chat

โรคปริทันต์

โรคปริทันต์ เป็นสาเหตุที่ทำให้คนเราต้องสูญเสียฟันไปก่อนกำหนด แต่อาการมักไม่ค่อยปรากฏให้เห็นได้ง่ายและเร็วเหมือนกับโรคฟันผุ ดังนั้น คนส่วนใหญ่จึงรู้จักโรคฟันผุได้ดีกว่า แต่ถ้าพูดถึง “โรคเหงือก” หรือ “โรครำมะนาด” อาจจะฟังดูคุ้นหูและเป็นที่รู้จักมากกว่า ซึ่งก็หมายถึง โรคปริทันต์นั่นเอง

โรคปริทันต์ เกิดจากอะไรได้บ้าง

  • การทำความสะอาดฟันที่ไม่ดีพอ ทำให้คราบจุลินทรีย์เกาะติดบนผิวฟัน โดยเฉพาะบริเวณขอบเหงือกร่างกายพยายามจะกำจัดจุลินทรีย์โดยการปล่อยสารพิษออกมาทำให้เหงือกอักเสบ บวม แดง มีเลือดออก
  • หินปูน จะทำให้การอักเสบของเหงือกรุนแรงขึ้น มีการทำลายเนื้อเยื่อปริทันต์และกระดูกหุ้มรากฟันมากขึ้น ส่งผลให้ปากเริ่มส่งกลิ่นเหม็น เหงือกร่น ฟันโยก
  • ลักษณะฟันซ้อนเก ฟันเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ ทำให้ทำความสะอาดได้ยาก
  • ลักษณะการเคี้ยวอาหาร บางคนมักเคยชินกับการเคี้ยวอาหารโดยใช้ฟันเพียงข้างเดียว จึงทำให้ฟันอีกข้างไม่ได้รับการขัดสีจากการเคี้ยวอาหารนั้นๆ ทำให้แผ่นคราบจุลินทรีย์และหินน้ำลายสะสมมากขึ้น
  • การขาดสารอาหารบางอย่าง โดยเฉพาะวิตามินบี ซี และ ดี
  • การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนทางร่างกาย เช่น การเข้าสู่วัยหนุ่มสาว หญิงตั้งครรภ์
  • โรคทางระบบ เช่น เบาหวาน มะเร็งเม็ดเลือดขาว เอดส์
  • 4 วิธี รักษาโรคปริทันต์

    • ขูดหินปูน เป็นการรักษาในระยะแรกของการเกิดโรค เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะอยู่บนตัวฟันและบริเวณขอบเหงือกออก โดยทันตแพทย์จะทำการขูดหินปูนทั้งบนตัวฟันและส่วนที่อยู่บนผิวรากฟันภายในร่องปริทันต์
    • เกลารากฟัน ฟัน เป็นการทำผิวรากฟันให้สะอาดและเรียบ เพื่อกำจัดหินปูนและคราบจุลินทรีย์ที่เกาะลึกลงไปในผิวรากฟัน เมื่อผิวรากฟันเรียบแข็ง จึงเป็นการยากต่อการสะสมของหินปูนและคราบจุลินทรีย์ จึงช่วยให้เหงือกกลับมายึดตัวฟันได้ดีขึ้น
    • ผ่าตัดเหงือก ทันตแพทย์จะพิจารณาใช้วิธีการผ่าตัดเหงือกเมื่อใช้วิธีการขูดหินปูนและเกลารากฟันรักษาแล้วไม่ได้ผล และมีการละลายของกระดูกหุ้มรากฟันไปมาก จึงจำเป็นที่จะต้องรักษาโดยการผ่าตัดเหงือกร่วมด้วย เพื่อให้ร่องเหงือกตื้นขึ้น
    • ถอนฟัน แน่นอนว่าเป็นวิธีสุดท้ายที่ทันตแพทย์จะใช้เมื่อมีการลุกลามของเนื้อเยื่อ ปริทันต์ไปมาก จนไม่สามารถรักษาฟันซี่นั้นไว้ได้อีกต่อไป
    • หลังจากรักษาโรคปริทันต์แล้ว จำเป็นที่จะต้องคงสภาพเหงือกและฟันที่ดีไว้ หากคุณดูแลสุขภาพในช่องปากไม่ดีพอก็สามารถกลับมาเป็นโรคปริทันต์ใหม่ได้อีก ดังนั้น ในระหว่างการรักษาและหลังการรักษา คุณต้องดูแลทำความสะอาดสุขภาพในช่องปากให้ดีเป็นประจำและพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีสุขภาพฟันที่แข็งแรง และเพิ่มความมั่นใจให้เต็มร้อยกับรอยยิ้มอันสดใสบนใบหน้า

      ข้อมูลโดย ทพญ.รวีพร มาดารัศมี

      ค่ารักษา

      รักษาโรคปริทันต์ ตามความรุนแรงของโรค 1,500-2,500 บาท/ครั้ง

      รักษาโรคปริทันต์ ตามความรุนแรงของโรค

      1,500-2,500 บาท/ครั้ง

      ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมทั่วไป

      เพิ่มเติม

      เกร็ดความรู้

      เพิ่มเติม