chat

แก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กลุ่มพนักงานออฟฟิศและมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานานในแต่ละวัน รวมทั้งสังคมก้มหน้าที่ผู้คนเสพสื่อผ่านหน้าจอโทรศัพท์มือถืออย่างต่อเนื่อง จำเป็นต้องใช้สายตาในการทำงานมาก อาจเผชิญปัญหากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง (Ptosis) เป็นภาวะเปลือกตาตกหรือหนังตาหย่อนลงมากกว่าปกติ มีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้อยกเปลือกตาทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ ทำให้ลืมตาได้น้อย เปลือกตาบนจึงคลุมปิดตาดำมากเกินไป นอกจากจะมีผลต่อบุคลิกภาพแล้ว บางกรณีหากเปลือกตาตกลงมากจนบังรูม่านตา ย่อมส่งผลต่อการมองเห็นและการใช้ชีวิตประจำวัน

ราคาการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโรงพยาบาลยันฮี

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นได้กับใครบ้าง

แสดงอาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”

สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

เป็นโดยกำเนิด (Congenital Ptosis)
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง2

เป็นภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงตั้งแต่แรกเกิด ลักษณะดวงตาของเด็กจะไม่มีรอยพับชั้นตา ลืมตาได้ไม่เต็มที่ เกิดจากกล้ามเนื้อตาไม่พัฒนา หรือเกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีความผิดปกติของเส้นประสาทสมอง ทำให้เด็กมีภาวะหนังตาตกปิดตาดำมากกว่าปกติ ตาดูปรือ ลืมตาไม่ค่อยขึ้น เกิดภาวะตาขี้เกียจได้ (Lazy eye) ทำให้เกิดตาเหล่ตาเข (Amblyopia) ส่งผลให้ตาข้างใดข้างหนึ่งมองเห็นน้อยกว่าอีกข้าง จากหนังตาตกทับดวงตา บดบังการมองเห็นทำให้สมองด้านนั้นไม่ได้รับการกระตุ้น จนอาจเกิดภาวะตาขี้เกียจและตาเอียงร่วมด้วย

อายุที่เพิ่มมากขึ้น

อีกสาเหตุหนึ่งเกิดจากอายุเพิ่มขึ้น โครงสร้างผิวเปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อย กล้ามเนื้อเปลือกตาเสียความยืดหยุ่น จากการใช้งานเป็นเวลานาน ความแข็งแรงของเปลือกตาและกล้ามเนื้อยกเปลือกตาจะลดลง ออกแรงยกเปลือกตาได้น้อย ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง หนังตาตกทับตาดำมากกว่าปกติ จนเกิดปัญหาในการมองเห็น ส่งผลให้เกิดพฤติกรรมติดเลิกคิ้ว และรอยย่นบริเวณหน้าผากตามมา

พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน

โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศและมนุษย์เงินเดือนที่ทำงานหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือจ้องมองหน้าจอโทรศัพท์มือถือแทบตลอดทั้งวัน โดยไม่พักสายตาทำให้กล้ามเนื้อตาอ่อนล้า ทั้งยังอาจเกิดจากการใส่คอนแทคเลนส์ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็ส่งผลให้กล้ามเนื้อตาถูกยืดออก จนเกิดโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้เช่นกัน

ขยี้ตาบ่อย ขยี้ตาบ่อยจากการล้างทำความสะอาดใบหน้ารุนแรง หรือจากอาการภูมิแพ้ ทำให้คันบริเวณเปลือกตา ส่งผลให้เปลือกตาเกิดความหย่อนคล้อยมากกว่าปกติ กล้ามเนื้อตายืดออก ชั้นตากลายเป็นสามชั้น หรือเปลือกตามีรอยพับชั้นตาเป็นริ้ว ทำให้ตาปรือ อาจเป็นเฉพาะดวงตาข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้างก็ได้

ความผิดพลาดในการผ่าตัดตาสองชั้น

การศัลยกรรมตาสองชั้นด้วยวิธีผูกปมไหมไม่ละลายไว้ใต้ผิวตา บางกรณีอาจทำให้ปมไหมขวางการทำงานของกล้ามเนื้อตา ทำให้ดูตาปรือ รู้สึกระคายเคืองตา และยังเสี่ยงปมไหมหลุดออก จนทำให้เหลือตาสองชั้นเพียงข้างเดียว ส่งผลให้ชั้นตาดูไม่เท่ากัน หากศัลยแพทย์ขาดประสบการณ์อาจเกิดความผิดพลาดที่ร้ายแรง เช่น ผ่าตัดกระทบกล้ามเนื้อตาส่งผลให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้

การหลั่งสารสื่อประสาทผิดปกติจากโรค Myasthenis gravis

โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงที่เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน สาเหตุเกิดจากร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันแอนติบอดี้บางชนิดขึ้นมายับยั้งหรือทำลายโปรตีน ที่มีบทบาทสำคัญในการรับสารอะซีทิลคอลีน (Acetylcholine) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาท ที่อยู่บริเวณรอยต่อระหว่างเส้นประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) จนเกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ อาการที่พบบ่อย คือ กล้ามเนื้อยกเปลือกตาอ่อนแรง ทำให้หนังตาตก ลืมตาลำบาก กลอกตาผิดปกติ มองเห็นภาพซ้อน โฟกัสภาพไม่ได้ จึงควรรับการวินิจฉัยจากแพทย์

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเกิดขึ้นได้กับใครบ้าง?

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรงนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศ ทุกวัย บางรายเป็นตั้งแต่กำเนิด หรือบางรายอาจเป็นตอนอายุมากขึ้น เนื่องจากกล้ามเนื้อที่ใช้ยกเปลือกตาหย่อนยานหรือยืดจากการใช้งานบ่อย อาจเป็นข้างเดียว หรือทั้งสองข้างก็ได้ ทำให้ตาดูไม่เท่ากัน ยกหนังตาไม่ค่อยขึ้น ทำให้มีลักษณะตาปรือ กลายเป็นคนที่ดูง่วงนอนตลอดเวลา ส่งผลต่อบุคลิกภาพ ทำให้หลายคนต้องรักษาด้วยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

แสดงอาการของโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

หนังตาตก

หนังตาตก

เด็กที่เป็นกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยกำเนิด ตาจะตก ตาปรือ เพราะกล้ามเนื้อตาเปิดตาออกแรงไม่เต็มที่ สังเกตได้จากขอบตาบนจะคลุมปิดตาดำมากกว่าปกติ ในบางรายอาจมีการมองเห็นผิดปกติ เพราะหนังตาตกทับดวงตาจนบดบังการมองเห็น ทำให้เด็กชอบเอียงคอ แหงนคอ เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น อาจมีหนังตาตกข้างเดียว หรือสองข้าง ตาไม่เท่ากัน ชั้นตาไม่ชัดเจน ส่วนกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่เกิดขึ้นภายหลัง มักเกิดจากการใช้งานกล้ามเนื้อตามาเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตายืดออก จนไม่สามารถออกแรงเปิดตาได้เต็มที่ เปิดเปลือกตาได้ไม่สุด ทำให้หนังตาตกปิดทับตาดำมากกว่าปกติ ดวงตาปรือ ตาไม่เท่ากัน

ลืมตาไม่ขึ้น

กล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์ เป็นกล้ามเนื้อมัดเล็กเหนือเบ้าตา ทำหน้าที่ยกเปลือกตาบนขึ้น ควบคุมการลืมตา หากเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง กล้ามเนื้อตาลีเวเตอร์จะสูญเสียความแข็งแรง จนไม่สามารถออกแรงลืมตาได้เต็มที่ ลืมตายาก ลืมตาไม่ขึ้น หากมองปกติ ไม่พยายามเบิ่งตา ตาจะดูปรือ กรณีเป็นโรคกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงเพียงข้างเดียว อาจทำให้ตาเปิดได้ไม่เท่ากัน ส่งผลเสียต่อบุคลิกภาพ

ลืมตาไม่ขึ้น

เลิกคิ้ว

กล้ามเนื้อตาอ่อนแรง ทำให้หนังตาตกทับตาดำบางส่วน หรือทับดวงตาดำมากจนปิดรูม่านตา ทำให้การมองเห็นลดลง จนติดการเลิกคิ้ว เลิกหน้าผาก แหงนคอ หรือเอียงคอ เพื่อชดเชยภาวะเปลือกตาออกแรงยกขึ้นได้ไม่เต็มที่ ทำให้เกิดริ้วรอยบริเวณหน้าผาก

เบ้าตาลึก

เป็นสาเหตุร่วมกับกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ เพราะเกิดจากไขมันที่เสื่อมไปตามอายุ ร่วมกับอาการตาปรือจึงทำให้เบ้าตาดูลึกกว่าปกติ การรักษาต้องย้ายไขมันเติมที่เบ้าตาร่วมด้วย

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

พบแพทย์เพื่อประเมินหนังตาส่วนบนที่เกิน ตรวจความรุนแรงของกล้ามเนื้อที่อ่อนแรง ก่อนจะรักษาด้วยการผ่าตัดโดยใช้วิธีเย็บตรึงกล้ามเนื้อตาด้วยความตึงแตกต่างกันในแต่ละข้าง เพราะส่วนใหญ่กล้ามเนื้อตาจะหย่อนคล้อยไม่เท่ากัน ถ้าเย็บด้วยความตึงเท่ากันจะทำให้ชั้นตาไม่เท่ากัน วิธีผ่าตัดมีหลายวิธี เน้นจัดการกับ กล้ามเนื้อลีเวเตอร์ (Levator) ที่อยู่ลึกเข้าไปในชั้นหนังตา โดยแพทย์จะเลาะชั้นกล้ามเนื้อตานี้ออก เย็บให้แข็งแรง หรือผ่าตัดตกแต่งเพิ่มเติม ขึ้นอยู่กับอาการในแต่ละราย เพราะชั้นกล้ามเนื้อตานี้มีความบอบบาง และยิ่งเปราะบางมากในเคสกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงโดยกำเนิด

วิธีรักษากล้ามเนื้อตาอ่อนแรง

ราคาการแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงที่โรงพยาบาลยันฮี

เป็นน้อย 1 ข้าง

20,500 บาท

เป็นน้อย 2 ข้าง

38,500 บาท

เป็นมาก 1 ข้าง

30,500 บาท

เป็นมาก 2 ข้าง

50,500 บาท

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ
เกี่ยวกับ “การแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง”

ถาม
ตอบ

การผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงไม่สามารถทำได้ในคนกลุ่มใด?

คนไข้ที่เป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด MG (Myasthenia Gravis) ซึ่งเกิดจากภูมิคุ้มกันร่างกายทำงานผิดปกติ ทำให้หนังตาตก ยิ้มได้น้อย หายใจลำบาก ลิ้นอ่อนแรง มีปัญหาในการพูด การบดเคี้ยว การกลืน แขนขาอ่อนแรง หากเป็นกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดนี้จะไม่สามารถรักษาด้วยการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงได้ แต่สามารถรักษาด้วยยา และควรพบแพทย์อย่างต่อเนื่อง

ถาม
ตอบ

ต้องเตรียมตัวผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอย่างไร?

งดยา วิตามินอาหารเสริม ที่ลดการแข็งตัวของเลือด เช่น คอลลาเจน น้ำมันตับปลา อย่างน้อย 2 สัปดาห์ ควรสระผมมาก่อนผ่าตัด เพราะหลังจากผ่าตัดช่วงแรกต้องระวังน้ำโดนแผล งดการแต่งหน้าในวันผ่าตัด ไม่ใส่คอนแทคเลนส์ ถ้ามีอาการผิดปกติที่ผิวหนังบริเวณเปลือกตาก่อนวันผ่าตัด 2 สัปดาห์ ให้รีบแจ้งแพทย์ เช่น เป็นตากุ้งยิง ตาบวม หรือมีผื่นขึ้นตา เตรียมแว่นตากันแดดมาใส่ป้องกันฝุ่นละอองหลังผ่าตัด หากมีโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจ ให้ปรึกษาแพทย์ก่อน

ถาม
ตอบ

การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง จำเป็นต้องทำร่วมกับการทำตาสองชั้นหรือไม่?

การผ่าตัดแก้ไขกล้ามเนื้อตาอ่อนแรง เป็นการผ่าตัดที่กล้ามเนื้อ Levator Palpebrae Superioris ซึ่งอยู่ลึกลงไปใต้ต่อชั้นตา จึงจำเป็นจะต้องทำตาสองชั้นร่วมด้วยเสมอ เพราะในขั้นตอนการผ่าตัดกล้ามเนื้อตาอ่อนแรงอาจจะมีการเลาะชั้นตาธรรมชาติเดิมของคนไข้เพื่อเข้าไปเย็บกล้ามเนื้อดังกล่าว

หัตถการของศูนย์ศัลยกรรมตกแต่ง

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม