chat

โรคที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหว

หลังเหตุการณ์แผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 จากความรุนแรงขนาด 8.2 ริกเตอร์ ที่ระดับความลึก 10 กิโลเมตร และเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลายครั้งโดยจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่ประเทศเมียนมา ได้ส่งแรงสั่นสะเทือนมายังหลายพื้นที่ในประเทศไทย รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ส่งผลให้เกิดผลข้างเคียงต่อสุขภาพตามมา ทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ ไม่ว่าจะเป็นอาการสมองเมาแผ่นดินไหว หรือ อาการเวียนหัวหลังแผ่นดินไหว, อาการสมองหลอนแผ่นดินไหว, แพนิก, นอนไม่หลับ เป็นต้น หากเกิดอาการผิดปกติต่อเนื่องหรือรุนแรงควรรีบมาพบแพทย์

สมองเมาแผ่นดินไหว (Post-earthquake Dizziness Syndrome)

ภาวะทางจิตใจที่อาจเกิดตามมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว?

หลักปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคหลังแผ่นดินไหว

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับโรคที่เกิดขึ้นหลังแผ่นดินไหว

สมองเมาแผ่นดินไหว (Post-earthquake Dizziness Syndrome)

หรือโรคสมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) คือ กลุ่มอาการวิงเวียนหลังแผ่นดินไหว ที่ทำให้รู้สึกเหมือนกำลังโคลงเคลงหรือเคลื่อนไหวอยู่

สมองเมาแผ่นดินไหว

มีสาเหตุเกิดจากการรบกวนในระบบการทรงตัว (vestibular system) ซึ่งเป็นส่วนของหูชั้นในที่ควบคุมความสมดุล การเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดจากแผ่นดินไหว สามารถทำให้ระบบนี้เสียสมดุล ส่งผลให้สมองพยายามปรับความรู้สึกให้กลับมาปกติอย่างยากลำบาก

อาการ คลื่นไส้ เวียนศีรษะ รู้สึกเหมือนยังเคลื่อนไหว อาการนี้อาจรุนแรงในคนที่ระดับน้ำในหูไม่เท่ากันหรือไวเมารถง่ายอยู่แล้ว อาการเหล่านี้จะค่อยๆ หายได้เองภายในไม่กี่ชั่วโมงเมื่อร่างกายสามารถปรับตัวได้ หรือบางคนอาจเป็นหลายสัปดาห์-เดือน

ภาวะทางจิตใจที่อาจเกิดตามมาหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหว

อาการ “สมองหลอนแผ่นดินไหว“ หรือ “แผ่นดินไหวทิพย์” (earthquake illusion)

เป็นผลกระทบกระเทือนทางจิตใจที่รู้สึกเหมือนมีแรงสั่นสะเทือนทั้งที่ไม่ได้เกิดขึ้นจริง เกิดจากความตื่นตัวสูงขึ้นหรือความทรงจำจากเหตุการณ์ อาการทางจิตสั่นไหว แผ่นดินไหวสามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดเฉียบพลัน เช่น ความวิตกกังวล ความกลัว แพนิก โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ (PTSD) อาการได้แก่ การย้อนนึกถึงเหตุการณ์ ความตื่นตัวเกินเหตุ หรือการนอนหลับยาก กลัวการอยู่ในตึก หรือกลัวการขึ้นรถไฟฟ้าไปเลย

สมองเมาแผ่นดินไหว

สาเหตุของอาการเหล่านี้ซับซ้อน สมองพยายามประมวลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่ขัดแย้งกัน ตาบอกว่าพื้นดินนิ่ง แต่ระบบการทรงตัวบอกว่าเคลื่อนไหว จนเกิดการพุ่งขึ้นของคอร์ติซอลและอะดรีนาลีนระหว่างและหลังเหตุการณ์ เพิ่มความไวต่อความรู้สึกในร่างกาย ทำให้อาการวิงเวียนหรือคลื่นไส้รู้สึกหนักขึ้น คนที่เป็นภาวะนี้มากได้แก่ มีโรควิตกกังวลหรือประวัติปวดไมเกรน

โรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือโรคเครียดหลังเหตุการณ์สะเทือนขวัญ

เป็นภาวะทางจิตใจที่เกิดขึ้นหลังประสบเหตุการณ์รุนแรงหรือคุกคามชีวิต เช่น แผ่นดินไหว อุบัติเหตุร้ายแรง ถูกทำร้ายร่างกาย ภัยพิบัติ สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก โดยเฉพาะในเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดและควบคุมไม่ได้ เช่น แผ่นดินไหว ฯลฯ อาการของโรค PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) ได้แก่

สมองเมาแผ่นดินไหว

หวนคิดถึงเหตุการณ์ (Flashbacks) เหมือนกลับไปอยู่ในเหตุการณ์เดิมอีกครั้ง เช่น ได้ยินเสียงหรือภาพเหตุการณ์ย้อนกลับมา

สมองเมาแผ่นดินไหว

ฝันร้ายเกี่ยวกับเหตุการณ์ ทำให้นอนหลับยากหรือสะดุ้งตื่นกลางดึก

สมองเมาแผ่นดินไหว

หลีกเลี่ยงสิ่งที่เตือนให้นึกถึงเหตุการณ์ เช่น ไม่อยากไปยังสถานที่ที่เกิดเหตุ ไม่อยากพูดถึง

สมองเมาแผ่นดินไหว

รู้สึกหวาดระแวงหรือสั่นผวา ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา สะดุ้งง่าย ใจสั่น เหงื่อออก

สมองเมาแผ่นดินไหว

อาการซึมเศร้า หรือวิตกกังวลร่วมด้วย เช่น เบื่ออาหาร นอนไม่หลับ

แพนิกหลังแผ่นดินไหว (Panic Disorder)

สมองเมาแผ่นดินไหว

อาการแพนิกหลังแผ่นดินไหว (Panic Disorder) คือ ภาวะผิดปกติของระบบประสาทอัตโนมัติ ผู้ป่วยจะรู้สึกกลัว ตื่นตระหนก วิตกกังวล (Acute stress disorder) นอนไม่หลับ สภาวะนี้จะมีผลต่อคนที่เป็นโรคประจำตัวเกี่ยวกับฮอร์โมน เนื่องจากเกี่ยวกับเรื่องอารมณ์ความรู้สึก

หลักปฏิบัติตัวเมื่อเป็นโรคหลังแผ่นดินไหว

สูดหายใจเข้าออกลึก ๆ ช้า ๆ ให้ผ่อนคลาย และระบบการทรงตัวจะค่อยๆ เริ่มกลับมาทำงานอย่างปกติ

พักสายตาจากหน้าจอโทรศัพท์มือถือหรือคอมพิวเตอร์ หยุดการเพ่งจ้องหน้าจอเป็นเวลานาน

มองไปที่จุดไกล ๆ หรือนอนราบลงจะช่วยทำให้อาการดีขึ้น

นอนหลับพักผ่อนให้เต็มที่ หากใครที่ปวดหัวหลังแผ่นดินไหวก็สามารถกินยาแก้ปวดรักษาตามอาการได้

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ“โรคหลังเกิดแผ่นดินไหว”

ถาม
ตอบ

สัญญาณอันตรายที่ควรรีบพบแพทย์ทันทีหลังมีอาการแผ่นดินไหว?

– เวียนศีรษะรุนแรง หรือรู้สึกเหมือนจะเป็นลม

-คลื่นไส้ อาเจียนซ้ำๆ หรือรับประทานอาหารไม่ได้

-เดินไม่ตรง ทรงตัวลำบาก หรือมีปัญหาในการเคลื่อนไหว

-ตาพร่ามัว เห็นภาพซ้อน หรือการมองเห็นผิดปกติ

-หูอื้อ หรือมีเสียงดังในหูตลอดเวลา

-กล้ามเนื้ออ่อนแรงที่แขนขา ชาที่ใบหน้า หรือริมฝีปาก

-พูดไม่ชัด สับสน หรือมีปัญหาในการสื่อสาร

-มีโรคประจำตัว เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ที่อาจทำให้อาการรุนแรงขึ้น

-อาการไม่ดีขึ้นภายใน 2-3 วัน หรือลุกลามจนรบกวนชีวิตประจำวัน

แพทย์ผู้เขียนบทความ