โรคด่างขาว คืออะไร
โรคด่างขาว (Vitiligo) เป็นโรคที่เกิดความผิดปกติกับเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างเม็ดสีผิว (Melanocyte) โดยเซลล์ดังกล่าวอาจถูกทำลายหรือหยุดการสร้างเม็ดสีผิว (Melanin) โดยไม่ทราบสาเหตุ ทำให้เกิดเป็นรอยโรคสีขาวบนผิวหนัง มีขอบเขตชัดเจน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกสภาพผิว แต่คนที่มีผิวสีเข้มจะเห็นได้เด่นชัดกว่า
รอยโรคสามารถเกิดขึ้นในบริเวณใดก็ได้บนร่างกาย โดยตำแหน่งที่พบบ่อย ได้แก่ ใบหน้า รอบปาก รอบดวงตา ลำคอ มือ ปลายนิ้ว แขน ขา ปลายเท้า และตำแหน่งที่มีการเคลื่อนไหวมาก ได้แก่ ข้อพับ รักแร้ ข้อมือ หลังมือ ขาหนีบ เข่า นอกจากนี้ ยังพบรอยด่างได้ตามเยื่อเมือกบุในอวัยวะต่างๆ เช่น ช่องปาก เหงือก อวัยวะเพศ หัวนม หนังศีรษะ เป็นต้น หากรอยโรคเกิดบนตำแหน่งที่มีขน จะทำให้ผมและขนบริเวณนั้นเป็นสีขาวไปด้วย เป็นโรคที่ลุกลามหรือขยายขนาดกว้างได้ และเกิดเพิ่มในบริเวณอื่นๆ ได้ มักกระจายเท่ากันทั้งสองข้าง ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะเกิดมากหรือน้อยเพียงใด และเกิดเมื่อไหร่
โรคด่างขาวพบได้ในทุกเชื้อชาติ ทุกเพศ ทุกวัย มักพบรอยโรคในช่วงเด็กหรือวัยรุ่น โดยเฉลี่ยเริ่มพบรอยโรคเมื่ออายุประมาณ 20 ปี พบอุบัติการณ์ประมาณ 1-2 % ของประชากรทั่วโลก แต่อาจพบมากขึ้นกรณีผู้ป่วยเป็นโรคภูมิต้านตนเอง โรคเลือด โรคโลหิตจาง โรคของต่อมไทรอยด์ โรคต่อมหมวกไต โรคเบาหวาน และโรคผมร่วง ร่วมด้วย โรคด่างขาวไม่เป็นอันตรายและไม่ใช่โรคติดต่อ โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคด่างขาวมักจะมีสุขภาพปกติดี ยกเว้นผู้ป่วยที่มีโอกาสเกิดมะเร็งผิวหนังสูงบริเวณรอยโรคหากได้รับแสงแดดเป็นจำนวนมาก โรคด่างขาวส่งผลกระทบกับสภาพจิตใจของผู้ที่เป็นโรคนี้ ทำให้ขาดความมั่นใจ ใช้ชีวิตในสังคมได้ลำบาก บางรายอาจถูกล้อเลียนจนไม่กล้าออกไปพบใคร ทำให้ไม่มีความสุขในการดำเนินชีวิต
อาการแสดงของโรคด่างขาว
การเกิดรอยโรคด่างขาว มักเกิดขึ้นบนผิวหนังโดยไม่มีผื่นคันนำมาก่อน สีผิวจะเริ่มซีดและค่อยๆ เปลี่ยนไปจนกลายเป็นรอยด่างขาว ส่วนผิวหนังข้างเคียงเป็นปกติทุกอย่าง ลักษณะผิวหนังบริเวณรอยโรคอาจเรียบหรือไม่เรียบก็ได้ ในบางรายอาจมีผิวแดง อักเสบ มีสีผิวเข้มขึ้น หรือมีอาการคันร่วมด้วย รูปร่างของรอยขาวอาจเป็นวงกลม วงรี หรือเป็นเส้นยาว มีขนาดตั้งแต่เล็กถึงใหญ่ อาจเกิดขึ้นเพียงวงเดียว หรือหลายๆ วงกระจายทั่วทั้งตัว อาการร่วมของโรคด่างขาว อาจเกิดร่วมกับความผิดปกติของอวัยวะอื่นๆ เช่น ดวงตา ผู้ป่วยอาจมีอาการม่านตาอักเสบร่วมด้วย, โรคภูมิต้านตนเอง โรคของต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวาน โรคเลือด และโรคผมร่วงเป็นหย่อม ซึ่งมักพบกับโรคด่างขาวที่รอยโรคเกิดกระจัดกระจายเป็นหย่อมๆ และโรคด่างขาวทีเป็นกรรมพันธุ์ และโรคทางหู ผู้ป่วยโรคด่างขาวอาจพบความผิดปกติทางการได้ยินได้
การรักษาโรคด่างขาว
เนื่องจากไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค โรคด่างขาวจึงไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่จุดประสงค์ของการรักษาคือการประคับประคองอาการหรือทำให้รอยด่างขาวที่ปรากฏดูดีขึ้น โดยวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับอาการและความต้องการของผู้ป่วย การรักษาในแต่ละวิธีมีผลข้างเคียงและผู้ป่วยมีการตอบสนองที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งอาจต้องใช้หลายวิธีร่วมกัน วิธีการรักษาโรคด่างขาวในปัจจุบัน มีดังนี้
สัก…รักษาโรคด่างขาวได้อย่างไร
การสัก เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของการรักษาโรคด่างขาว และสามารถใช้รักษาร่วมกับการบำบัดอื่นๆ ได้ โดยขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ วิธีการรักษาโดยการสักจะถูกใช้เมื่อการรักษาด้วยการบำบัดและการใช้ยาไม่เป็นผล ใช้ในผู้ป่วยที่ไม่ลุกลามหรือขยายขนาดแล้ว รอยด่างขาวมีขนาดเล็ก เป็นจุดกระจาย ไม่เกิดเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งจุดประสงค์ในการสักรักษาคือ เพื่อทำให้สีผิวมีความสม่ำเสมอโดยการใช้สีจากภายนอกที่ใกล้เคียงกับสีผิวผู้ป่วย กลบสีขาวของรอยโรคเพื่อปกปิด ทำให้ผิวหนังในตำแหน่งที่เป็นรอยโรคกลมกลืนไปกับผิวหนังบริเวณรอบๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
การเตรียมตัวก่อนการสักรักษาโรคด่างขาว
ขั้นตอนการสักรักษาโรคด่างขาว
1. เมื่อมาพบแพทย์ แพทย์จะทำการซักประวัติ สอบถามถึงระยะเวลาที่เป็นโรคด่างขาวว่าเป็นมานานหรือยัง โรคยังลุกลามหรือสงบแล้ว ถ้าโรคยังลุกลามแพทย์จะยังไม่พิจารณาสักให้ เนื่องจากสักไปแล้วอาจทำให้โรคลุกลามมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ผู้ป่วยโรคด่างขาวที่สามารถสักรักษาได้คือโรคต้องสงบแล้ว
2. เคยรักษาวิธีไหนมาบ้าง โดยส่วนใหญ่หากยังไม่เคยรักษาด้วยวิธีไหนมาก่อนเลย แพทย์จะแนะนำให้รักษาด้วยวิธีอื่นก่อน เช่น รักษาด้วยยา ฉายแสง เป็นต้น เมื่อรักษาจนกระทั่งถึงจุดหนึ่งแล้ว เหลือรอยโรคอยู่เพียงเล็กน้อย เป็นบริเวณเล็กๆ จึงค่อยนำการสักมาช่วยรักษา
3. เมื่อซักประวัติและสอบถามผู้ป่วยเสร็จแล้ว แพทย์จะตรวจร่างกาย ตรวจดูลักษณะด่างขาว สำหรับโรคด่างขาวที่สักรักษาแล้วได้ผลดี คือ มีขนาดเล็ก เป็นจุดกระจาย ไม่เกิดเป็นบริเวณกว้าง หากผู้ป่วยเป็นมาก อาจรักษาด้วยวิธีอื่นก่อน จนกระทั่งรอยโรคเหลือเล็กลง จึงค่อยนำการสักมาช่วยรักษา
4. พิจารณาถึงตำแหน่งที่เกิดรอยโรค เป็นตำแหน่งที่สักได้หรือไม่ การสักนั้นสามารถสักได้ทั่วร่างกาย แต่มีบางตำแหน่งที่ทำแล้วไม่ค่อยได้ผลดี สีไม่ค่อยติด คือ บริเวณมือและเท้า โดยเฉพาะนิ้วมือและนิ้วเท้า เพราะเป็นตำแหน่งที่ผิวหนังหนาและมีการขยับ เคลื่อนไหวตลอดเวลา ทำให้สีเซ็ตตัวยาก เมื่อเทียบกับการสักที่ใบหน้าและลำตัวซึ่งได้ผลดีกว่า
5. เมื่อประเมินเสร็จแล้ว แพทย์จะดูสีผิว ผสมสีสำหรับสัก และเทียบสีให้ใกล้เคียงกับสีผิวของผู้ป่วยมากที่สุด จากนั้นทายาชาและทำการสัก เวลาที่ใช้ในการสักขึ้นอยู่กับบริเวณและตำแหน่งที่ทำ
6. เมื่อสักไปแล้วในครั้งแรกสีที่ได้อาจไม่เหมือนสีผิวของคนไข้ทั้งหมด เนื่องจากผิวหนังของแต่ละคนมีข้อจำกัดในการรับสีไม่เหมือนกัน ดังนั้น หลังจากสักไปแล้ว 2 เดือน แพทย์จะนัดกลับมาดูสีและพิจารณาสักซ้ำ โดยส่วนใหญ่สักรักษาโรคด่างขาวทำประมาณ 2-4 ครั้ง ทั้งนี้ ผิวหนังจะรับสีได้ดีที่สุด 2-3 ครั้งแรกเท่านั้น การสักรักษาโรคด่างขาว ผลการรักษาอยู่ได้ประมาณ 2-3 ปี จากนั้นต้องกลับมาดูและพิจารณาสักเพิ่มเติม
ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นหลังสักรักษาโรคด่างขาว
ข้อควรปฏิบัติหลังการสักรักษาโรคด่างขาว
เนื่องจากโรคด่างขาวเป็นโรคที่เกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ ดังนั้น การรักษาโรคด่างขาวจึงเป็นการรักษาที่ปลายเหตุ อย่างไรก็ตาม วิธีการบำบัดรักษาต่างๆ จะช่วยทำให้รอยด่างขาวที่ปรากฏดูดีขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่เป็นด่างขาวบริเวณใบหน้า แม้ว่าการสักอาจจะไม่ทำให้สีผิวกลับมาเหมือนผิวหนังปกติ 100% แต่ก็ช่วยให้แต่งหน้าได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยโรคด่างขาวมีสภาพจิตใจที่ดีขึ้น มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น กล้าออกไปพบปะผู้คน และใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ศัลยกรรมตกแต่งและความงามยอดนิยม