chat

อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าต่อเด็ก

ผลสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กไทยในปัจจุบัน พบว่า เด็กเริ่มสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา กว่าร้อยละ 5 เคยทดลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าที่บ้านหรือโรงเรียนกันแล้ว ที่น่าตกใจ คือ เด็กที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มว่าจะสูบบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้น 5 เท่า เพราะโรงงานมีการผลิตบุหรี่ไฟฟ้าหรือพอดแบบใช้แล้วทิ้ง ออกแบบให้พกพาง่าย รูปร่างสวยงาม มีกลิ่นหอม มีรสชาติอย่างน้อยกว่า 16,000 รส มีการโฆษณาผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้เด็กเข้าใจผิดคิดว่าไม่เป็นอันตราย และผู้ใหญ่บางคนเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าช่วยให้เลิกสูบบุหรี่ธรรมดาได้ ทั้งที่ความจริงแล้วมีอันตรายต่อสุขภาพไม่น้อยไปกว่ากัน

บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร?

อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า?

แนวทางการป้องกันผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อบุตรหลาน

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับอันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าต่อเด็ก

บุหรี่ไฟฟ้า คืออะไร?

อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าต่อเด็ก

บุหรี่ไฟฟ้า หรือ e-cigarettes คือ อุปกรณ์สูบบุหรี่ชนิดหนึ่งซึ่งใช้กลไกไฟฟ้าทำให้เกิดความร้อนและไอน้ำที่ประกอบไปด้วยสารเคมีต่าง ๆ ได้แก่ นิโคติน โพรไพลีนไกลคอล กลีเซอรีน โลหะหนัก สารหนู สารกลุ่ม Formaldehyde และกลุ่ม Benzene เป็นต้น ไม่มีควันจากกระบวนการเผาไหม้เหมือนบุหรี่ทั่วไป ประกอบด้วยส่วนประกอบ 3 อย่างคือ แบตเตอรี่ที่ช่วยให้เกิดไอน้ำและความร้อน สารแต่งรส แต่งกลิ่น และ น้ำยาบุหรี่ไฟฟ้า (e-liquid) ที่มีรสชาติและกลิ่นแตกต่างกัน

อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า

อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าต่อเด็ก

การสูบบุหรี่ไฟฟ้าทำให้ติดสารนิโคติน พบว่าบุหรี่ไฟฟ้าหนึ่งแท่งมีปริมาณนิโคตินเท่ากับบุหรี่ทั่วไป 20 มวน ในบุหรี่ไฟฟ้ามีสารนิโคตินที่ก่อให้เกิดโทษส่งผลต่อสุขภาพของเด็กที่สูบ ได้แก่ ระบบทางเดินหายใจระคายเคือง ไอหอบ เหนื่อยง่าย เสี่ยงเป็นโรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง หลอดลมอักเสบ

อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้า

การได้รับนิโคตินในสตรีมีครรภ์ส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์

ระบบหลอดเลือดและหัวใจ ภาวะหลอดเลือดแข็ง จังหวะการเต้นของหัวใจผิดปกติ โรคหลอดเลือดหัวใจ

ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น ระบบประสาทและสมองเสื่อม เซลล์สมองถูกทำลาย ความจำลดลง เรียนหนังสือไม่รู้เรื่อง

เกิดแผลในกระเพาะ คลื่นไส้ อาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน

สารพิษจากควันบุหรี่อาจตกค้างตามเส้นผม ผิวหนัง เสื้อผ้า ซึ่งผู้ที่สัมผัสสารพิษที่ตกค้างจากควันบุหรี่หรือ “บุหรี่มือสอง” จะได้รับผลกระทบทางอ้อมต่อสุขภาพโดยไม่รู้ตัว

ผู้ที่อยู่รอบข้างคนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้าเมื่อสูดดมควันเข้าไป สารนิโคตินจะส่งผลในระยะยาวต่อพัฒนาการทางสมอง ระบบประสาท และหน่วยความจำ โดยเฉพาะในเด็กและวัยรุ่น

ไอระเหยจากบุหรี่ไฟฟ้าส่งผลให้จุลินทรีย์ในช่องปากเสียสมดุล จุลินทรีย์ดีลดลง เพิ่มจุลินทรีย์ร้ายที่ทำให้เกิดโรคในช่องปาก โรคปริทันต์ ส่งผลต่อการยึดติดของรากฟันเทียม การใส่ฟันปลอมถอดได้ และการจัดฟัน

แนวทางการป้องกันผลกระทบจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อบุตรหลาน

พ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นสอดส่องดูแล สังเกตพฤติกรรมการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของเด็ก เตือนถึงโทษภัยจากบุหรี่ไฟฟ้า เป็นแบบอย่างที่ดีให้บุตรหลานด้วยการไม่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้า ควรเข้มงวดให้บ้านและสถานศึกษาเป็นสถานที่ปลอดบุหรี่

ให้ความรู้กับเด็กเมื่อพบเห็นโฆษณาบุหรี่ไฟฟ้าทางสื่อประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ เพราะเด็กอาจเข้าใจผิดเกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อจากสื่อได้

ฝึกให้เด็กรู้จักคิด ตัดสินใจแยกแยะสิ่งที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ไม่ไปเกี่ยวข้องกับบุหรี่ไฟฟ้า ไม่คบกลุ่มเพื่อนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า ฯลฯ

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ อันตรายของบุหรี่ไฟฟ้าต่อเด็ก

ถาม
ตอบ

บุหรี่ไฟฟ้าเป็นแค่ไอน้ำจริงหรือ?

ไอระเหยของบุหรี่ไฟฟ้าไม่ใช่ไอน้ำ ทำให้ปอดของผู้สัมผัสสารเคมีอันตราย จำพวกฟอร์มาลดีไฮด์ โดอะซีติล อะโครลิน รวมถึงอนุภาคโลหะที่เป็นพิษ เช่น นิกเกิล ดีบุก และตะกั่ว

ถาม
ตอบ

บุหรี่ไฟฟ้าไม่มีนิโคตินจริงหรือ?

บุหรี่ไฟฟ้ามีปริมาณนิโคตินเท่ากับบุหรี่ทั่วไป 20 มวน เมื่อสูบบุหรี่ไฟฟ้าสารนิโคตินจะถูกส่งไปยังสมองภายใน 10 วินาที สมองของเด็กยังเติบโตไม่เต็มที่ จึงเสี่ยงต่อการเสพติดนิโคติน เมื่อเข้าสู่ร่างกายจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง เพิ่มความดันโลหิต เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด โรคทางเดินหายใจ มะเร็งช่องปาก หลอดอาหาร และตับอ่อน นอกจากนี้นิโคตินยังกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลเพิ่มขึ้น ทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น เป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน นิโคตินกระตุ้นให้จำนวนเซลล์ผนังหลอดเลือดเพิ่มขึ้น ทำให้เส้นเลือดตีบ เพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ และหลอดเลือดสมอง

ถาม
ตอบ

บุหรี่ไฟฟ้าผิดตามกฎหมายหรือไม่?

บุหรี่ไฟฟ้าถือเป็นสินค้าต้องห้าม บุคคลที่มีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความความผิดทั้งผู้นำเข้า ผู้ขาย และผู้เสพ กรณีเป็นผู้นำเข้ามีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือปรับเป็นเงิน 5 เท่าของสินค้าที่นำเข้า หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีจำหน่ายจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ส่วนกรณีผู้สูบหรือมีบุหรี่ไฟฟ้าไว้ในครอบครอง ถือว่ามีความผิดฐานครอบครองสิ่งนำเข้าผิดกฎหมาย ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับเป็นเงิน 4 เท่า หรือทั้งจำทั้งปรับ

แพทย์ผู้เขียนบทความ

หัตถการของศูนย์กุมารเวช