chat

ฮอร์โมนบำบัดเพื่อสุขภาพ

การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนชนิดที่ตรวจพบความผิดปกติ โดยจะทำการปรับฮอร์โมนให้เข้ากับปัญหาสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ จากนั้นจึงเริ่มให้ฮอร์โมน โดยจำนวนครั้งในการให้ประมาณ 5-10 ครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคล มีระยะห่างในการรักษาแต่ละครั้งประมาณทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะมีการตรวจติดตามผลในทุกครั้งที่ผู้เข้ารับบริการมาพบแพทย์

เช็คลิสต์อาการ “ฮอร์โมนไม่สมดุล”

  • รอบเดือนมาไม่ปกติ
  • นอนไม่ค่อยหลับในเวลากลางคืน แต่กลางวันนอนหลับดี
  • เป็นสิวเยอะ รักษาแล้วไม่หาย
  • มักหลงๆ ลืมๆ
  • ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน มีอาการรุนแรงก่อนหรือในช่วงมีประจำเดือน
  • เหนื่อยและอ่อนเพลียตลอดเวลา
  • เครียดและอารมณ์แปรปรวน
  • หิวบ่อย กินจุ น้ำหนักเพิ่ม ตัวบวม
  • ปวดศีรษะ
  • ช่องคลอดแห้ง ขาดน้ำหล่อลื่น
  • มีความต้องการทางเพศลดลง

ใครบ้างที่ต้องรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด

  • ภาวะวัยทอง, อายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกาย และมีความแปรปรวนทางด้านอารมณ์และจิตใจเป็นอย่างมาก
  • ภาวะเครียด, นอนไม่หลับ, เจ็ทแลค (Jet lag)
  • ภาวะความเสื่อมของผิว ผม และเล็บ
  • ช่วยแก้ปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ช่วยส่งเสริมการออกกำลังกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ก่อนการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด ต้องตรวจอะไรบ้าง

  • ตรวจร่างกายและซักประวัติโดยแพทย์ เพื่อให้รู้สาเหตุของปัญหาอย่างชัดเจน โดยจะมีการตรวจร่างกายทั่วไป ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดความดันโลหิต
  • ตรวจเลือดเพื่อค้นหาความผิดปกติของฮอร์โมนต่างๆ เช่น ตรวจโรคความผิดปกติทางฮอร์โมน, ตรวจการทำงานของต่อมไทรอยด์, ต่อมหมวกไต, ตรวจระดับฮอร์โมนเพศหญิงและฮอร์โมนเพศชาย, ตรวจสารตั้งต้นของฮอร์โมนเพศ และตรวจหาระดับโปรตีนที่จับกับฮอร์โมนเพศ เป็นต้น

การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด

การรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด แพทย์จะพิจารณาให้ฮอร์โมนชนิดที่ตรวจพบความผิดปกติ โดยจะทำการปรับฮอร์โมนให้เข้ากับปัญหาสุขภาพของผู้เข้ารับบริการ จากนั้นจึงเริ่มให้ฮอร์โมน โดยจำนวนครั้งในการให้ประมาณ 5-10 ครั้ง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละบุคคล มีระยะห่างในการรักษาแต่ละครั้งประมาณทุกๆ 1-2 สัปดาห์ ซึ่งจะมีการตรวจติดตามผลในทุกครั้งที่ผู้เข้ารับบริการมาพบแพทย์

ที่สำคัญการรักษาด้วยฮอร์โมนบำบัด ควรทำร่วมไปกับการปรับพฤติกรรมในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็น รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ งดอาหารไขมันสูง ดื่มน้ำให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ สิ่งเหล่านี้จะช่วยรักษาระดับฮอร์โมนให้สมดุล ให้คุณมีชีวิตที่ยืนยาวอย่างมีความสุขในทุกๆ วัน

ข้อมูลโดยนพ.โสฬส ริมปิรังษี

หัตถการของศูนย์คีเลชั่น