การ สัก (TATTOO) ไม่ใช่เรื่องใหม่ในสังคมไทย คนไทยมีการสักลวดลายต่างๆ ลงบนผิวหนังมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยเป็นการ สัก เพื่อพิธีกรรมทางศาสนา ความเชื่อ ไสยศาสตร์ ฯลฯ ครั้นมาถึงปัจจุบันจุดประสงค์ของการสักได้เปลี่ยนแปลงไป เป็นการสักเพื่อความสวยงาม เช่น สักคิ้ว, สักขอบตา, สักปากชมพู ฯลฯ และการ สัก ยังได้กลายมาเป็นแฟชั่นยอดนิยมอีกอย่างหนึ่งในหมู่ดารานักแสดง กระทั่งคนทั่วไปทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน เราจะเห็นบุคคลเหล่านี้ สัก ลวดลายต่างๆ ลงบนผิวหนังกันจนเป็นเรื่องปกติ
อันที่จริงแล้วจุดประสงค์ของการสักไม่ใช่แค่เพื่อความสวยงาม หรือเป็นเทรนด์แฟชั่นอย่างที่เรา ๆ ท่าน ๆ คุ้นเคยกันเท่านั้น ปัจจุบันการสักยังนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาได้ด้วย โดยในทางการแพทย์แบ่งการสักออกเป็น 2 วิธี คือ
นอกจากนั้น ยังสามารถใช้ประโยชน์จากการ สัก ในบุคคลที่อาจมีความยากลำบากในการแต่งหน้า เช่น คนที่เป็นโรคข้อ หรือโรคที่ทำให้มือสั่น เคลื่อนไหวมือไม่สะดวก, คนที่แพ้เครื่องสำอาง, เป็นโรคภูมิแพ้ที่ทำให้น้ำตาไหลบ่อย ๆ หรือคนที่มีปัญหาด้านสายตา เช่น สายตาสั้น ใส่คอนแทคเลนส์ เป็นต้น ในกรณีอย่างนี้แพทย์อาจแนะนำให้ทำการสัก เช่น สักขอบตา สักคิ้ว หรือสักปากถาวรไปเลย ก็จะช่วยแก้ปัญหาได้เป็นอย่างดี
ทีนี้คงทราบแล้วว่า การ สัก มีประโยชน์มากกว่าที่คิด ใครจะสักเพื่อความสวยงาม หรือสักแก้ไขปัญหาของผิวหนังก็ทำได้ คนที่มาสักเพื่อความงามส่วนใหญ่มักเป็นการสักคิ้ว ปัจจุบันมี สักคิ้ว 3 มิติ สักคิ้ว 6 มิติ ให้เป็นทางเลือกด้วย ส่วนปัญหาของผิวหนังที่ทำให้คนไข้มาพบแพทย์บ่อย มักเป็นเรื่องของ รอยแผลเป็น ไม่ว่าจะเป็นแผลเป็นจากอุบัติเหตุ, แผลเป็นที่เกิดจากท่อไอเสีย หรือแผลเป็นจากการผ่าตัด อย่างไรก็ตาม แผลเป็นที่จะรักษาด้วยการสักได้ ต้องเป็นแผลเรียบ ไม่ลึก และขนาดไม่เกิน 10 ซม.
ส่วนใหญ่คนที่ต้องการ สัก มักเป็นกังวลเกี่ยวกับเรื่องของ “สีที่ใช้สัก” ใน 2 ประเด็นใหญ่ๆ คือ
สีที่ใช้สักจะมีความปลอดภัยหรือไม่
มาว่ากันเรื่องความปลอดภัยของสีที่ใช้ สัก ก่อน โดยทั่วไป สีที่ใช้สักจะมีหลายเกรด สำหรับโรงพยาบาลยันฮีจะเลือกใช้สีที่ได้มาตรฐาน โดยเป็นสีนำเข้าจากประเทศเยอรมันและสหรัฐอเมริกา ผ่านการรับรองว่าสามารถนำมาใช้กับร่างกายของมนุษย์ได้อย่างปลอดภัย ไม่มีสารที่ก่อปฏิกิริยาใดๆ ต่อร่างกาย จึงนับได้ว่ามีความปลอดภัยสูง แต่หากไปสักที่สถานพยาบาลอื่นแล้วไม่แน่ใจว่าสีที่ใช้สักได้มาตรฐานหรือไม่ ควรสอบถามแพทย์ที่ทำถึงมาตรฐานของสีที่ใช้, สีนำเข้าจากที่ไหน, ได้รับการรับรองจาก อย.หรือไม่ เป็นต้น
สักแล้วจะแพ้สีที่ใช้สักหรือไม่
ส่วน สัก แล้วมีโอกาสแพ้ได้หรือไม่ การแพ้สีที่สักเกิดขึ้นได้น้อยมากหากสักด้วยสีที่ได้มาตรฐาน จากสถิติพบว่าโอกาสที่จะแพ้มีเพียง 1 ใน 100,000 คน เท่านั้น สำหรับที่โรงพยาบาลยันฮี ยังไม่เคยพบคนที่แพ้สีเลยตลอดระยะเวลาที่ให้บริการกว่า 10 ปี ส่วนใหญ่คนที่แพ้สีที่สัก พบว่าแพ้จากการใช้สีที่ไม่ได้มาตรฐานซึ่งมักมีการผสมสารบางอย่างลงไปด้วย ทำให้เกิดอาการแพ้ได้
ถึงจะ สัก ด้วยสีที่ได้มาตรฐานซึ่งโอกาสแพ้ยากมาก แต่ฝากไว้เผื่อใครเกิดแพ้ขึ้นมา ลักษณะอาการแพ้ จะมีอาการบวม แดง คัน ตกสะเก็ดและลอก สุดท้ายสีที่สักมาจะไม่ติด หลุดลอกออกหมด หากต้องการมาสักซ้ำ ควรเข้ารับการทดสอบการแพ้สีก่อน วิธีทดสอบคือแพทย์จะแตะหรือจิ้มสีเล็กน้อยที่บริเวณหลังใบหู จากนั้นรอดูผลประมาณ 24 ชั่วโมง ถ้าไม่มีอาการบวม แดง นูน ขึ้นมาก็สามารถสักได้ ส่วนคนทั่วไปที่ต้องการสัก หากใช้สีที่ได้มาตรฐานก็ไม่จำเป็นต้องทดสอบการแพ้สีก่อนแต่อย่างใด เพราะโอกาสเกิดการแพ้น้อยมาก
พบแพทย์เพื่อซักประวัติสุขภาพและตรวจร่างกาย โดยเฉพาะตำแหน่งที่ต้องการจะ สัก จากนั้นแพทย์จะเลือกสีที่จะใช้สักให้เข้ากับสีผิว เพื่อให้หลังทำผลลัพธ์ที่ได้สวยงามใกล้เคียงสีผิวเดิมมากที่สุด
เมื่อผ่านพ้นขั้นตอนการ สัก สีลงบนผิวหนังแล้ว ควรปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ดี และไม่เกิดผลข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ อาทิ การอักเสบติดเชื้อ ดังนี้
หลีกเลี่ยงไม่ให้โดนน้ำประมาณ 3 วันหลังการสัก
ห้ามใช้สบู่ ครีมทำความสะอาดผิว (Cleansers) เครื่องสำอางใด ๆ ในบริเวณที่ทำการสัก และหลีกเลี่ยงการโดนแสงแดด การอาบน้ำร้อน หรืออบซาวน่า อย่างน้อย 3 วันหลังการสัก
ห้ามลงสระว่ายน้ำอย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากคลอรีนในสระจะทำให้สีที่สักไว้จางลงได้
รักษาความชุ่มชื้นบริเวณที่ทำโดยทายาที่แพทย์สั่ง วันละ 3 – 4 ครั้ง
ถ้าพบว่าบริเวณที่ทำมีสะเก็ด ห้ามแกะหรือลอกออกเด็ดขาด สะเก็ดจะลอกหลุดไปเองประมาณ 1 สัปดาห์
อาจรู้สึกแสบเล็กน้อยบริเวณที่สัก ส่วนอาการปวดพบน้อยมาก ถ้าปวดให้รับประทานยาแก้ปวดได้
สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ตามปกติ แต่ไม่ควรออกกำลังกายที่ต้องใช้กำลังมาก เช่น เต้นแอโรบิก ยกน้ำหนัก อย่างน้อย 3 วัน
ถ้าพบว่ามีอาการผิดปกติใด ๆ ให้รีบปรึกษาแพทย์ทันที
นอกจากนั้นยังมีข้อควรระวังเพิ่มเติมอีกเล็กน้อยสำหรับการสัก
1. ผู้ที่สักขอบตา คือในช่วง 2 สัปดาห์แรกหลังสักไม่ควรดัดขนตาหรือใช้มาสคาร่า เมื่อจะเริ่มใช้มาสคาร่าให้เปิดหลอดใหม่เพื่อป้องกันการติดเชื้อ, ในช่วง 2 วันแรก ควรสวมแว่นกันแดดเมื่อออกไปในบริเวณที่มีแดดจัด และงดใส่คอนแทคเลนส์
2. ผู้ที่สักขอบปากหรือริมฝีปาก ไม่ควรเลียริมฝีปากบ่อย ๆ เพราะน้ำลายอาจทำให้สีที่สักไว้จางลงได้, ในช่วง 7 วันหลังการสัก หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มร้อนหรือเย็นจัด เครื่องดื่มที่ผสมแอลกอฮอล์ เพราะอาจทำให้สีที่สักไว้หลุดออกได้
อีกหนึ่งข้อกังวลของคนที่เข้ารับการ สัก คือ กลัวเรื่องการติดเชื้อ เนื่องจากการสักทำให้ผิวหนังเปิด แม้ว่าแผลที่เปิดไม่ได้เป็นแผลใหญ่ เป็นเพียงแค่แผลถลอก ก็ยังเป็นช่องทางให้เชื้อโรคสามารถเข้าไปได้ ดังนั้น ถ้าจะทำให้โอกาสเกิดการติดเชื้อเหลือน้อยที่สุดจนแทบไม่มีเลย ก็ควรเลือกสักในโรงพยาบาลที่ได้มาตรฐาน อย่างที่โรงพยาบาลยันฮี ห้องที่ใช้สัก อุปกรณ์เครื่องมือต่างๆ จะสะอาด ปลอดเชื้อ เข็มสักใช้ครั้งเดียวทิ้ง สีที่ใช้สักจะใช้วิธีแบ่งจากขวดบรรจุใส่ลงในถ้วยที่สะอาดปลอดเชื้อ ไม่ได้จุ่มจากขวดโดยตรง เมื่อใช้เสร็จแล้วก็จะปิดฝาจนแน่นเพื่อไม่ให้สีสัมผัสกับอากาศหรือปนเปื้อน และถ้าหลังการสัก คุณปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และเลี่ยงไปอยู่ในสถานที่ที่มีเชื้อโรค ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อได้ แต่ถ้าไม่ดูแลตัวเอง เช่น สักริมฝีปาก แล้วยังไปรับประทานอาหารรสจัด ก็อาจเกิดการติดเชื้อได้ ส่วนใหญ่พบว่าถ้าสักในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน แล้วยังเกิดการอักเสบติดเชื้อ มักจะเกิดจากการดูแลตนเองไม่เหมาะสม
ส่วนอาการของการติดเชื้อก็ฝากเอาไว้สักนิด คือ จะเป็นหนอง มีน้ำเหลืองซึมออกมาจากตำแหน่งที่สัก ถ้ามีอาการดังกล่าวควรไปพบแพทย์ ส่วนใหญ่แพทย์จะให้รับประทานยาปฏิชีวนะ โดยปกติเมื่อเกิดการติดเชื้อ สีที่สักมาจะไม่ติด จะหลุดลอกออกหมด ถ้าหายแล้วต้องการสักซ้ำ สามารถกลับมาสักได้อีก
สุดท้ายอยากฝากไว้ว่า ไม่ว่าคุณจะสักด้วยวัตถุประสงค์ใด ผลลัพธ์ที่ต้องการก็คือให้คุณดูดีขึ้น สวยขึ้น ดังนั้น การเลือกสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะการเกิดผลลัพธ์ที่ไม่พึงประสงค์แล้วต้องมาตามแก้ไขกันภายหลังนั้นเป็นเรื่องที่ยุ่งยากอย่างยิ่งค่ะ
รอยสักบนร่างกายสามารถลบได้ด้วยวิธีการใดบ้าง
การลบรอยสักทำได้หลายวิธี ตั้งแต่การกรอผิวบางส่วนออก การตัดบริเวณที่สักออก การสักสีเนื้อทับ แต่วิธีที่ได้รับการยอมรับและนิยมมากที่สุด คือ การลบรอยสักด้วยเลเซอร์ หลักการใช้เลเซอร์ลบรอยสักคือ แสงเลเซอร์จะเข้าไปแตกเม็ดสีที่อยู่ใต้ผิวหนังให้มีขนาดเล็กลง เมื่อเม็ดสีมีขนาดเล็กลงแล้ว ร่างกายจะมีเซลล์ที่สามารถกินเม็ดสีเหล่านี้และไปกำจัดออกทางระบบต่อมน้ำเหลืองได้ การลบรอยสักด้วยเลเซอร์เป็นวิธีที่ปลอดภัยโดยแสงเลเซอร์จะไม่ทำลายชั้นผิวหนัง ดังนั้นจึงไม่ทำให้เกิดแผลเป็น
ใช้เวลาการลบนานแค่ไหน รอยสักถึงจะหายไป
การลบรอยสักจะใช้เวลานานเท่าใดขึ้นอยู่กับปริมาณสี ชนิดของสีที่สัก ความลึกของการสัก และปฏิกิริยาตอบสนองของร่างกายผู้ป่วยเอง บางคนยิงเลเซอร์เพียงครั้งเดียวก็จางได้ เช่น คนที่สักด้วยสีดำสีเดียว จะลบได้ง่ายที่สุดเพราะสีดำจะดูดซึมแสงเลเซอร์ได้เกือบทุกชนิดและดูดได้มากที่สุด แต่บางคนอาจต้องกลับมาทำซ้ำๆ หลายครั้งจึงจะเห็นผล เช่น รอยสักที่มีสีหลากหลายก็อาจต้องยิงเลเซอร์หลายครั้ง อาจต้องกลับมาทำซ้ำประมาณ 5 – 6 ครั้งกว่าจะจางหมด โดยทำห่างกันทุก 1-2 เดือน ซึ่งจำนวนครั้งในการทำเลเซอร์แพทย์จะเป็นผู้ประเมินให้ทราบ ส่วนเลเซอร์จะสามารถลบรอยสักออกได้ 100% หรือไม่ ก็ขึ้นกับปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้น แต่ถ้ารักษาให้ครบตามแผนการรักษาของแพทย์ รอยสักมักจะจางลงเรื่อยๆ ได้มากถึง 95%
ถ้ารอยสักมีหลาย ๆ สี สามารถลบได้หรือไม่
สามารถมาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อลบรอยสักด้วยเลเซอร์ได้ โดยแพทย์จะตรวจผิวหนังบริเวณรอยสัก ประเมินลักษณะสี เพื่อเลือกชนิดของเลเซอร์ที่เหมาะสมสำหรับการลบรอยสักนั้นๆ เพราะรอยสักแต่ละสีต้องใช้เลเซอร์ต่างชนิดกันในการลบ และแพทย์จะประเมินจำนวนครั้งในการรักษาให้ทราบด้วย การลบรอยสักที่มีหลายๆ สีอาจต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะจางลงจนหมด จึงอย่าใจร้อน การลบรอยสักโดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะมีความปลอดภัย และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน หรือแผลเป็นตามมา
อันตรายจากการลบรอยสัก มีอะไรบ้าง
การลบรอยสักจะมีอันตรายหรือไม่ขึ้นกับวิธีที่ใช้ในการลบรอยสัก ในกรณีที่ลบรอยสักโดยแพทย์ผู้ชำนาญการจะมีความปลอดภัย โดยแพทย์มักจะเลือกใช้วิธีมาตรฐานอย่างการลบรอยสักด้วยเลเซอร์ ซึ่งเลเซอร์ที่ใช้จะเป็นเลเซอร์สำหรับใช้ลบรอยสักโดยเฉพาะ และแพทย์จะยิงแสงเลเซอร์ในขนาดที่พอเหมาะ, จำนวนครั้งในการทำเหมาะสมที่ทำให้รอยสักจางลงได้โดยไม่เกิดผลแทรกซ้อนตามมา แต่ในกรณีที่ไปลบรอยสักโดยใช้น้ำยาลอกลายที่เป็นกรดเพื่อกัดผิวหนังบริเวณที่สักให้หลุดออกไป เป็นวิธีที่มีอันตรายและไม่แนะนำให้ทำ เพราะน้ำกรดจะมีฤทธิ์กัดกร่อนค่อนข้างแรง ถ้ารอยสักมีขนาดใหญ่หรือเป็นบริเวณกว้าง ทำไปแล้วไม่ได้รับการดูแลแผลอย่างดีมีโอกาสจะเกิดการติดเชื้อได้ และเมื่อแผลหายแล้วมีโอกาสเป็นแผลเป็นนูน หรือคีลอยด์ ซึ่งไม่สามารถรักษาให้หายได้
ถ้าเกิดแผลเป็นจากการลบรอยสัก ควรทำอย่างไร
ในกรณีไปลบมาแล้วเกิดเป็นแผลเป็นนูน หรือ คีลอยด์ ให้ปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการ ซึ่งการรักษาสามารถทำได้หลายวิธี อาทิ การฉีดยาเพื่อให้ยุบ, การใช้เลเซอร์รักษา เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การรักษาไม่สามารถทำให้ผิวหนังกลับมาเรียบหรือสีเหมือนปกติดังเดิมได้ 100% ดังนั้น ท่านที่คิดจะไปลบรอยสักด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง อย่างเช่น การใช้น้ำยาลอกลายที่เป็นกรด ควรจะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนเพราะมีโอกาสเกิดผลแทรกซ้อนอย่างแผลเป็นนูน หรือ คีลอยด์ ตามมา
เราสามารถใช้น้ำยาลบรอยสักที่มีขายในท้องตลาดลบได้หรือไม่
ไม่แนะนำให้ทำค่ะ โดยปกติน้ำยาลอกลายไม่อนุญาตให้มีการนำมาใช้ เนื่องจากทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้มาก ซึ่งส่วนใหญ่น้ำยาลอกลายจะเป็นกรดที่มีฤทธิ์กัดกร่อนแรง กินถึงขั้นหนังแท้ คือลงไปค่อนข้างลึก ทำให้เกิดแผลเป็นถาวรได้ โดยเฉพาะการลบรอยสักในบางตำแหน่งมีโอกาสเป็นแผลเป็นได้ง่าย เช่น บริเวณหน้าอก หัวไหล่ และกลางหลัง ที่มีโอกาสเป็นแผลเป็นนูนได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น ทางที่ดีที่สุดควรมาปรึกษาแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อลบรอยสักด้วยวิธีมาตรฐานอย่างการลบด้วยเลเซอร์ดีกว่าค่ะ
สักคิ้วถาวร ( 2 ครั้ง )
5,000 บาท
สักคิ้ว 3 มิติ แบบสไลด์คิ้ว ( 2 ครั้ง )
6,000 บาท
สักขอบตาถาวร บน-ล่าง ( 1 ครั้ง )
5,000 บาท
สักริมฝีปากสีชมพู ( 2 ครั้ง )
10,000 บาท
สักขอบริมฝีปาก บน-ล่าง ( 1 ครั้ง )
5,000 บาท
สักหัวนม และปานนมสีชมพู ( 2 ครั้ง )
10,000 บาท
สักปิดด่างขาว, แผลเป็น, ไฟไหม้, น้ำร้อนลวก และปกปิดสีผิวที่ผิดปรกติ ต่อตารางเซนติเมตร ( 2 ครั้ง )
2,000 บาท
สักไรผม / ตารางเซนติเมตร ( 1 ครั้ง )
800 บาท
ลบรอยสัก, แก้ไขรอยสัก ต่อตารางเซนติเมตร ( 1 ครั้ง )
1,500 บาท