chat

เนื้องอกมดลูก

Uterine fibroid

หลายครั้งหลายคราก็อดคิดไม่ได้กับประโยคที่ว่า “เกิดเป็นหญิงแท้จริงแสนลำบาก” เพราะบรรดาโรคต่างๆ บริเวณอุ้งเชิงกรานนั้นมากมายจนแทบจะนับกันไม่หวาดไม่ไหว “เนื้องอกมดลูก” เป็นอีกหนึ่งในหลายต่อหลายโรคที่ผู้หญิงต่างเป็นกังวล เพราะไม่รู้ว่าจะเป็นก้อนเนื้องอกตอนไหน เมื่อไหร่ มีอาการยังไง มีแล้วจะมีลูกได้หรือไม่ จะรักษาได้มั้ย หรือจะกลายเป็นมะเร็ง หลากหลายความคิดประเดประดังกันเข้ามา ถึงแม้ว่า “เนื้องอกมดลูก” ดูจะเป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนให้ความสำคัญและเป็นที่รู้จักกันทั่วไป แต่ก็ยังมีอีกหลายคนที่ไม่ได้รู้จักโรคนี้อย่างแท้จริง ถ้าอย่างนั้นเรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคนี้ เพื่อที่ผู้หญิงทุกคนจะได้สังเกตอาการ รู้ถึงแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง เพื่อเป็นประโยชน์ในการรักษาหากตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ

เนื้องอกมดลูกคืออะไร

อาการของคนที่เป็นเนื้องอกมดลูก

แนวทางการรักษาเนื้องอกมดลูก

การสังเกตอาการ

การรักษาโดยการใช้ยา

การรักษาโดยการผ่าตัด

เนื้องอกมดลูกคืออะไร

เนื้องอกมดลูก

เนื้องอกมดลูก (Myoma uteri หรือUterine fibroid) เป็นโรคของกล้ามเนื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ของผู้หญิงที่เจริญมากผิดปกติจนเกิดเป็นเนื้องอก มักเกิดเพียงก้อนเดียวหรือหลายๆ ก้อน และหลายๆ ขนาดแตกต่างกันออกไป อาจมีขนาดเล็กเท่ากับเมล็ดถั่วไปจนถึงมีขนาดใหญ่เท่ากับลูกแตงโม ผิวเป็นลอน ค่อนข้างแข็ง ผลของก้อนเนื้องอกทำให้มดลูกโตไม่สม่ำเสมอ สามารถพบได้ทุกบริเวณในมดลูก และมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปตามตำแหน่งที่พบ ได้แก่ เนื้องอกที่กล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นภายในกล้ามเนื้อมดลูก เป็นบริเวณที่พบได้บ่อยที่สุด, เนื้องอกมดลูกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นและดันออกมาที่ผิวด้านนอกมดลูก, เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นและดันเข้ามาในโพรงมดลูก และเนื้องอกมดลูกชนิดมีก้านยื่น คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นและอาจดันพ้นออกมาที่ผิวด้านนอกของมดลูก หรืออาจดันเข้ามาในโพรงมดลูก แต่ก้อนเนื้องอกจะยึดติดกับมดลูกด้วยก้านเล็กๆ ที่เรียกว่า Intracavitary fibroid

เนื้องอกที่กล้ามเนื้อ (Intramural fibroid) คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นภายในกล้ามเนื้อมดลูก เป็นบริเวณที่พบได้บ่อยที่สุด

เนื้องอกมดลูกที่ผิวด้านนอกมดลูก (Subserosal fibroid) คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นและดันออกมาที่ผิวด้านนอกมดลูก

เนื้องอกมดลูกที่โพรงมดลูก (Submucosal fibroid) คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นและดันเข้ามาในโพรงมดลูก และเนื้องอกมดลูกชนิดมีก้านยื่น คือ ก้อนเนื้องอกโตขึ้นและอาจดันพ้นออกมาที่ผิวด้านนอกของมดลูก หรืออาจดันเข้ามาในโพรงมดลูก แต่ก้อนเนื้องอกจะยึดติดกับมดลูกด้วยก้านเล็กๆ ที่เรียกว่า Intracavitary fibroid

เนื้องอกมดลูกเป็นโรคที่พบได้บ่อย

  • ในผู้หญิง 4 คน พบว่า 1 คนเป็นเนื้องอกมดลูก ส่วนมากพบในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์หรือวัยที่ยังมีประจำเดือน ในช่วงอายุ 30-50 ปี
  • ผู้หญิงที่ยังไม่เคยมีลูก คนที่มีน้ำหนักตัวมาก และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นเนื้องอกมดลูก

สาเหตุของเนื้องอกมดลูกอาจเกิดจากพันธุกรรม หรือฮอร์โมนเพศหญิง เนื่องจากส่วนใหญ่พบว่าเนื้องอกจะมีขนาดเล็กลงหลังวัยหมดประจำเดือน เนื้องอกมดลูกที่เรากำลังพูดถึงนี้เป็นเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง โดยมีโอกาสเปลี่ยนแปลงเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง เพียง 0.25 – 1.08 เปอร์เซ็นต์ อาการเมื่อก้อนเนื้องอกเกิดการเปลี่ยนแปลงคือก้อนเนื้องอกโตเร็วและมีอาการตกเลือดร่วมด้วย แต่เนื้องอกชนิดธรรมดานี้อาจไม่ก่อให้เกิดอาการหากมีขนาดเล็ก หรือ หากก้อนโตจนทำให้มีอาการผิดปกติก็สามารถดูแลรักษาได้

อาการของคนที่เป็นเนื้องอกมดลูก

  • ปวดท้องประจำเดือนมากกว่าปกติ เนื่องจากเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่
  • มีเลือดออกทางช่องคลอดมากและนานผิดปกติระหว่างมีประจำเดือน
  • ปัสสาวะบ่อย เนื่องจากก้อนเนื้องอกอาจกดทับหรือเบียดกระเพาะปัสสาวะ
  • ท้องอืดหรือท้องผูกผิดปกติ เนื่องจากก้อนเนื้องอกอาจกดทับหรือเบียดลำไส้ใหญ่
  • อาจคลำหรือรู้สึกได้ว่ามีก้อนตรงบริเวณท้องน้อย เนื่องจากก้อนเนื้องอกมีขนาดใหญ่มาก
  • ปวดท้องขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ในบางคนอาจทำให้มีบุตรได้ยาก

อาการที่เกิดจากการมีก้อนเนื้องอกมดลูก ขึ้นอยู่กับขนาดและตำแหน่งของเนื้องอก ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ของเนื้องอก โดยทั่วไปหากก้อนเนื้องอกมีขนาดเล็กอาจไม่มีอาการผิดปกติใดๆ เลย แต่เมื่อได้รับการตรวจกลับพบว่ามีก้อนเนื้องอก ซึ่งถ้าพบในระยะแรกจะทำให้รักษาได้ง่ายขึ้น แต่ในกรณีที่ก้อนเนื้องอกโตขึ้นจนอาจไปกดหรือเบียดอวัยวะใกล้เคียง จึงส่งผลให้แสดงอาการออกมาจนสังเกตได้ ดังนั้น หากคุณมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจวินิจฉัยทันที

คุณผู้หญิงลองสังเกตอาการเหล่านี้ดูว่าเกิดขึ้นกับตัวเองหรือไม่ สามารถใช้การจดบันทึกช่วยในการประเมินอาการของตัวเองได้ เพราะในแต่ละวันทุกคนต่างก็มีภาระหน้าที่ที่ต้องทำ อาจทำให้หลงๆ ลืมๆ การหมั่นสังเกตตัวเองจะทำให้คุณสามารถวิเคราะห์อาการเบื้องต้น และอธิบายกับแพทย์ผู้ให้การรักษาได้อย่างถูกต้อง เพื่อหาแนวทางการรักษาในขั้นตอนต่อไป

แนวทางการรักษาเนื้องอกมดลูก

วิธีการรักษาเนื้องอกมดลูกขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง ได้แก่ อาการของผู้ป่วย ลักษณะของเนื้องอก ขนาดและอัตราการเติบโตของเนื้องอก ภาวะแทรกซ้อน และปัจจัยอื่นๆ ของผู้ป่วย เช่น อายุ ความต้องการในการมีบุตร เป็นต้น โดยข้อมูลทั้งหมดนี้แพทย์จะนำมาประกอบการพิจารณาในการเลือกวิธีการในการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละราย ผู้ป่วยที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดโตไม่มากและไม่มีอาการผิดปกติ อาจไม่ต้องได้รับการรักษา เพียงแต่ต้องคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอก ทั้งขนาดและอาการที่ปรากฏ โดยเฉพาะผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือหมดระดู เพราะหลังจากนี้ก้อนเนื้องอกจะมีขนาดเล็กลง ผู้ป่วยที่ก้อนเนื้องอกมีขนาดโตหรือมีอาการผิดปกติ แพทย์จะพิจารณาให้การรักษา 3 วิธีด้วยกัน ได้แก่ การสังเกตอาการ การใช้ยา และการผ่าตัด

การสังเกตอาการ

การสังเกตอาการทำในกรณีที่เนื้องอกมดลูกไม่ได้ก่อให้เกิดอาการผิดปกติใดๆ หรืออาจทำให้มีอาการบ้าง แต่ก็ไม่ได้ส่งผลกระทบที่ร้ายแรงแต่อย่างใด ทั้งในเรื่องของการใช้ชีวิตประจำวันและเรื่องสุขภาพ ดังนั้น จึงสามารถรักษาด้วยการสังเกตอาการได้ เพราะก้อนเนื้องอกที่มีขนาดเล็กจะสามารถฝ่อตัวลงได้เองเมื่อผู้หญิงเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ทั้งนี้ สูตินรีแพทย์อาจนัดตรวจเป็นประจำทุก 3-6 เดือน โดยการตรวจภายในหรืออัลตราซาวนด์ร่วมด้วย เพื่อคอยติดตามการเปลี่ยนแปลงของเนื้องอก ทั้งขนาดและอาการที่ปรากฏ ซึ่งผู้ป่วยจะต้องรายงานแพทย์ถึงปริมาณและลักษณะของประจำเดือน อาการปวดประจำเดือน การขับถ่ายปัสสาวะ การขับถ่ายอุจจาระ อาการปวดท้อง และอาการโตขึ้นของก้อนเนื้องอกหากสามารถคลำพบได้ด้วยตนเอง หากก้อนเนื้องอกมีขนาดโตขึ้นและเกิดความผิดปกติรุนแรง ก็จะทำให้มีแนวทางในการรักษาที่เหมาะสมในขั้นตอนต่อไป

การรักษาโดยการใช้ยา

ปัจจุบันทางการแพทย์ยังไม่มียาประเภทไหนที่สามารถรักษาให้ก้อนเนื้องอกมดลูกหายขาดได้ แต่ยาที่ใช้ทั่วไปเป็นยาที่ช่วยให้ก้อนเนื้องอกลดขนาดลงชั่วคราว หรือช่วยบรรเทาอาการต่างๆ ให้ดีขึ้น ยาที่นำมาใช้ในการรักษา ได้แก่ ยาลดปริมาณประจำเดือน เช่น Tranexamic acid, ยาต้านการอักเสบ เช่น Ibuprofen และ Mefenamic acid เป็นต้น, ยาเม็ดคุมกำเนิด หรือ การใส่ห่วงอนามัยที่บรรจุฮอร์โมนลีโวนอร์เจสเทรล (Levonorgestrel intrauterine system; LNG-IUS) เข้าไปในโพรงมดลูก ที่ช่วยลดปริมาณประจำเดือนลงได้ เป็นต้น โดยยาเหล่านี้อาจได้ผลดีในผู้ป่วยบางรายเท่านั้น และนอกจากนี้ยังมีการใช้ยาที่ทำให้ก้อนเนื้องอกมีขนาดเล็กลง ซึ่งทำให้ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายลดลง ส่งผลให้อาการผิดปกติต่างๆ เช่น ประจำเดือนมามาก ปวดประจำเดือน หรือ อาการที่ก้อนเนื้องอกไปกดทับอวัยวะต่างๆ เช่น กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง หรือทวารหนัก หายไปในขณะที่ใช้ยา แต่การที่ระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลง จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเหมือนกับผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน เช่น ร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก เกิดการสูญเสียมวลกระดูกอย่างรวดเร็วจนอาจทำให้เกิดโรคกระดูกพรุนได้ จึงมีข้อแนะนำว่าไม่ควรใช้ยานี้นานเกิน 6 เดือน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วยากลุ่มนี้มักใช้เพียงชั่วคราว 3-6 เดือน เท่านั้น เพื่อช่วยลดขนาดของก้อนเนื้องอกซึ่งจะทำให้ผ่าตัดได้ง่ายขึ้น

การรักษาโดยการผ่าตัด มี 2 วิธีด้วยกัน

  • การผ่าตัดเปิดหน้าท้อง คือ จะมีรอยแผลผ่าตัดขนาดใหญ่ ใช้ระยะเวลาในการพักฟื้นนาน
  • การผ่าตัดผ่านกล้องหรือการผ่าตัดส่องกล้อง คือ แผลผ่าตัดจะมีขนาดเล็กประมาณ 0.5 – 1 เซนติเมตร มีความเจ็บปวดจากแผลผ่าตัดน้อย ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็ว

ซึ่งกำลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โดยเป็นการผ่าตัดเพื่อเลาะก้อนเนื้องอกออก (ในกรณีที่ผู้ป่วยมีก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่มาก แพทย์อาจฉีดยาบางอย่างเพื่อทำให้ก้อนมีขนาดเล็กลง เพื่อให้การผ่าตัดง่ายขึ้น) ความแตกต่างระหว่างการผ่าตัดเปิดหน้าท้องและการผ่าตัดผ่านกล้องคือ



การผ่าตัดส่องกล้องนี้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอายุน้อย และผู้ป่วยที่เตรียมความพร้อมเพื่อการมีบุตร ดังนั้น จึงไม่สามารถทำได้ในผู้ป่วยทุกราย ซึ่งการผ่าตัดผ่านกล้องมีข้อจำกัดในเรื่องของความเสี่ยง เช่น ผู้ป่วยมีโรคประจำตัว อย่าง โรคหัวใจ และหลอดเลือด โรคปอด ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน ผู้ป่วยเคยผ่าตัดมาแล้วหลายครั้ง ทำให้ช่องท้องมีพังผืดมาก หรือผู้ป่วยมีก้อนเนื้องอกขนาดใหญ่มาก การผ่าตัดผ่านกล้องจะมีความเสี่ยงสูง และใช้เวลาในการผ่าตัดนาน ดังนั้น การที่จะรักษาด้วยวิธีไหนนั้นต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด ประกอบกับความสมัครใจของผู้ป่วยร่วมด้วย

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะได้รับการรักษาโดยการผ่าตัดก้อนเนื้องอกมดลูกออกไปแล้ว โดยที่ไม่ได้ผ่าเอามดลูกออก ก็ยังมีโอกาสที่ก้อนเนื้องอกจะกลับมาได้อีก ดังนั้น ผู้หญิงทุกคนควรได้รับการตรวจภายในอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจหาความผิดปกติภายในอุ้งเชิงกราน หรืออาจเรียกว่าเป็นการสังเกตการณ์ เพราะการตรวจพบได้ในระยะเริ่มแรกจะทำให้การรักษาได้ผลดียิ่งขึ้น

ค่ารักษาเนื้องอกมดลูก

ตรวจหามะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี PAP SMEAR

700 บาท

ตรวจหามะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี Thin Prep

1,600 บาท

ตรวจด้วยกล้อง COLPOSCOPE (ไม่มีชิ้นเนื้อส่งตรวจ)

3,500 บาท

ตรวจด้วยกล้อง COLPOSCOPE (ส่งตรวจชิ้นเนื้อ)

5,800 บาท

ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก Gardasil

2,900 บาท/เข็ม

ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก Cervarix

2,700 บาท/เข็ม

** ทางโรงพยาบาลขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยงแปลงราคา โดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า **

เนื้องอกมดลูก

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม