chat

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชไพโลไร

หลายคนอาจเข้าใจว่า “เชื้อเอชไพโลไร” ทำให้เป็นโรคกระเพาะเท่านั้น แต่ความจริงแล้วยังเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งกระเพาะอาหารและลำไส้ได้ การรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยอาจมีเชื้อปนเปื้อนอยู่อุจจาระ น้ำลาย และสารคัดหลั่ง การกินอาหารและน้ำดื่มที่ไม่สะอาด ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงความเครียดที่ส่งผลผิดปกติต่อการหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร และอาจเกิดจากพันธุกรรม แม้จะเคยรับการรักษามาแล้วก็สามารถกลับมาติดเชื้อซ้ำได้ อย่างไรก็ตาม หากตรวจพบ “เชื้อเอชไพโลไร” ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องและอยู่ภายใต้การดูแลโดยแพทย์เฉพาะทาง

เชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) คืออะไร?

อาการหลังติดเชื้อเอชไพโลไร

ติดเชื้อเอชไพโลไรได้อย่างไร?

การตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไพโลไร

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไพโลไร

แนวทางป้องกันการติดเชื้อเอชไพโลไร

การรักษาเมื่อติดเชื้อเอชไพโลไร

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ ‘การติดเชื้อเอชไพโลไร’

เชื้อเอชไพโลไร (H. Pylori) คืออะไร?

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) เรียกสั้นๆว่า ‘เอชไพโลไร’ (H. Pylori) เป็นแบคทีเรียที่อาศัยอยู่บริเวณเยื่อบุกระเพาะอาหาร มีรูปร่างเกลียว (Spiral) จะทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารอย่างช้าๆ ทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า แผลในกระเพาะอาหารเรื้อรัง (Chronic Atrophic Gastritis) ซึ่งไม่มีอาการ แต่จะมีผลทำให้เกิดพยาธิสภาพต่างๆ เช่น เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น เกิดภาวะโลหิตจางที่เรื้อรังและรุนแรง (Perinccious Anemia) และอันตรายถึงขั้นเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารได้ในที่สุด

อาการหลังติดเชื้อเอชไพโลไร

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

ปวดท้องเรื้อรัง แสบร้อนตรงท้องส่วนบนเหนือสะดือ อาการปวดจะรุนแรงเมื่อท้องว่าง หรือหลังทานอาหาร

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

ท้องอืด เรอบ่อย จุกเสียด แน่นท้อง ท้องขึ้น ท้องเฟ้อ เรอลม มีลมในช่องท้อง

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

อุจจาระเป็นเลือด หรือมีสีดำคล้ายยางมะตอย มีกลิ่นเหม็น

ติดเชื้อเอชไพโลไรได้อย่างไร?

บริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อนเชื้อ

สัมผัสอุจจาระ น้ำลาย และสารคัดหลั่งที่ปนเปื้อนเชื้อ

ติดต่อจากการอยู่ใกล้ชิดกันในครอบครัวที่มีการติดเชื้อ เช่น จากแม่สู่ลูก การจูบ

การตรวจวินิจฉัยเชื้อเอชไพโลไร

ตรวจเลือด เพื่อหาสารภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นมาต่อสู้กับเชื้อ

ตรวจลมหายใจด้วยวิธี Urea Breath Test เพื่อทดสอบยูเรีย โดยให้ผู้ป่วยดื่มสารยูเรียที่มีกัมมันตภาพรังสี แล้วเป่าลมใส่ถุงเพื่อเก็บลมหายใจไปตรวจปริมาณแอมโมเนียที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากเชื้อเอชไพโลไรสามารถเปลี่ยนยูเรียให้เป็นแอมโมเนียได้ หากพบว่ามีปริมาณแอมโมเนียเพิ่มขึ้นมาก แสดงว่ามีเชื้อเอชไพโลไรในระบบทางเดินอาหาร

เก็บตัวอย่างอุจจาระเพื่อตรวจหาสารภูมิต้านทานหรือแอนติเจนซึ่งบ่งชี้ว่าติดเชื้อ

ส่องกล้องผ่านทางปาก เรียกว่า Gastroscopy ซึ่งตรวจได้ 3 วิธี คือ นำเนื้อเยื่อทำปฏิกิริยา Urease Test ถ้ามีเชื้อจะให้ผลบวก, นำเนื้อเยื่อส่องกล้องหาตัวเชื้อ และนำเนื้อเยื่อไปเพาะเชื้อ

ภาวะแทรกซ้อนจากการติดเชื้อเอชไพโลไร

แผลในกระเพาะอาหารส่งผลให้มีเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร อาจนำไปสู่ภาวะโลหิตจางได้

แผลจากการติดเชื้อในกระเพาะอาหารอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ คนไข้จะมีอาการปวดท้องช่วงบนเฉียบพลัน หน้าท้องแข็งตึง เมื่อกดบริเวณท้องจะรู้สึกเจ็บ

กระเพาะอาหารอุดตัน ทำให้อาหารไม่สามารถเคลื่อนออกจากกระเพาะอาหารได้ ผู้ป่วยจะอิ่มเร็ว อาเจียน เบื่ออาหาร และน้ำหนักลด

เพิ่มความเสี่ยงเป็นมะเร็งกระเพาะอาหารมากกว่าคนปกติ 8-9 เท่า เพราะเชื้อสามารถอยู่ในร่างกายได้นานหลายสิบปี

แนวทางป้องกันการติดเชื้อเอชไพโลไร

ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทานอาหารและหลังเข้าห้องสุขา

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

หลีกเลี่ยงการทานอาหารปรุงไม่สุก อาหารรสจัด หรือบริโภคน้ำดื่มที่ไม่สะอาด

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

งดสูบบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

งดการใช้ยาแก้ปวดแอสไพริน และยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์

แผลในกระเพาะอาหารจากเชื้อเอชโพโลไร

การรักษาเมื่อติดเชื้อเอชไพโลไร

รับประทานยาลดกรดออกฤทธิ์แรงหรือยาเคลือบกระเพาะร่วมกับใช้ยาปฏิชีวนะที่รักษาโรคกระเพาะที่เกิดจากเชื้อ เอช.ไพโลไร นาน 6-8 สัปดาห์

ปรับพฤติกรรมการกินอาหารให้ตรงเวลา ไม่ให้ท้องว่างติดต่อกันเป็นเวลานาน ซึ่งจะช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ ‘การติดเชื้อเอชไพโลไร’

ถาม
ตอบ

นอกจากแผลในกระเพาะอาหารจะเกิดจากการติดเชื้อเอชไพโลไรแล้วยังมีสาเหตุอื่นใดอีก?

-การใช้ยาบางชนิด เช่น แอสไพริน ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ก็สามารถทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหารได้ เพราะยาทั้ง 2 ประเภทนี้ จะไปยังยั้งการผลิตเอนไซม์ไซโคลออกซิจิเนสในกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อบุกระเพาะอ่อนแอและไวต่อการถูกทำลายโดยกรดมากขึ้น

-โรคบางชนิด เช่น โรคเอสแอลอี (SLE) หรือภูมิคุ้มกันทำร้ายตัวเอง เพราะระบบภูมิคุ้มกันจะสร้างแอนติบอดีไปทำลายเนื้อเยื่อและเซลล์ของตนเองในอวัยวะต่างๆ รวมถึงเยื่อบุกระเพาะอาหารด้วย

ถาม
ตอบ

ตับอักเสบจากภูมิต้านทานของตัวเอง (Autoimmune hepatitis) เป็นอย่างไร?

-จำเป็นต้องทาน แอสไพริน หรือ ยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จำพวก “ยาแก้ปวดข้อ” หรือ “ยาแก้ข้ออักเสบ” เป็นเวลานาน

-พบรอยโรคว่ามีแผลที่กระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็กส่วนต้น

-พบรอยโรคว่ามีกระเพาะอาหารอักเสบ โดยเฉพาะอาการโรคกระเพาะที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา รวมทั้งโรคกรดไหลย้อน

-มีประวัติผู้ป่วยมะเร็งกระเพาะอาหารในครอบครัว

แพทย์ผู้เขียนบทความ

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ