chat

ยันฮีแพทย์แผนจีน

ยันฮี-แพทย์แผนจีน

ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมีประวัติสืบทอดมายาวนานกว่า 5,000 ปี ถึงปัจจุบันพบว่าความนิยมได้แพร่หลายไปในหลายประเทศทั่วโลกรวมถึงในประเทศไทย โดยองค์การอนามัยโลกหรือ WHO ได้ให้การยอมรับศาสตร์การแพทย์แผนจีนเป็นทางเลือกหนึ่งในการบำบัดโรคควบคู่ไปกับการแพทย์แผนปัจจุบัน

หลักการของแพทย์แผนจีน

เน้น “การปรับสมดุล” ของร่างกายเป็นหลัก ศาสตร์แพทย์แผนจีนเชื่อว่า การที่ร่างกายของคนเราเกิดโรคหรืออาการเจ็บป่วยขึ้นนั้นเป็นเพราะร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุล ดังนั้นหากสามารถทำให้ร่างกายกลับคืนสู่ภาวะสมดุลได้ ร่างกายก็จะกลับมาแข็งแรงจนสามารถกำจัดโรคได้ด้วยตนเอง โรคหรืออาการผิดปกติต่างๆ ก็จะหายไป

การบำบัดโรคตามศาสตร์แพทย์แผนจีนเพื่อให้ร่างกายคืนสู่สมดุลนั้นมีหลายวิธี อาทิ การฝังเข็ม, รมยา, ครอบแก้ว, การนวดทุยหนา,กวาซา,การใช้ยาสมุนไพรจีน เป็นต้น ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้วิธีใด อาจใช้วิธีเดียวหรือผสมผสานหลายๆ วิธี  ก็ขึ้นกับโรคหรืออาการที่ผู้ป่วยเป็น

โรคใดบ้างที่สามารถรักษาด้วยการแพทย์แผนจีน

การแพทย์แผนจีนสามารถรักษาได้เกือบทุกโรค เพราะการรักษาแบบแพทย์แผนจีนจะมุ่งสร้างสมดุลให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงจนสามารถเยียวยาตนเองได้ ดังนั้นท่านที่มีปัญหาสุขภาพไม่ว่าจะเป็นอาการผิดปกติที่ระบบใด สามารถปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีนได้ ขอยกตัวอย่างโรคหรืออาการต่างๆ พอสังเขปดังนี้

  • อาการปวดบริเวณต่างๆ ของร่างกาย อาทิ กล้ามเนื้ออักเสบ ปวดเส้น สะบักจม ปวดต้นคอบ่าไหล่ ปวดหลัง ปวดเอวร้าวลงขา หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ปวดเข่า ข้อเข่าเสื่อม ปวดฝ่าเท้า (โรครองช้ำ) ปวดข้อไหล่ ไหล่ติด ปวดข้อศอก โรคไขข้ออักเสบ
  • โรคที่เกี่ยวกับระบบการสืบพันธุ์ของสตรี อาทิ ปวดประจำเดือน รอบเดือนมาไม่ปกติ มีบุตรยาก อาการวัยทอง
  • โรคเกี่ยวกับระบบลำไส้
  • เบาหวาน ความดันโลหิตสูง
  • ปวดศีรษะ ไมเกรน ภูมิแพ้
  • โรคซึมเศร้า โรคเกี่ยวกับความเครียด คิดมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ
  • โรคเกี่ยวกับระบบประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดตีบ
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง ฯลฯ

เมื่อผู้ป่วยมาพบแพทย์ด้วยโรคหรืออาการต่างๆ ก่อนที่แพทย์จะทำการบำบัดรักษา แพทย์จะต้องทำการตรวจวินิจฉัยตามหลักแพทย์แผนจีนก่อน

การวินิจฉัยโรคตามหลักแพทย์แผนจีน มีแนวทางดังต่อไปนี้

  • การดู สังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้นภายนอก เช่น ดูลิ้น สีหน้า ท่าทาง ลักษณะการนั่ง ยืน เดิน เป็นต้น
  • การฟัง ฟังเสียงพูด เสียงไอ เสียงลมหายใจ
  • ดมกลิ่น ดมกลิ่นปาก กลิ่นตัว กลิ่นอุจจาระ และกลิ่นปัสสาวะของผู้ป่วย
  • การถาม ถามถึงอาการที่ผู้ป่วยรู้สึกไม่สบาย ประวัติชีวิตความเป็นอยู่ ประวัติครอบครัว เป็นต้น
  • การแมะ (จับชีพจร) แพทย์จะใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง สัมผัสที่ข้อมือของคนไข้ทั้งสองข้าง ซึ่งข้อมือแต่ละข้างจะสะท้อนถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะภายในที่แตกต่างกัน การแมะจะช่วยให้แพทย์ทราบว่ามีอวัยวะใดในร่างกายที่ทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ถ้ามีแสดงว่าร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุลขึ้นแล้ว

เมื่อได้ข้อมูลจากการตรวจวินิจฉัย แพทย์จะวิเคราะห์ว่าอาการของผู้ป่วยจัดอยู่ในกลุ่มใด หรือเป็นโรคใด จากนั้นจึงจะดำเนินการรักษาตามศาสตร์แพทย์แผนจีนต่อไป

การบำบัดโรคตามศาสตร์แพทย์แผนจีน 

การบำบัดโรคตามหลักแพทย์แผนจีนมีด้วยกันหลายวิธี แต่ละวิธีก็จะมีจุดเด่นจุดด้อยต่างกันไป ในการรักษาแพทย์อาจใช้วิธีใดวิธีหนึ่ง แต่บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาว่าจำเป็นต้องใช้การรักษาร่วมอื่น ๆ เข้ามาช่วย ขึ้นอยู่กับโรคหรืออาการที่ผู้ป่วยเป็น ส่วนระยะเวลาในการรักษาขึ้นกับอาการของโรคว่าเป็นมากหรือน้อยเพียงใด สำหรับการรักษาตามหลักแพทย์แผนจีน อาทิ

การฝังเข็ม ทั่วร่างกายของคนเรามีเส้นลมปราณ ซึ่งมีลมปราณไหลเวียนอยู่ตลอดเวลา หากมีการติดขัดที่จุดใดทำให้ลมปราณไหลเวียนไม่สะดวก จะส่งผลให้เกิดอาการของโรคขึ้นได้ การรักษาด้วยการฝังเข็ม แพทย์จะใช้เข็มฝังไปที่จุดฝังเข็มบนเส้นลมปราณ เพื่อทำให้ลมปราณกลับมาไหลเวียนตามปกติ ทำให้อาการผิดปกติหรือโรคที่เป็นดีขึ้น

ครอบแก้ว แพทย์จะครอบแก้วไปตรงตำแหน่งรอยโรค เช่น บริเวณหลัง ซึ่งความร้อนภายในแก้วจะทำให้รูขุมขนในบริเวณดังกล่าวเปิดออก และเกิดการแลกเปลี่ยนความร้อนกับความชื้นและความเย็นภายในผิว ส่งผลให้เลือดลมภายในไหลเวียนได้สะดวกมากขึ้น

กวาซา เป็นการขูดพิษออกจากร่างกายโดยใช้แผ่นกวาซา ซึ่งการทำการกวาซาจะมีทั้งการขูดเพื่อบำรุงร่างกายเเละขูดเพื่อระบายพิษออก

การใช้ยาสมุนไพรจีน ยาจะเข้าไปรักษาเเละบำรุงร่างกาย ช่วยขับของเสีย ขับพิษ ทำให้เลือดลมเดินตามปกติระบบเลือดเเละระบบประสาททำงานได้ตามปกติ โดยแพทย์จะจ่ายเป็นยาเม็ดหรือยาลูกกลอนเม็ดเล็กๆ หรือบางรายอาจจ่ายเป็นยาห่อให้ไปต้มทานเองที่บ้าน อย่างไรก็ตาม ทางยันฮีแพทย์แผนจีน มีบริการต้มยาจีนตามที่ผู้ป่วยต้องการด้วยระบบการต้มยาที่ทันสมัยเเละได้มาตรฐาน

 

แพทย์แผนจีน สามารถรักษาโรคอะไรได้บ้าง
การแพทย์แผนจีนสามารถรักษาได้เกือบทุกโรค เพราะการรักษาแบบแพทย์แผนจีนจะมุ่งสร้างสมดุลให้กับร่างกาย ทำให้ร่างกายแข็งแรงจนสามารถเยียวยาตนเองได้ ตัวอย่างโรคหรืออาการต่างๆ ที่รักษาได้ด้วยแพทย์แผนจีน อาทิ โรคเกี่ยวกับระบบลำไส้ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง อาการปวดศีรษะ ไมเกรน ภูมิแพ้ โรคซึมเศร้า โรคเกี่ยวกับความเครียด คิดมาก วิตกกังวล นอนไม่หลับ โรคเกี่ยวกับระบบประสาท อัมพฤกษ์ อัมพาต เส้นเลือดตีบ อ่อนเพลียเรื้อรัง เป็นต้น
—————————————————-
การแพทย์แผนจีนนอกจากวิธีการฝังเข็มมีวิธีการรักษาอื่นหรือไม่
• การแมะ
• ครอบแก้ว
• กวาซา
• ใช้ยาสมุนไพร
—————————————————-
การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน ต้องใช้หลายวิธีหรือไม่
ในการรักษาแพทย์อาจจะใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง หรือใช้หลายๆ วิธีผสมผสานกันไป ขึ้นอยู่กับอาการและโรคของแต่ละท่าน
—————————————————-
การรักษาด้วยแพทย์แผนจีน ต้องใช้ระยะเวลาในการรักษาอย่างไร
ระยะเวลาในการรักษาขึ้นกับอาการของโรคว่าเป็นมากหรือน้อยเพียงใด
—————————————————-
การแมะคืออะไร
คือการจับชีพจร โดยแพทย์จะใช้นิ้วชี้ นิ้วกลาง นิ้วนาง สัมผัสที่ข้อมือของคนไข้ทั้งสองข้าง ซึ่งข้อมือแต่ละข้างจะสะท้อนถึงความผิดปกติของระบบอวัยวะภายในที่แตกต่างกัน การแมะจะทำให้ทราบว่ามีอวัยวะใดในร่างกายที่ทำงานมากเกินไปหรือน้อยเกินไป ถ้ามีแสดงว่าร่างกายเกิดภาวะเสียสมดุลขึ้นแล้ว ซึ่งข้อมูลจากการตรวจวินิจฉัยนี้แพทย์จะวิเคราะห์ได้ว่าอาการของผู้ป่วยจัดอยู่ในกลุ่มใด หรือเป็นโรคใด
—————————————————-
ยาสมุนไพรจีนมีสเตียรอยด์หรือไม่ ทานเป็นระยะเวลานานๆ จะมีผลต่อสุขภาพหรือไม่
ยาสมุนไพรจีนไม่มีสเตียรอยด์ สามารถรับประทานเป็นเวลานานได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อร่ายกาย แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในความควบคุมของแพทย์แผนจีนเท่านั้น
—————————————————-
รักษาด้วยแพทย์แผนจีนเพียงอย่างเดียว ไม่ต้องรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันได้หรือไม่
ได้ แต่ในบางโรคหรือบางอาการที่ผู้ป่วยเป็น แพทย์อาจพิจารณาเห็นว่าการรักษาร่วมกับแพทย์แผนปัจจุบันจะได้ผลดียิ่งขึ้น ก็จะแนะนำให้ผู้ป่วยรักษาควบคู่กันไป
—————————————————-

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
ค่าแมะ 400 บาท
ฝังเข็ม (แพทย์แผนจีน) 1,000 บาท
รมยา / ต่อครั้ง 450 บาท
อบความร้อนด้วยโคม (ชม.) 260 บาท
ครอบแก้ว (ส่วน) 570 บาท
กวาซา (ส่วน) 520 บาท
ปล่อยเลือด (จุด) 260 บาท
ค่าต้มยาสมุนไพรจีนพร้อมบรรจุซอง (ต่อซอง) 15 บาท
ค่าปรุงยา (บด/ผัด/ผสม) สมุนไพร พร้อมบรรจุซอง 300 บาท
การรักษา
ค่าแมะ
400 บาท
ฝังเข็ม (แพทย์แผนจีน)
1,000 บาท
รมยา / ต่อครั้ง
450 บาท
อบความร้อนด้วยโคม (ชม.)
260 บาท
ครอบแก้ว (ส่วน)
570 บาท
กวาซา (ส่วน)
520 บาท
ปล่อยเลือด (จุด)
260 บาท
ค่าต้มยาสมุนไพรจีนพร้อมบรรจุซอง (ต่อซอง)
15 บาท
ค่าปรุงยา (บด/ผัด/ผสม) สมุนไพร พร้อมบรรจุซอง
300 บาท

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม