chat

แก้ไขสายตาด้วยวิธี PRK

แก้ไขสายตาด้วยวิธี PRK

ปัญหาสายตาที่ผิดปกติไม่ว่าจะเป็นสายตาสั้น สายตายาว หรือสายตาเอียง นับว่าเป็นอุปสรรคในการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวันของใครหลายคน โดยวิธีการแก้ไขปัญหาสายตาที่เราคุ้นเคยกันดี อย่างการใส่แว่นสายตา การใส่คอนแทคเลนส์ หรือแม้กระทั่งการแก้ไขสายตาด้วยวิธีทางการแพทย์อย่าง “เลสิค LASIK” ก็เป็นวิธีที่หลายท่านคุ้นเคยเป็นอย่างดี แต่ในปัจจุบันยังมีวิธีแก้ไขสายตาด้วยเทคนิคที่เหมาะสำหรับผู้ที่มีกระจกตาบางและไม่สามารถทำการรักษาด้วยวิธีเลสิคได้ นั่นก็คือ “การขัดผิวกระจกตา หรือ PRK”

แก้ไขสายตาด้วยวิธี PRK

ทำความรู้จักกับ “PRK”

การขัดผิวกระจกตา (PRK หรือ Photorefractive Keratectomy) เป็นวิธีการผ่าตัดแก้ไขสายตาสั้น ยาว เอียง เช่นเดียวกับวิธีเลสิค แต่ PRK จะใช้การขูดลอกผิวกระจกตาชั้นนอกออก (Epithelium) หลังจากนั้นจึงใช้ Excimer Laser ปรับแต่งความโค้งของผิวกระจกตาตามค่าสายตาของแต่ละบุคคล จากนั้นใช้คอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษ (Bandage Contact Lens) ปิดที่กระจกตาไว้ ซึ่งต่างกับการทำเลสิคตรงที่เลสิคจะทำการเปิดแยกชั้นกระจกตาก่อนแล้วใช้ Excimer Laser ยิงในการปรับกระจกตา หลังจากทำ PRK แล้ว แผลจะปิดสนิทในเวลาประมาณ 5-7 วัน เมื่อแผลหายดีแล้ว จักษุแพทย์จึงนัดมาพบเพื่อนำเอาคอนแทนเลนส์ออก

“PRK” เหมาะกับใคร

ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป

ผู้ที่อายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป และมีค่าสายตาคงที่อย่างน้อย 1 ปี

ผู้ที่มีภาวะตาแห้งผิดปกติ

ผู้ที่มีภาวะตาแห้งผิดปกติ

ผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิคได้

ผู้ที่ไม่สามารถทำเลสิคได้ เนื่องจากกระจกตาบางจนไม่สามารถแยกชั้นกระจกตาได้ เพราะเนื้อกระจกตาที่เหลือจะไม่พอแก้ไขตามค่าสายตา

ผู้ที่มีประวัติการหลุดลอกของกระจกตาดำ

ผู้ที่มีประวัติการหลุดลอกของกระจกตาดำ และกระจกตาถลอกง่าย

ผู้ที่ไม่มีโรคบางชนิดที่ทำให้แผลหายช้า

ผู้ที่ไม่มีโรคบางชนิดที่ทำให้แผลหายช้า หรือโรคเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน เช่น เบาหวาน หรือ SLE

มีความเข้าใจถึงการผ่าตัดด้วยวิธี

มีความเข้าใจถึงการผ่าตัดด้วยวิธี PRK อย่างละเอียด และมีความคาดหวังที่ถูกต้อง

หมายเหตุ จักษุแพทย์จะเป็นผู้ประเมินว่าคนไข้เหมาะสมกับการทำเลสิค หรือ PRK

การตรวจประเมินก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธี PRK

การตรวจประเมินก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธี PRK

ก่อนเข้ารับการรักษาด้วยวิธี PRK จะมีการอบรมให้ความรู้และคำแนะนำต่างๆ อย่างละเอียด โดยจักษุแพทย์ผู้ชำนาญการ

เตรียมตัวให้พร้อมก่อนเข้ารักษาด้วยวิธี PRK

งดแต่งหน้า

งดแต่งหน้า และใส่น้ำหอมก่อนมาโรงพยาบาล

งดการใช้คอนแทคเลนส์

งดการใช้คอนแทคเลนส์ชนิดนิ่มอย่างน้อย 3 วัน ชนิดแข็งอย่างน้อย 7 วัน

งดสวมเสื้อผ้าที่ใส่-ถอดยาก

งดสวมเสื้อผ้าที่ใส่-ถอดยาก

งดรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป

งดรับประทานอาหารให้อิ่มจนเกินไป ถ้าหิวให้ดื่มน้ำ หรือรับประทานของว่างเล็ก ๆ น้อย ๆ

ควรพาญาติมาด้วย 1 ท่าน

ควรพาญาติมาด้วย 1 ท่าน เพื่อคอยดูแลหลังทำการรักษา

ถ้ามีอาการผิดปกติ

ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น ตาบวมแดง มีขี้ตา เป็นหวัด ไอ จาม มีไข้สูง โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบก่อน

ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธี PRK

ขั้นตอนการรักษาด้วยวิธี PRK

1

ก่อนเข้ารับการรักษาจะมีการหยอดยาชาและยาแก้อักเสบ จากนั้นรอประมาณ 20 นาที (หากมีประวัติแพ้ยาควรแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบ)

2

จักษุแพทย์ใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อทำการลอกผิวกระจกตาชั้นนอกสุด

3

จากนั้นใช้เครื่อง Excimer Laser ยิงลงบนกระจกตาเพื่อปรับความโค้งให้เหมาะสมกับค่าสายตา

4

เมื่อกระจกตาถูกปรับความโค้งเรียบร้อยแล้ว จักษุแพทย์จะนำคอนแทคเลนส์ชนิดพิเศษปิดไว้ ทั้งนี้เพื่อรอให้ผิวด้านนอกของกระจกตาสร้างขึ้นมาสมบูรณ์ ควรใส่คอนแทคเลนส์นาน 5-7 วัน

5

ทำการปิดฝาครอบตาไว้ และจักษุแพทย์จะนัดมาตรวจติดตามผลการรักษาใน 1 สัปดาห์

ทำการปิดฝาครอบตาไว้

คำแนะนำหลังการรักษาด้วยวิธี PRK

วันแรก

คนไข้อาจมีน้ำตาไหลมาก

คนไข้อาจมีน้ำตาไหลมาก หรือมีอาการคันรอบบริเวณดวงตา คนไข้ไม่ควรแกะฝาครอบตาออก

ใช้สำลีชุบน้ำเช็ดรอบ ๆ

ใช้สำลีชุบน้ำเช็ดรอบ ๆ ฝาครอบตาได้

ควรงดการใช้สายตาอย่างต่อเนื่องนาน ๆ

ควรงดการใช้สายตาอย่างต่อเนื่องนาน ๆ ภายใน 24 ชั่วโมงแรก เช่น เล่นโทรศัพท์ ขับรถ เป็นต้น

สัปดาห์แรก

ควรปิดที่ครอบตาก่อนนอนทุกคืน

ควรปิดที่ครอบตาก่อนนอนทุกคืนเป็นเวลา 7 วัน เพื่อป้องกันการขยี้ตาในขณะที่นอนหลับ

หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละอองหรือควันบุหรี่

หลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละอองหรือควันบุหรี่ และควรระวังไม่ให้ฝุ่นละออง ควันบุหรี่ และน้ำเข้าตาประมาณ 7 วัน

งดทำกิจกรรมที่มีผลกระทบกับดวงตา

งดทำกิจกรรมที่มีผลกระทบกับดวงตา เช่น แต่งหน้า ว่ายน้ำ เป็นต้น

งดดำน้ำลึก

งดดำน้ำลึกเป็นเวลา 3 เดือน

ควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดด

ควรสวมแว่นกันแดดทุกครั้งที่ออกแดดอย่างน้อย 1 เดือน เพื่อป้องกันฝุ่นละอองและแสงแดด

หากมีอาการผิดปกติ

หากมีอาการผิดปกติ เช่น การมองเห็นแย่ลงอย่างรวดเร็ว ตาแดงมากขึ้นให้มาพบแพทย์ทันที โดยไม่ต้องรอให้ถึงวันนัด

การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา

การตรวจเพื่อติดตามผลการรักษา

หลังการรักษาด้วยวิธี PRK แพทย์จะทำการนัดเพื่อตรวจติดตามผลการรักษาเป็นระยะ ๆ ได้แก่ 1 สัปดาห์, 1เดือน, 3 เดือน, 6 เดือน และเพื่อสุขภาพดวงตาที่ดีในระยะยาว แนะนำให้คนไข้เข้ารับการตรวจสุขภาพตาเป็นประจำในทุก ๆ ปี

นอกจากวิธีการแก้ไขสายตาด้วยวิธี เลสิค และ PRK แล้ว ในปัจจุบันนี้ยังมีอีกหนึ่งเทคโนโลยีอันทันสมัย และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น นั่นก็คือ TRANS PRK โดยคนไข้แต่ละรายจะใช้วิธีใดในการรักษานั้น แพทย์ผู้ชำนาญการจะวินิจฉัยตามความเหมาะสมและความปลอดภัย โดยวิธีการผ่าตัดแก้ไขสายตาแบบถาวรด้วยเทคโนโลยีอันทันสมัยเหล่านี้ นับว่าเป็นทางเลือกเพื่อเพิ่มความมั่นใจ เสริมสร้างบุคลิก รวมถึงใช้ชีวิตประจำวันและทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างสะดวกสบายยิ่งขึ้น…ให้คุณมองเห็นโลกใหม่ที่สดใสกว่าเดิม

ข้อมูลโดย นพ.เกรียงไกร องคนิกูล