chat

ออทิสติกเทียม

‘ออทิสติกเทียม’ ไม่ได้เกิดจากพันธุกรรมหรือความผิดปกติของสมอง แต่เกิดจากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เด็กมีปัญหาด้านพัฒนาการ อาการของเด็กที่มีภาวะออทิสติกเทียมจะเริ่มสังเกตได้ชัดเจนในช่วงอายุ 2 ปี ทั้งนี้ ช่วง 5 ปีแรกของเด็ก เป็นช่วงวัยที่สมองมีพัฒนาการเต็มที่ หากไม่ได้รับการดูแลและแก้ไขที่ถูกต้องอาจทำให้เด็กผิดปกติไปในระยะยาวจนแก้ไขไม่ได้ ดังนั้น พ่อแม่ผู้ปกครองควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือเกิดความผิดปกติของลูกว่าอยู่ในภาวะออทิสติกเทียมหรือไม่ โดยสามารถเข้ามาขอรับคำปรึกษาจากจิตแพทย์และกุมารแพทย์และโรงพยาบาลยันฮีได้

ราคาค่ารักษาออทิสติกเทียม

‘ออทิสติกเทียม’ คืออะไร?

‘ออทิสติกแท้’ คืออะไร?

‘ออทิสติกแท้’ กับ ‘ออทิสติกเทียม’ ต่างกันอย่างไร?

แนวทางการป้องกันภาวะออทิสติกเทียม

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “ออทิสติกเทียม”

‘ออทิสติกเทียม’ คืออะไร?

‘ออทิสติกเทียม’

‘ออทิสติกเทียม’ เป็นภาวะที่เด็กขาดการกระตุ้นในการสื่อสาร 2 ทาง (Two-way Communication) ส่งผลให้เกิดความล่าช้าทางการสื่อสารและมีพัฒนาการทางสังคมที่ไม่ปกติ คือไม่พูดคุยหรือมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เกิดจากวิธีเลี้ยงดูของพ่อแม่หรือผู้ปกครองที่ขาดการสื่อสารหรือสร้างปฏิสัมพันธ์อย่างถูกต้อง เช่น ไม่พูดคุยหรือเล่นกับลูก ปล่อยให้เด็กดูโทรทัศน์ หรือเล่นอุปกรณ์สื่อสารมากเกินไป เข้าถึงเทคโนโลยีก่อนวัยอันควร เด็กจึงได้รับสารทางเดียว (One-way Communication) ส่งผลให้เกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการทางสังคมได้

สาเหตุของการเกิดภาวะออทิสติกเทียม

พ่อแม่ทำให้ลูกแทบทุกอย่าง โดยไม่ฝึกให้ลูกรู้จักช่วยเหลือตนเอง เช่น ทำการบ้าน หรือทักษะการแก้ปัญหาขั้นพื้นฐานในชีวิตประจำวัน

ใช้เทคโนโลยีในการเลี้ยงลูกมากจนเกินไป เข้าถึงอุปกรณ์การสื่อสารก่อนวัยอันควร

พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ค่อยมีเวลาสนทนา พูดคุยสร้างปฏิสัมพันธ์กับลูก

พ่อแม่ผู้ปกครองไม่ค่อยปล่อยให้ลูกได้ออกไปเล่นนอกบ้าน หรือมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนวัยเดียวกัน

ออทิสติกแท้ คืออะไร?

ออทิสติกแท้

ออทิสติก (Autism Spectrum Disorder) เป็นกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติทางสมอง ส่งผลให้เด็กเกิดพัฒนาการล่าช้า ไม่สามารถพัฒนาทักษะสังคมและภาษาได้เหมาะสมตามวัย มีลักษณะพฤติกรรมความสนใจเป็นแบบแผนซ้ำๆ มักแสดงให้เห็นความผิดปกติก่อนอายุ 3 ขวบ สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยทางพันธุกรรม ว่าร้อยละ 20 พบความผิดปกติที่ส่วนจำเพาะของโครโมโซมหรือยีน ทั้งยังพบอัตราการเป็นออ ทิสติกที่สูงขึ้นในพี่น้องฝาแฝด และพบว่าพ่อแม่ที่อายุมากมีความเสี่ยงสูงที่จะมีลูกเป็นออทิสติก ขณะที่ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อม อาจเกิดจากภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์

‘ออทิสติกแท้’ กับ ‘ออทิสติกเทียม’ ต่างกันอย่างไร?

ออทิสติกแท้ ประกอบด้วยปัญหาด้านพัฒนาการ 2 ด้าน ประกอบด้วย

พัฒนาการด้านการพูดและการสื่อสาร เช่น พูดช้าหรือไม่พูด พูดตามโดยไม่เข้าใจความหมาย ชอบพูดซ้ำไปมา ที่เรียกว่า ‘Echolalia’ ทำตามคำสั่งไม่ได้ เด็กจะหลีกเลี่ยงการสบตาเวลาพูดคุยด้วย

พัฒนาการด้านสังคม เช่น เด็กสนใจเพื่อนวัยเดียวกันน้อย ไม่สนใจคนรอบข้าง ไม่ค่อยมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เลี้ยงดูหรือคนอื่น เหมือนอยู่ในโลกของตนเอง สนใจสิ่งแวดล้อมน้อย ไม่สบตา เฉยเมย ไม่มีอารมณ์ร่วมเวลาคนอื่นดีใจหรือเสียใจ พฤติกรรมการกินและนอนผิดปกติ ชอบเล่นคนเดียว ไม่สนใจเล่นกับเพื่อน ไม่สามารถเล่นตามกฎกติกาได้ นอกจากนี้ สามารถพบอาการอื่นๆ เช่น สมาธิสั้น ซน อยู่ไม่นิ่ง ร้องไห้งอแงโดยไม่มีเหตุผล หรือมีพฤติกรรมรุนแรงเมื่อไม่ได้ในสิ่งที่ต้องการ เป็นต้น

แนวทางการป้องกันภาวะออทิสติกเทียม

งดใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์การสื่อสาร และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี

พ่อแม่ผู้ปกครองควรเล่นกับเด็กให้มากขึ้น พูดคุยโต้ตอบแบบสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) ฝึกให้เด็กมองหน้าสบตาเวลาพูดด้วยการเล่นบทบาทสมมติเพื่อช่วยพัฒนาทักษะสื่อสาร

เสริมสร้างทักษะด้วยการเล่นเพื่อเสริมพัฒนาการสมองและร่างกายตามวัย เช่น การต่อบล็อก ร้อยเชือก ระบายสี ปั้นแป้ง เตะบอล ขี่จักรยาน เป็นต้น

ราคารักษาออทิสติกเทียมที่โรงพยาบาลยันฮี

ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ ออทิสติกเทียม

ถาม
ตอบ

เลี้ยงลูกให้ติดจอด้วยสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต เสี่ยงเป็นออทิสติกเทียมด้วยหรือไม่?

การปล่อยให้ลูกใช้เวลาอยู่กับจอสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตตามลำพัง ทำให้เด็กมีความเสี่ยงต่อภาวะออทิสติกเทียมได้ เพราะมีการรับสารทางเดียว (One – Way Communication) ส่งผลให้เด็กเกิดความผิดปกติด้านพัฒนาการ ไม่มีการปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง

ถาม
ตอบ

เด็กในช่วงวัยต่าง ๆ มีจุดสังเกตพฤติกรรมเข้าข่ายออทิสติกเทียมอย่างไรบ้าง?

อายุ 6 เดือน ไม่ยิ้มหรือไม่แสดงอารมณ์เมื่อถูกกระตุ้นด้วยสิ่งเร้าทางอารมณ์ อายุ 9 เดือน ไม่ตอบสนองต่อการเรียกชื่อตัวเอง ไม่มีการส่งเสียง ยิ้ม แสดงสีหน้า หรือโต้ตอบไปมา อายุ 1 ขวบ ไม่หันหาเสียงเรียกชื่อ ไม่เล่นน้ำลาย และอายุ 1 ขวบครึ่ง ไม่เล่นแสดงบทบาทสมมติง่าย ๆ ไม่ใช้ภาษาพูดร่วมกับภาษาร่างกาย อายุ 2 ขวบ ไม่มีอารมณ์ร่วมกับสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นรอบตัว แม้ว่าผู้อื่นจะได้รับบาดเจ็บ หรือเศร้าเสียใจ อายุ 3 ขวบ ไม่สนใจเด็กคนอื่น ๆ เลย ไม่สนใจที่จะเข้าไปเล่นด้วย ไม่รวมกลุ่มด้วย ชอบเล่นคนเดียว เล่นกับเพื่อนคนอื่นไม่เป็น อายุ 4 ขวบ ไม่ยอมเล่นหรือเลียนแบบท่าทางใด ๆ ทั้งสิ้น ไม่ชอบที่จะเล่นบทบาทสมมุติต่าง ๆ

ถาม
ตอบ

โรคออทิสติกเทียมเป็นแล้วหายไหม?

ออทิสติกเทียมเกิดจากพฤติกรรมการเลี้ยงลูกผิดวิธี ไม่ได้เกิดจากโรคหรือความผิดปกติของสมอง จึงสามารถรักษาและกระตุ้นให้กลับมามีพัฒนาการเป็นปกติได้ หากรักษาทันท่วงที

หัตถการของศูนย์กุมารเวช