chat

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

อาการวิงเวียนศีรษะบางครั้งไม่ได้เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศร้อนอบอ้าว ความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลในร่างกาย แต่เชื่อมโยงกับตะกอนแคลเซียมสะสมอยู่ในบริเวณอวัยวะการทรงตัวในหูชั้นใน เรียกว่า ‘โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน’ (BPPV) เมื่อมีการเคลื่อนไหวศีรษะจะกระตุ้นให้เกิดการเคลื่อนที่ของตะกอนแคลเซียม ทำให้วิงเวียนศีรษะบ้านหมุน สามารถเกิดกับหูทั้งสองข้างได้ประมาณร้อยละ 15 และอาจพบร่วมกับโรคไมเกรนได้ หากเกิดอาการดังกล่าวฉับพลันควรมาพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยและรักษาต่อไป

โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (BPPV) คืออะไร?

สาเหตุของโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

อาการของโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนเกิดได้กับใครบ้าง?

การตรวจวินิจฉัยโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

แนวทางรักษาโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

แนวทางป้องกันเกิดโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนซ้ำ

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (BPPV) คืออะไร?

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน

โรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน (BPPV) เป็นภาวะที่เกิดจากการเคลื่อนตัวของหินปูนหรือผลึกแคลเซียมในหูชั้นในไปยังตำแหน่งที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้เกิดอาการเวียนศีรษะและบ้านหมุนเมื่อมีการเคลื่อนไหวของศีรษะ เช่น การล้มตัวลงนอนหรือหันศีรษะไปมา โดยปกติ ภายในหูชั้นในจะมีอวัยวะควบคุมการทรงตัวและการได้ยินอยู่ โดยมีตะกอนหินปูนเคลื่อนไปมาแต่ไม่หลุดเพื่อรับรู้การเคลื่อนไหวของศีรษะ แต่เมื่อมีเหตุให้ตะกอนหินปูนหลุดก็จะทำให้เกิดอาการบ้านหมุนได้

สาเหตุของโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

เปลี่ยนท่าทางของศีรษะฉับพลัน ส่วนมากเกิดขึ้นขณะล้มตัวลงนอน พลิกตัว หรือลุกจากที่นอน ก้มหรือเงยหน้า

เกิดจากการบาดเจ็บที่ศีรษะหรือการเสื่อมสภาพของหูชั้นในเมื่ออายุมากขึ้น

ความเครียดและการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของร่างกายสามารถเป็นปัจจัยกระตุ้นให้หินปูนในหูเคลื่อนออกจากตำแหน่งได้

อุบัติเหตุโดยเฉพาะการบาดเจ็บบริเวณศีรษะ

การผ่าตัดหูชั้นกลาง หรือหูชั้นใน หลังผ่าตัดใหญ่ที่ต้องนอนนานๆ

อาการของโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน

รู้สึกไม่มั่นคงหรือไม่สามารถทรงตัวได้ดีเมื่อยืนหรือเดิน

มักเป็นช่วงสั้นๆ ที่ขยับศีรษะ แล้วอาการจะค่อยๆ หายไป เมื่อขยับศีรษะในท่าเดิมอาการอาจกลับมาใหม่ได้ แต่จะไม่รุนแรงเท่าครั้งแรก อาจเป็นได้หลายครั้งต่อวัน จะค่อยๆ ดีขึ้นภายในสัปดาห์หรือเดือน และอาจกลับมาเป็นซ้ำได้อีกในรอบหลายเดือนหรือเป็นปี

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนเกิดได้กับใครบ้าง?

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน
พบได้ในคนอายุระหว่าง 30-70 ปี

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน
พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน
พบในเพศหญิงมากกว่าเพศชายในอัตราส่วน 1.5-2 : 1

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน
มักพบในผู้สูงอายุ อายุมากกว่า 60 ปี

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน
เคยติดเชื้อในหูชั้นในมาก่อน

การตรวจวินิจฉัยโรคหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

ทดสอบ Dix-Hallpike maneuver ซึ่งเป็นการทดสอบจำเพาะกับโรคนี้ แพทย์จะให้ผู้ป่วยล้มตัวลงนอนหงายอย่างรวดเร็ว ในท่าศีรษะตะแคงและห้อยศีรษะเล็กน้อย หากพบการกระตุกของลูกตาร่วมกับเวียนศีรษะ จะเป็นอาการบ่งชี้ของโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

ตรวจการได้ยินในรายที่มีความผิดปกติของหูชั้นในอยู่ก่อนแล้ว

การตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) ในรายที่สงสัยว่ามีพยาธิสภาพของระบบประสาทส่วนกลางเช่น สมอง ทำให้เกิดอาการวิงเวียนศีรษะ

แนวทางรักษาโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน

ทำกายภาพบำบัดด้วยทำท่าทางที่เรียกว่า Epley Maneuver หรือ Semont Maneuver ช่วยเคลื่อนย้ายหินปูนกลับไปยังตำแหน่งเดิมในหูชั้นใน

ใช้ยาบรรเทาอาการเวียนศีรษะหรือยาแก้คลื่นไส้ในระยะสั้น แต่ไม่สามารถแก้ไขปัญหาหินปูนในหูได้อย่างถาวร

การผ่าตัด ในกรณีที่ผู้ป่วยรักษาด้วยยาหรือกายภาพบำบัดแล้วไม่ได้ผล เพื่อให้อาการวิงเวียนศีรษะน้อยลง หรือหายไป การผ่าตัดที่นิยมทำคือ canal plugging surgery โดยใช้ชิ้นส่วนของกระดูกอุดอวัยวะควบคุมการทรงตัว ทำให้ semicircular canal ไม่สามารถตอบสนองต่อการเคลื่อนตัวของหินปูนได้

แนวทางป้องกันเกิดโรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อนซ้ำ

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน

หลีกเลี่ยงการเคลื่อนไหวศีรษะที่อาจกระตุ้นอาการ เช่น การก้มศีรษะลงต่ำหรือการหันศีรษะอย่าง รวดเร็ว

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน

ใช้หมอนที่สูงเพื่อช่วยให้ศีรษะอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสมเมื่อล้มตัวลงนอน

โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นใน

หลีกเลี่ยงการนอนตะแคงด้านที่กระตุ้นให้เกิดอาการเวียนศีรษะบ้านหมุน

อย่างไรก็ตาม โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในหลุดรักษาไม่หายขาด แม้ให้การรักษาจนผู้ป่วยไม่มีอาการเวียนศีรษะแล้วก็ตาม อาจกลับมาแสดงอาการได้อีก สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกภายในปีแรกหลังให้การรักษา และครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคนี้จะกลับมาเป็นซ้ำอีกภายใน 5 ปี

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ“โรคตะกอนหินปูนในหูชั้นในเคลื่อน”

ถาม
ตอบ

โรคนี้จะนำไปสู่ภาวะสูญเสียการได้ยินได้หรือไม่?

โรคนี้จะไม่พบอาการหูอื้อ สูญเสียการได้ยิน หรือมีเสียงผิดปกติในหู แขนขาชาอ่อนแรง พูดไม่ชัด ไม่มีอาการเป็นลมหมดสติ ยกเว้นกรณีผู้ป่วยที่มีโรคหูเดิมอยู่ก่อนแล้ว อาการทางระบบประสาทร่วมด้วย

ถาม
ตอบ

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น?

-ถ้าอาเจียนมากอาจสูญเสียน้ำและเกลือแร่ในร่างกายมาก

-ถ้าเวียนศีรษะมากอาจเกิดอุบัติเหตุล้มศีรษะฟาดพื้น ดังนั้น เมื่อเริ่มเวียนศีรษะควรรีบนั่งลงหรือนอนบนพื้นราบที่ไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อป้องกันความเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุ

บทความโดย นพ.ธรรมรัตน์ หอวรรณภากร