chat

หลอดลมอักเสบ

ในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกและอากาศชื้นเย็นแบบนี้ นอกเหนือจากโรคไข้หวัดใหญ่และไข้เลือดออกที่กำลังแพร่ระบาดแล้ว “หลอดลมอักเสบ” ถือเป็นอีกโรคหนึ่งที่เราไม่ควรมองข้ามและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพหลอดลมของตัวเอง เกิดจากการติดเชื้อไวรัส เช่น อะดิโนไวรัส (Adenovirus) ไรโนไวรัส (Rhinovirus) และเชื้อแบคทีเรีย เช่น ไมโคพลาสมา (Mycoplasma) หรือคลาไมเดีย (Chlamydia) ทำให้เยื่อบุหลอดลมเกิดการอักเสบบวม และมีเสมหะที่หลอดลม จนไอเรื้อรัง มีเสมหะ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก อาจมีอาการเจ็บคอ แสบคอ หรือเจ็บหน้าอกร่วมด้วย หากปล่อยไว้นานและรักษาไม่ถูกวิธีอาจทำให้กลายเป็นโรคปอดอักเสบและโรคถุงลมโป่งพองได้ สามารถพบผู้ติดเชื้อได้ทุกช่วงวัย

ราคารักษาโรคหลอดลมอักเสบ

โรคหลอดลมอักเสบมีกี่ประเภท?

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

การปฏิบัติตนหลังพบว่าป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “โรคหลอดลมอักเสบ”

โรคหลอดลมอักเสบมีกี่ประเภท?

โรคหลอดลมอักเสบสามารถจำแนกได้เป็น 2 ชนิด ประกอบด้วย

โรคหลอดลมอักเสบมีกี่ประเภท

โรคหลอดลมอักเสบชนิดเฉียบพลัน (Acute bronchitis) ส่วนใหญ่พบมากกว่าร้อยละ 90 ของผู้ป่วย หลอดลมอักเสบทั้งหมด เกิดจากเชื้อไวรัส มักปรากฏอาการหลังเป็นไข้หวัด ทำให้ติดเชื้อลุกลามลงไปถึงหลอดลม ผู้ป่วยที่เป็นหวัด มีอาการไอ มีเสมหะ ต่อเนื่องยาวนานกว่า 1 สัปดาห์อาจเป็นหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งมีอาการไม่เกิน 3 สัปดาห์

โรคหลอดลมอักเสบมีกี่ประเภท

โรคหลอดลมอักเสบชนิดเรื้อรัง (Chronic bronchitis) อาจเกิดจากโรคภูมิแพ้ โรคหืด รวมถึงการสูบบุหรี่ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ไอหรือมีเสมหะมากกว่า 3 เดือนถึง 2 ปี หรือสัมผัสกับมลภาวะทางอากาศจำพวกฝุ่นละอองหรือควัน ทำให้ผู้ป่วยเสี่ยงติดเชื้อแบคทีเรียได้ง่ายขึ้น ทำให้เสมหะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือเขียว

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

เมื่อเชื้อเข้าสู่ทางเดินหายใจหรือบริเวณหลอดลม ทำให้เยื่อบุหลอดลมอักเสบและบวมมากขึ้น ส่งผลให้หลอดลมตีบแคบ อากาศไหลเข้าสู่ปอดได้ไม่ดี หายใจลำบาก การขับเสมหะของเยื่อบุหลอดลมไม่ดี จนไอมากขึ้น ไอแห้งหรือไอมีเสมหะ คล้ายกับโรคหวัด ในรายที่เป็นโรคภูมิแพ้ของทางเดินหายใจอยู่เดิมอาจมีอาการไอนานเนื่องจากมีการหดเกร็งของหลอดลมร่วมอยู่ด้วย โดยส่วนใหญ่โรคนี้มักหายได้เองภายใน 7-10 วัน แต่อาการไอแห้งอาจเป็นได้นานติดต่อกันหลายสัปดาห์หรือเป็นเดือน มีทั้งเสมหะแบบไม่มีสี หรืออาจมีเสมหะสีเหลือง สีเขียว บางรายอาจมีเลือดปนอยู่ด้วย หากรักษาไม่ถูกวิธี

อาการของโรคหลอดลมอักเสบ

การติดเชื้อจากหลอดลมอาจลุกลามไปที่ปอดทำให้เกิดปอดอักเสบ (Pneumonia) หรือหลอดลมอักเสบเฉียบพลัน อาจกลายเป็นหลอดลมอักเสบเรื้อรังหรือโรคถุงลมโป่งพอง ทั้งนี้ ภาวะหลอดลมอักเสบ พบว่าร้อยละ 50 ไอนานกว่า 2 สัปดาห์ และร้อยละ 25 ไอนานกว่า 4 สัปดาห์ ผู้ที่มีหลอดลมอักเสบร่วมกับอาการสงสัยว่าหลอดลมตีบ เช่น หายใจไม่อิ่ม แน่นหน้าอก หายใจมีเสียงวี้ด เหนื่อยง่าย พบว่าสัมพันธ์กับการเป็นหอบหืด หรือถุงลมโป่งพองมากขึ้น จึงควรได้รับการตรวจสุขภาพปอด

การตรวจวินิจฉัยโรคหลอดลมอักเสบ

แพทย์จะตรวจร่างกายในเบื้องต้นพร้อมซักประวัติเกี่ยวกับปัจจัยกระตุ้นที่สัมพันธ์กับสารก่อภูมิแพ้ อาการไอเรื้อรัง รวมทั้งมลภาวะทางอากาศบริเวณที่พักอาศัยและที่ทำงานร่วมด้วย ร่วมกับตรวจระบบทางเดินหายใจส่วนบนและล่าง และอาจส่งตรวจเพิ่มเติม เช่น ส่งตรวจภาพถ่ายรังสีของโพรงไซนัสและปอด, ส่องกล้องตรวจระบบทางเดินหายใจ, ตรวจเสมหะ, ตรวจสมรรถภาพการทำงานของปอด เป็นต้น ด้านการรักษาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ รักษาตามสาเหตุโดยให้ยาปฏิชีวนะ และรักษาแบบประคับประคองอาการ เช่น ให้ยาละลายเสมหะ ยาแก้แพ้ และยาขยายหลอดลม เป็นต้น

การปฏิบัติตนหลังพบว่าป่วยเป็นโรคหลอดลมอักเสบ

นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน โดยเฉพาะน้ำอุ่นจะช่วยละลายเสมหะได้ดีที่สุด

หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ สูดดมฝุ่นละออง ควัน หรือสารเคมี

หลีกเลี่ยงอยู่ในอากาศเย็นและแห้ง เช่น ดื่มน้ำเย็น กินไอศกรีม อาบน้ำเย็น แช่น้ำนานๆ หรือใช้เครื่องปรับอากาศ และเปิดพัดลม เพราะอากาศเย็นสามารถทำให้ร่างกายอ่อนแอ ภูมิต้านทานลดลง กระตุ้นเยื่อบุหลอดลมให้อักเสบ ส่งผลให้ไอมากขึ้นได้

หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายลดน้อยลง เช่น ภาวะความเครียด, นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ, สัมผัสอากาศเย็น เป็นต้น

รักษาตามอาการ เช่น มีไข้ ให้รับประทานยาลดไข้ หากไอมากๆให้รับประทานยาแก้ไอ ถ้ามีเสมหะมาก ให้รับประทานยาละลายเสมหะ

ราคารักษาโรคหลอดลมอักเสบที่โรงพยาบาลยันฮี

การวินิจฉัยและพิจารณาภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้ชำนาญการเป็นรายกรณี

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “โรคหลอดลมอักเสบ”

ถาม
ตอบ

อาการไอแบบไหนหากสงสัยว่าอาจเป็นโรคหลอดลมอักเสบแล้วต้องไปพบแพทย์?

ไอติดต่อกันยาวนานกว่า 8 สัปดาห์, ไอแบบมีเสมหะมากหรือเสมหะจุกลำคอ, ไอรุนแรงในช่วงที่มีอากาศเย็นหรือเปียกชื้น เช่น ในช่วงฤดูหนาวหรือตอนฝนตกชุก, ไอแบบเสมหะมีเลือดปน, ไอร่วมกับอาการเหนื่อยหอบง่าย, ไอร่วมกับอาการเจ็บแน่นหน้าอก และไอร่วมกับภาวะน้ำหนักลดลงผิดปกติ

ถาม
ตอบ

มีแนวปฏิบัติเพื่อป้องกันไม่ให้เป็นโรคหลอดลมอักเสบอย่างไรบ้าง?

หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดหรือสัมผัสกับผู้ป่วย หลีกเลี่ยงมลภาวะทางอากาศจำพวกควันบุหรี่ ควันไฟ และสารก่อระคายเคืองต่างๆที่กระตุ้นให้เกิดอาการไอมากขึ้น และไม่ควรใช้ยากดอาการไอ

หัตถการของศูนย์อายุรกรรม

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม