้น เป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคภูมิแพ้ เพราะทำให้พฤติกรรมการใช้ชีวิตของมนุษย์เปลี่ยนไป จากที่เคยใช้ชีวิตใกล้ชิดธรรมชาติ ซึ่งทำให้ร่างกายมีภูมิต้านทานต่อโรคได้ดี แต่ปัจจุบันคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง ใช้เวลาอยู่บ้านหรือสำนักงานที่ติดเครื่องปรับอากาศมากขึ้น ไม่ออกกำลังกาย กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ส่งผลให้ร่างกายอ่อนแอ เกิดการติดเชื้อได้ง่าย ทั้งสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยมลภาวะและฝุ่นละออง ดังนั้น จึงพบว่ามีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้มากขึ้นทุกปีและไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง

ทั้งนี้ โรคภูมิแพ้ สามารถแบ่งออกได้ 5 กลุ่ม ตามอาการแสดงในระบบการทำงานต่างๆ ของร่างกาย ด้วยกัน ได้แก่ โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ไอเรื้อรัง โรคภูมิแพ้ทางตา โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินอาหาร และโรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ อาการโดยรวมของโรคภูมิแพ้มักจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว หลังจากร่างกายได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้น โดยอาการทั่วไปที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม เยื่อบุตาขาวแดง น้ำตาไหล คันตา ไอ หอบ มีผื่นคันสีแดง ส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง แต่บางครั้งอาจรุนแรงแบบเฉียบพลัน ซึ่งทำให้ผู้ป่วยช็อกและมีอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาในทันที

1.โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจ ได้แก่ โรคหลอดลมอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ โรคหืด (Asthma) และโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ หรือ โรค แพ้อากาศ (Allergic rhinitis) ผู้ป่วยโรคหืดจะมีอาการแน่นหน้าอก หายใจหอบ เหนื่อยง่าย หายใจมีเสียงดังหวีด และมักจะเป็นๆ หายๆ บางรายอาจเกิดอาการทุกคืน การบรรเทาอาการทำได้โดยการใช้ยาขยายหลอดลม แต่ก็เป็นเพียงการควบคุมอาการในระยะแรกเท่านั้น นอกจากนี้อาจพบเป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูกร่วมด้วย การวินิจฉัยและประเมินความรุนแรงของโรคหืดทำได้โดยการตรวจสมรรถภาพของปอด

สำหรับผู้ป่วยโรคแพ้อากาศมักจะมีอาการคันจมูก คัดจมูก น้ำมูกไหล จาม ไอเรื้อรัง หรือกระแอมตลอดเวลา บางรายมีอาการปวดหัวเรื้อรัง นอนกรน หรือถอนหายใจบ่อยๆ ปากแห้ง บางคนเยื่อบุจมูกบวมมาก ทำให้ท่อน้ำตาที่อยู่ติดกันเกิดอาการอักเสบ จึงทำให้เกิดอาการคันที่หัวตาอย่างมาก แต่ไม่มีอาการตาแดง นอกจากนี้ ผู้ที่ป่วยเป็น ไซนัสอักเสบ โดยส่วนใหญ่แล้วจะมีอาการคล้ายกับโรคแพ้อากาศอีกด้วย การวินิจฉัยโรคแพ้อากาศ ทำได้โดยการซักประวัติ โดยเฉพาะประวัติโรคภูมิแพ้ภายในครอบครัว สังเกตสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้น ลักษณะการทำงาน สภาพแวดล้อมภายในที่พักอาศัย และการตรวจร่างกายบางอย่าง เช่น การตรวจภายในโพรงจมูก เป็นต้น

2.โรคภูมิแพ้ทางตา (Eye allergy หรือ Allergic conjunctivitis) ได้แก่ เยื่อบุตาอักเสบจากภูมิแพ้ เมื่อผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ได้รับสารก่อภูมิแพ้หรือสารกระตุ้น เช่น ฝุ่น ละอองเกสรของพืช สะเก็ดเล็กของผิวหนังหรือขนสัตว์ จะเกิดการอักเสบบริเวณเยื่อตาขาวและใต้หนังตา ผู้ป่วยจะมีอาการคันตา แสบตา ตาแดง น้ำตาไหล และมีขี้ตา และมักพบอาการโพรงจมูกอักเสบร่วมด้วย

3.โรคภูมิแพ้ทางผิวหนัง (Allergic skin disease) ได้แก่ ลมพิษ ผื่น โรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ (Atopic dermatitis) ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ทางผิวหนังจะมีอาการคัน บวม มีผดผื่นตามตัว และมักเป็นๆ หายๆ โดยโรคลมพิษและผื่นจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป บางครั้งอาจบวมเป็นตุ่มนูนคล้ายตุ่มยุงกัด บางครั้งอาจเป็นปื้นหนา หรือตรงกลางสีจางหรือขาวซีด ไม่นูน แต่โดยรอบหนา นูน และมีสีแดง บางรายที่เป็นมากอาจมีอาการบวมบริเวณริมฝีปาก หนังตา อวัยวะเพศ และทางเดินหายใจร่วมด้วย ผื่นลมพิษจะเห่อเร็วมากและหายไปได้เองภายใน 4-6 ชั่วโมง โดยไม่ทิ้งรอยโรค และอาจย้ายไปขึ้นส่วนอื่นของร่างกายได้อีก

ส่วนโรคผิวหนังอักเสบจากภูมิแพ้ มักเกิดในเด็กอายุต่ำกว่า 7 ปี อาจเกิดจากการแพ้อาหาร ประเภทแป้งสาลี ไข่ นมวัว และอาหารทะเล โดยเด็กจะมีผื่นขึ้นตามใบหน้าและลำตัว ผิวแห้ง อักเสบ มีสีแดง และมีสะเก็ดหรือมีน้ำเหลือง มักเป็นๆ หายๆ และอาจพบเป็นโรคภูมิแพ้ระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย

4.โรคภูมิแพ้ระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ โรค แพ้อาหาร (Food allergy) สาเหตุเกิดจากการรับประทานอาหารบางประเภท เช่น ไข่ นมวัว อาหารทะเล ผักและผลไม้บางชนิด ผงชูรส สารกันบูด สารแต่งกลิ่นและสี เป็นต้น โรคภูมิแพ้หากเกิดขึ้นในระบบทางเดินอาหารจะทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ปวดท้อง ท้องอืด ปากบวม อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด แพ้อากาศ และอาการบริเวณผิวหนัง เช่น ผื่น ลมพิษ ร่วมด้วย

5.โรคภูมิแพ้ชนิดรุนแรงที่มีอาการหลายระบบ (Anaphylaxis) เป็นโรคภูมิแพ้ที่ทำให้เกิดอันตรายถึงชีวิต โดยอาจมีสาเหตุมาจากการแพ้อาหาร แพ้ยา หรือแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น ผึ้ง ต่อ มด อาการแพ้มีความรุนแรง รวดเร็ว และมีอาการในหลายระบบ ทั้งอาการคัน ลมพิษ หน้าบวม ปากบวม แน่นในลำคอ จาม น้ำมูกไหล หายใจขัด บางรายอาจมีอาการปวดท้อง อาเจียน ท้องเสีย ความดันโลหิตต่ำ ช็อก หมดสติ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจถึงแก่ชีวิตได้

การวินิจฉัย โรคภูมิแพ้ 

การวินิจฉัยว่าเป็นโรค ภูมิแพ้ หรือไม่ สามารถสังเกตอาการที่ปรากฏได้โดย หากมีอาการที่บ่งบอกว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้ที่ระบบต่างๆ เป็นเวลามากกว่า 1 เดือนขึ้นไป และอาการดังกล่าวมักเป็นๆ หายๆ คือมีอาการเมื่อมีสิ่งกระตุ้น เช่น การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด สภาพอากาศ ฝุ่น ควัน การรับประทานอาหารบางชนิด เป็นต้น และเมื่อหมดเหตุกระตุ้นหรือหรือหลังได้รับยาแล้ว อาการต่างๆ จะดีขึ้น ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้ หรือหากเคยมีประวัติเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ มาแล้วในสมัยเด็กหรือในปัจจุบัน หรือมีประวัติคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคภูมิแพ้ชนิดต่างๆ ควรสงสัยว่าอาจเป็นโรคภูมิแพ้เช่นกัน และควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้ได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้อง
นอกจากการซักประวัติและตรวจร่างกายแล้ว การส่งตรวจพิเศษ ซึ่งได้แก่ การทดสอบภูมิแพ้ทางผิวหนัง มี 2 วิธีคือ วิธีสะกิด (Skin prick test) และวิธีฉีดเข้าในผิวหนัง (Intradermal test) และการหาปริมาณสารเคมีในเลือด ที่เรียกว่า อิมมูโนโกลบูลินอี (IgE) และการทดสอบสมรรถภาพของปอด (เพื่อดูว่าเป็นโรคหืดหรือไม่) จะเป็นวิธีตรวจที่ช่วยยืนยันการวินิจฉัยโรคและให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้ได้

แนวทางการรักษา โรคภูมิแพ้ 

1. ค้นหาสารก่อภูมิแพ้ สารระคายเคืองต่างๆ หรือสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้ และหลีกเลี่ยง วิธีนี้เป็นขั้นตอนสำคัญที่จะช่วยลดความรุนแรงของโรคภูมิแพ้ และป้องกันไม่ให้เกิดโรคภูมิแพ้ได้

2. การรักษาด้วยยา ใช้ในกรณีที่ไม่สามารถค้นหาสิ่งกระตุ้นให้เกิดอาการแพ้หรือสารก่อภูมิแพ้ได้ และต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น การรักษาด้วยยามีจุดประสงค์คือเพื่อควบคุมอาการแพ้ โดยมีทั้งยากิน ยาทาผิวหนัง ยาพ่นจมูก ยาพ่นปอด ยาหยอดตา เช่น ยาต้านฮิสตามีน (Antihistamine) ยาสเตียรอยด์ชนิดพ่นจมูกหรือสูดทางปาก ยาลดอาการคั่งของน้ำมูก ยาขยายหลอดลม เป็นต้น

3. การรักษาด้วยวัคซีนภูมิแพ้ โดยการฉีดสารสกัดจากสารก่อภูมิแพ้ และค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นจนผู้ป่วยมีภูมิต้านทานต่อสารนั้น การรักษาด้วยวิธีนี้ให้ได้ผลดี ผู้ป่วยจะต้องได้รับการฉีดอย่างสม่ำเสมอเป็นเวลา 3-5 ปี

เนื่องจาก โรคภูมิแพ้ เป็นโรคทางพันธุกรรม จึงไม่หายขาด หากไม่ดูแลสุขภาพหรือมีสิ่งมากระตุ้นอาการแพ้อาจกลับมาใหม่ได้ ดังนั้น ควรดูแลสุขภาพแบบองค์รวมอย่างต่อเนื่อง โดยการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที กินอาหารที่มีประโยชน์ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับสารก่อภูมิแพ้หรือสิ่งกระตุ้น ทำความสะอาดเครื่องนอน เฟอร์นิเจอร์ อาคารบ้านเรือน และสำนักงานเป็นประจำ เพื่อช่วยสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรง ลดความรุนแรงของโรค และเป็นวิธีที่จะช่วยป้องกันให้คุณห่างไกลจากโรคภูมิแพ้ได้

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู 2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู ( ฉีดยาให้หลับ) 6,000 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากจมูก 2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากช่องปาก 2,500 บาท
ส่องกล้องตรวจ จมูก 1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ คอ 1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ หู 1,300 บาท
การตรวจความผิดปกติของการนอนหลับ Sleep Lab test (แบบ full poly somnography) พัก 1 คืน 11,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วยวิธียกเพดานอ่อน พัก 1 คืน 59,000 บาท
รักษานอนกรนโดยใช้ความถี่วิทยุ 20,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วย PILLAR เทคนิค 37,500 บาท
ผ่าตัดทอลซิล พัก 1 คืน 55,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ดมยา) พัก 1 คืน 65,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ไม่ดมยา) พัก 1 คืน 55,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ แบบดมยา พัก 3 คืน 85,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ โดยใช้เครื่องพิเศษ ดมยา พัก 3 คืน 95,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์บางส่วน พัก 2 คืน 99,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 1 ข้าง พัก 2 คืน 85,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 2 ข้าง พัก 2 คืน 110,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 1 ข้าง ดมยา พัก 3 คืน 130,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 2 ข้าง ดมยา พัก 3 คืน 155,000 บาท
การรักษา
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู
2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากหู ( ฉีดยาให้หลับ)
6,000 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากจมูก
2,500 บาท
เอาสิ่งแปลกปลอมออกจากช่องปาก
2,500 บาท
ส่องกล้องตรวจ จมูก
1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ คอ
1,300 บาท
ส่องกล้องตรวจ หู
1,300 บาท
การตรวจความผิดปกติของการนอนหลับ Sleep Lab test (แบบ full poly somnography)
พัก 1 คืน
11,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วยวิธียกเพดานอ่อน
พัก 1 คืน
59,000 บาท
รักษานอนกรนโดยใช้ความถี่วิทยุ
20,000 บาท
รักษานอนกรน ด้วย PILLAR เทคนิค
37,500 บาท
ผ่าตัดทอลซิล
พัก 1 คืน
55,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ดมยา)
พัก 1 คืน
65,000 บาท
ผ่าตัดแก้วหูทะลุ (ไม่ดมยา)
พัก 1 คืน
55,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ แบบดมยา
พัก 3 คืน
85,000 บาท
รักษาไซนัสอักเสบ โดยใช้เครื่องพิเศษ ดมยา
พัก 3 คืน
95,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์บางส่วน
พัก 2 คืน
99,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 1 ข้าง
พัก 2 คืน
85,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ 2 ข้าง
พัก 2 คืน
110,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 1 ข้าง ดมยา
พัก 3 คืน
130,000 บาท
ผ่าตัดต่อมไทรอยด์ ผ่านกล้อง 2 ข้าง ดมยา
พัก 3 คืน
155,000 บาท

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม