chat

หลายคนยังมีความเข้าใจผิดว่าผู้ที่ดื่มสุราติดต่อกันยาวนานมีโอกาสเป็นโรคตับแข็งเพียงกลุ่มเดียว แต่ความจริงแล้วยังมีสาเหตุอีกหลากหลายปัจจัยที่เชื่อมโยงไปสู่การป่วยเป็นโรคตับแข็งได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ร่างกายได้รับสารพิษหรือทานยาบางชนิดเป็นเวลานาน เป็นโรคไวรัสตับอักเสบ ภาวะหัวใจวายเรื้อรัง ความผิดปกติของภูมิต้านทานที่หันมาทำลายตับ ผู้ที่ทานไขมันเยอะจนเกิดไขมันสะสมบริเวณตับมากจนเกินไป หากมีอาการต้องสงสัยอย่างภาวะท้องมาน ท้องโตผิดปกติ ขาบวม ตัวเหลือง ตาเหลืองจากภาวะดีซ่าน อ่อนเพลีย น้ำหนักลงลงอย่างผิดปกติ ฯลฯ ควรรีบมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยต่อไป

โรคตับแข็งคืออะไร?

สาเหตุของโรคตับแข็ง

อาการโรคตับแข็ง

การตรวจวินิจฉัยโรคตับแข็ง

วิธีรักษาโรคตับแข็ง

แนวทางการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคตับแข็ง

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ ‘โรคตับแข็ง’

โรคตับแข็งคืออะไร?

โรคตับแข็ง

‘โรคตับแข็ง’ (Liver Cirrhosis) คือ ภาวะที่ตับเกิดการก่อตัวของเนื้อเยื่อพังผืดส่วนเกิน เป็นผลจากภาวะตับอักเสบเรื้องรังจากโรคพิษสุราเรื้อรัง ไวรัสตับอักเสบ หรือไขมันพอกตับ เมื่ออักเสบเรื้อรังเป็นเวลานาน ผิวของตับจะขรุขระ ตับจะซ่อมแซมตัวเองด้วยการสร้างเนื้อเยื่อพังผืดสะสมจนเกิดเป็นโรคตับแข็ง ทำให้ตับไม่สามารถทำงานได้ปกติ ไม่ว่าจะเป็นการผลิตโปรตีน การเก็บสะสมสารสำคัญและแร่ธาตุต่างๆ การทำลายสารพิษ ปิดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่ไหลผ่านตับ และเพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งตับอีกด้วย

สาเหตุของโรคตับแข็ง

เกิดได้จากหลากหลายสาเหตุ ประกอบด้วย

ดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน

โรคไวรัสตับอักเสบบี ซี และดี

ตับอักเสบจากภูมิต้านทานตนเอง หรือโรคท่อน้ำดีอักเสบจากภาวะภูมิต้านตนเองทั้งท่อน้ำดีขนาดใหญ่และขนาดเล็ก

เนื้อเยื่อสะสมธาตุเหล็กผิดปกติจนเกิดภาวะฮีโมโครมาโตซิส

เกิดจากการสะสมทองแดงในตับมากผิดปกติจนเกิดโรควิลสัน (Wilson’s Disease)

การสะสมไกลโคเจนในตับมากกว่าปกติ

ภาวะท่อน้ำดีอุดตัน ทำให้น้ำดีที่ไหลย้อนกลับไปที่ตับส่งผลทำลายเนื้อตับจนเป็นตับแข็งได้

ภาวะไขมันพอกตับ ทำให้ตับอักเสบเรื้อรังจนกลายเป็นตับแข็ง

การสัมผัสกับสารพิษหรือทานยาบางชนิดติดต่อกันเป็นเวลานาน

ความผิดปกติของระบบการหมุนเวียน ภาวะหัวใจล้มเหลวเรื้อรัง เยื่อหุ้มหัวใจอักเสบแบบหดรั้งเรื้อรัง ทำให้ตับขาดออกซิเจนเนื่องจากมีเลือดคั่งที่ตับเป็นเวลานาน ทำให้เซลล์ตับตายและกลายเป็นพังผืด เรียกว่าโรคตับแข็งแบบเลือดคั่ง หรือโรคตับแข็งจากหัวใจ

โรคซิสติกไฟโบรซิส เป็นความผิดปกติทางพันธุกรรมที่มีผลต่อเซลล์ที่ผลิตของสารคัดหลั่ง ได้แก่ น้ำมูก เหงื่อ และน้ำย่อย

การขาดสารต้านทริปซินอัลฟ่า-1

ต่อมน้ำลายที่บริเวณกรามทั้งสองข้างโตขึ้น (Parotid gland enlargement)

โรคกาแลคโตซีเมียหรือภาวะที่มีการสะสมไกลโคเจนในตับมากผิดปกติ

อาการโรคตับแข็ง

โรคตับแข็ง

อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ น้ำหนักลดลงผิดปกติ

โรคตับแข็ง

ในผู้หญิงมีประจำเดือนผิดปกติ ในผู้ชายเต้านมขยายใหญ่ขึ้น(Gynecomastia)/ลูกอัณฑะฝ่อ(Testicular atrophy) สมรรถภาพทางเพศลดลง

โรคตับแข็ง

ขา เท้า ข้อเท้า เนื่องจากโปรตีนอัลบูมินถูกผลิตน้อยลง ทำให้มีน้ำสะสมในขา

โรคตับแข็ง

มีน้ำสะสมในช่องท้อง ทำให้ท้องโตขึ้น (ภาวะท้องมาน)

เกิดเส้นเลือดฝอยลักษณะคล้ายใยแมงมุมที่บริเวณหน้าอก หรือแผ่นหลัง

ฝ่ามือแดงเข้มขึ้น จ้ำแดงที่บริเวณฝ่ามือทั้งสองข้าง (Palma erythema)

ฟกช้ำหรือเลือดออกง่าย เพราะการผลิตโปรตีนที่ทำให้เลือดแข็งตัวลดลง

การสะสมเม็ดสีของน้ำดีทำให้ตัวเหลือง ตาเหลือง เป็นดีซ่าน

คันผิวหนังเนื่องจากสารประกอบของน้ำดีฝังอยู่ในผิวหนัง

สะสมสารพิษในสมองจนลืมง่าย ไม่มีสมาธิ เนื่องจากตับไม่สามารถกรองสารพิษออกมาได้ จึงเริ่มสะสมในเลือด

ไวต่อยา เนื่องจากในผู้ป่วยโรคตับแข็ง ตับจะไม่สามารถกรองยาออกจากเลือดได้ในอัตราปกติ ตัวยาจึงออกฤทธิ์นานขึ้นและสะสมอยู่ในร่างกาย

มีเลือดออกในกระเพาะอาหารส่วนบนหรือหลอดอาหาร เนื่องมาจากการไหลเวียนของเลือดผิดปกติ

เส้นเลือดที่บริเวณรอบสะดือขยาย (Caput medusae) และอาจได้ยินเสียงฟู่ในบริเวณดังกล่าว (Cruveilhier-Baumgarten murmur)

ภาวะหลอดเลือดขอดในหลอดอาหาร (Esophageal varices) เกิดจากพังผืดในตับ ดึงรั้งทำให้เกิดความดันเลือดในตับและในหลอดอาหารสูงขึ้น จนเกิดเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร หากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารแตกจะทำให้ผู้ป่วยอาเจียนเป็นเลือด

การตรวจวินิจฉัยโรคตับแข็ง

ตรวจตับด้วยรังสี (radioisotope scan)

เจาะผ่านผิวหนัง (biopsy) เพื่อนำตัวอย่างเนื้อตับไปตรวจ

ตรวจเลือด เพื่อตรวจหาร่องรอยของความผิดปกติของตับ เช่น บิลิรูบินในปริมาณสูง ตรวจเอ็นไซม์ตับชนิดต่าง ๆ ตรวจคัดกรองไวรัสตับอักเสบ ตรวจการแข็งตัวของเลือด ปริมาณโปรตีนไข่ขาวในเลือด เพื่อดูความสามารถในการสังเคราะห์โปรตีนของตับ

โรคตับแข็ง

ตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT scan) และตรวจอัลตราซาวนด์ สามารถให้ข้อมูลรูปร่าง และความยืดหยุ่นของตับ เพื่อดูลักษณะของตับแข็งได้

โรคตับแข็ง

การตรวจวัดปริมาณพังผืดในตับ (Fibroscan) เป็นเครื่องมือสำหรับการตรวจวัดระดับความแข็งของตับเพื่อหาปริมาณการสะสมของพังผืดในตับ และวัดปริมาณไขมันสะสมในตับได้อีกด้วย

วิธีรักษาโรคตับแข็ง

กำจัดไวรัสตับอักเสบบี ซี และสร้างภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ

หากพบเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร แพทย์อาจพิจารณาให้ยา เพื่อลดความดันในหลอดเลือดหรือรัดเส้นเลือดดำขอด ในบริเวณหลอดอาหาร เพื่อป้องกันเส้นเลือดแตก

ตรวจคัดกรองมะเร็งตับ เนื่องจากผู้ป่วยตับแข็งจากทุกสาเหตุมีโอกาสเป็นมะเร็งตับสูงกว่าคนทั่วไป จึงควรได้รับการอัลตราซาวนด์ทุก ๆ 6 เดือน

แนวทางการดูแลตัวเองของผู้ป่วยโรคตับแข็ง

งดดื่มแอลกอฮอลล์

โรคตับแข็ง

หลีกเลี่ยงการใช้ยาชนิดหนึ่งชนิดใดติดต่อกันเป็นเวลานาน

โรคตับแข็ง

หลีกเลี่ยงการทานเนื้อสัตว์ดิบที่มีการสะสมของเชื้อแบคทีเรีย

ทานโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม

หากมีอาการท้องบวมหรือข้อเท้าบวมควรงดทานอาหารรสเค็มจัด

ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบเอและบี ไข้หวัดใหญ่ และโรคปอดบวม เนื่องจากผู้ป่วยโรคตับแข็งมีความเสี่ยงติดเชื้อรุนแรงกว่า

ภาวะแทรกซ้อนของโรคตับแข็ง

โรคตับแข็งจะเพิ่มความดันในหลอดเลือดดำพอร์ทัลที่ไหลไปยังตับ ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ ขาบวม ท้องมาน ม้ามโต รวมไปถึงมีภาวะตกเลือดจากเส้นเลือดโป่งพองในหลอดอาหาร

ผู้ป่วยโรคตับแข็งมีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่สามารถต้านทานการติดเชื้อได้ดี ส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อรุนแรงมากขึ้น

ภาวะซึม สับสนจากการทำงานบกพร่องของตับ

ผิวหนังและตาขาวจะมีสีเหลือง และปัสสาวะมีสีเข้มขึ้นเพราะตับไม่สามารถกำจัด สารเหลืองหรือบิลิรูบินออกจากเลือดได้

ผู้ที่เป็นโรคตับแข็งอาจมีความหนาแน่นของกระดูกลดลงและเสี่ยงกระดูกหักสูงขึ้น

ความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งตับสูงขึ้น

ภาวะเลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหารและกระเพาะอาหารแตก (Variceal hemorrhae)

ภาวะติดเชื้อของน้ำในช่องท้อง (Spontaneous Bacterial Peritonitis)

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ ‘โรคตับแข็ง’

ถาม
ตอบ

การป้องกันโรคตับแข็ง?

– หลีกเลี่ยงการใช้เข็มร่วมกันและการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่มีการป้องกัน เนื่องจากจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคไวรัสตับอักเสบ บีและซีได้

-รักษาดัชนีมวลกายให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

-งดเครื่องดื่มแอลกอฮอลล์และทานอาหารให้ครบห้าหมู่

ถาม
ตอบ

การปลูกถ่ายตับในผู้ป่วยตับแข็ง?

การปลูกถ่ายตับเป็นทางเลือกในการรักษาสำหรับโรคตับแข็งที่มีความรุนแรง โดยปลูกถ่ายตับใหม่แทนที่ตับ อย่างไรก็ตาม โรคตับแข็งจากแอลกอฮอล์อาจไม่สามารถปลูกถ่ายตับได้ หากแพทย์ประเมินว่ามีความเสี่ยงที่จะกลับไปดื่มแอลกอฮอล์อีกหลังการปลูกถ่าย

ถาม
ตอบ

อาหารสำหรับผู้ป่วยตับแข็ง?

โปรตีน แนะนำให้เป็นโปรตีนจากปลา ไก่ หรือเนื้อหมูที่ไม่ติดมัน แลโปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เป็นต้น-ไขมัน อาหารควรปรุงด้วยไขมันไม่อิ่มตัวจากพืช ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันดอกทานตะวัน เป็นต้น ทั้งนี้ ในรายที่ตับแข็งเป็นมาก มีท้องมานน้ำ ขาบวม กดบุ๋ม ต้องรับประทานไข่ขาวสุกให้เพียงพอเพื่อเพิ่มโปรตีนในเลือดและลดน้ำในท้อง ขาจะยุบบวมเร็วขึ้น อย่างไรก็ตามพึงหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง อาหารปรุงไม่สุก อาหารรสจัด งดอาหารเสริม ยาสมุนไพร เป็นต้น

แพทย์ผู้เขียนบทความ

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ