chat

มะเร็งลำไส้ใหญ่ ตรวจพบก่อนรักษาได้

มะเร็งลำไส้ใหญ่ (Colon cancer) เป็นโรคร้ายแรงที่พบบ่อยเป็นอันดับต้นๆ ของประชากรไทย และมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี โดยพบได้เป็นอันดับ 3 ในผู้ชาย และพบได้เป็นอันดับ 5 ในผู้หญิง มะเร็งลำไส้ใหญ่เกิดจากเซลล์เยื่อบุผนังลำไส้เจริญเติบโตผิดปกติจนไม่สามารถควบคุมได้ ในระยะแรกของการเจริญเติบโตจะยังไม่เป็นเนื้อร้าย แต่หากไม่ได้รับการตรวจรักษาก็สามารถกลายเป็นเนื้อร้ายได้ โดยใช้ระยะเวลานานประมาณ 10 ปี

มะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะแรกมักไม่มีอาการ การตรวจในเบื้องต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งหากตรวจพบตั้งแต่แรกจะมีโอกาสรักษาหายได้ หรือมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 5 ปี ถึง 95% แต่หากเป็นระยะที่ลุกลามไปแล้ว แทบจะไม่มีโอกาสรักษาให้หายได้เลย ดังนั้น การสังเกตตนเอง การพิจารณาถึงปัจจัยเสี่ยงของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ และการเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่เพื่อตรวจดูความผิดปกติตั้งแต่เนิ่นๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ

ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ เช่น

  • อายุที่มากขึ้น โดย 90% ของผู้ป่วยมีอายุมากกว่า 50 ปี
  • มีก้อนเนื้อ (Polyp) ในลำไส้ใหญ่
  • มีประวัติส่วนตัวเป็นโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease)
  • เคยส่องกล้องพบติ่งเนื้อในลำไส้ หรือใช้ตรวจติดตามหลังผ่าตัดมะเร็ง
  • มีประวัติส่วนตัวเป็นมะเร็งรังไข่ มดลูก เต้านม หรืออวัยวะอื่น โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยกว่า 60 ปี
  • มีประวัติบุคคลในครอบครัว บิดา มารดา พี่ น้อง เป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่หรือเป็นติ่งเนื้อ
  • มีประวัติโรคทางกรรมพันธุ์ที่สัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่ในครอบครัว เช่น HNPCC หรือ Polyposis Syndromes
  • สูบบุหรี่
  • ดื่มสุรา
  • ความอ้วน

อาการของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่

มะเร็งลำไส้ใหญ่ เริ่มต้นโดยคนไข้อาจไม่มีอาการอะไรเลย อย่างไรก็ตาม เมื่อการดำเนินของโรคไปได้สักระยะหนึ่ง มะเร็งลำไส้ใหญ่จะเริ่มมีอาการแสดง ดังนี้

  • มีนิสัยการขับถ่ายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม อาจมีอาการเตือน เช่น เบื่ออาหาร น้ำหนักลด ขนาดของลำอุจจาระเล็กลง คลำท้องพบก้อน เป็นต้น
  • มีอาการท้องผูก ท้องเสียเรื้อรัง หรือสลับกันเป็นครั้งคราว
  • จำนวนครั้งในการถ่ายอุจจาระเปลี่ยนไปจากเดิม
  • ลำของอุจจาระเล็กลงหรือบางลง
  • ถ่ายอุจจาระมีเลือดปน (อาจมีสีแดงสดหรือสีแดงคล้ำ) หรือตรวจอุจจาระพบเลือดแฝง โดยที่ตรวจแล้วไม่ใช่สาเหตุจากบริเวณทวารหนักและลำไส้ตรงส่วนล่าง
  • ถ่ายเป็นมูกปนเลือด ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อบิด
  • มีอาการจุกเสียด แน่นท้อง หรือปวดท้องบ่อยๆ
  • มีอาการปวดหน่วง หรือรู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด
  • อ่อนเพลียเรื้อรัง น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • อื่นๆ เช่น ไส้บิดกลืนกัน หลังฉายรังสีแล้วถ่ายมีมูกปนเลือด เป็นต้น

วิธีการตรวจและวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ มี 6 วิธี ดังนี้

  1. การตรวจทวารหนักโดยแพทย์
  2. การตรวจเลือดในอุจจาระ
  3. การเอกซเรย์ลำไส้ใหญ่ที่สวนสารทึบแสง
  4. การเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ลำไส้ใหญ่ (CT scan)
  5. การส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก (Colonoscopy)
  6. การตรวจสายพันธุกรรม ในครอบครัวที่มีประวัติโรคทางกรรมพันธุ์ที่สัมพันธ์กับมะเร็งลำไส้ใหญ่

วิธีการวินิจฉัยโรคที่แน่นอนที่สุดคือ การตรวจพบเซลล์มะเร็งในเนื้อเยื่อที่สงสัย ซึ่งวิธีการที่จะนำเนื้อเยื่อที่สงสัยออกมาตรวจ สามารถทำได้โดยการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนัก ร่วมกับการตัดเนื้อเยื่อผ่านทางกล้องหรือการผ่าตัดลำไส้ใหญ่ที่มีก้อนออกมาตรวจโดยตรง ภายหลังการวินิจฉัยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่แล้ว อาจมีการตรวจเพิ่มเติม เช่น การตรวจเลือด การตรวจทางรังสี เพื่อประเมินระยะของโรคในเบื้องต้น และประเมินสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อประกอบการวางแผนการรักษาที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อประโยชน์ในการตรวจติดตามหลังการรักษาต่อไป

ระยะของโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ แบ่งเป็น 4 ระยะ ดังนี้

ระยะที่ 1 มะเร็งลุกลามชั้นเยื่อบุด้านใน แต่ไม่เลยชั้นกล้ามเนื้อของผนังลำไส้ใหญ่
ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามเลยชั้นกล้ามเนื้อของผนังลำไส้ใหญ่ ไปสู่เนื้อเยื่อหรืออวัยวะใกล้เคียงก้อนมะเร็ง แต่ยังไม่มีการกระจายไปยังต่อมน้ำเหลือง
ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามเข้าต่อมน้ำเหลืองรอบก้อนมะเร็ง แต่ยังไม่มีการกระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นในร่างกายที่อยู่ไกลจากก้อนมะเร็ง
ระยะที่ 4 หรือ ระยะแพร่กระจาย มะเร็งกระจายไปยังอวัยวะในส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่ไม่ติดกับก้อนมะเร็ง

การรักษาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ 

การผ่าตัดลำไส้

การตัดลำไส้เป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ในระยะเริ่มต้น โดยอาจไม่ต้องให้การรักษาอื่นๆ เพิ่มเติม โดยศัลยแพทย์จะตัดลำไส้ใหญ่ส่วนที่มีก้อนมะเร็งออก พร้อมกับบางส่วนหรือทั้งหมดของอวัยวะที่ก้อนมะเร็งติดอยู่ รวมถึงต่อมน้ำเหลืองบริเวณใกล้เคียง จากนั้นจะต่อลำไส้ส่วนที่เหลือเข้าด้วยกัน ยกเว้นบางกรณีที่อาจต้องมีทวารเทียมที่ผนังหน้าท้อง (Colostomy) ซึ่งจะมีชั่วคราวหรือถาวรขึ้นอยู่กับตำแหน่งของก้อนมะเร็ง สิ่งที่ตรวจพบระหว่างการผ่าตัด และปัจจัยอื่นๆ ร่วมด้วย โดยอาจต้องอาศัยการตัดสินใจร่วมกันกับผู้ป่วยและญาติ

เคมีบำบัด

เคมีบำบัดนำมาใช้เป็นการรักษาหลักในผู้ป่วยที่มีก้อนมะเร็งแพร่กระจายไปยังต่อมน้ำเหลืองและส่วนต่างๆ ของร่างกาย หรือเป็นชนิดที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งซ้ำสูง ซึ่งมักจะต้องได้รับเคมีบำบัดเป็นการรักษาเสริมหลังการผ่าตัด เพื่อลดโอกาสการกลับมาเป็นมะเร็งซ้ำ และช่วยเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วย โดยเป็นการรักษาแบบหวังผลหายขาด หรือเป็นการรักษาในผู้ป่วยที่ไม่สามารถรับการผ่าตัดได้ ซึ่งเป็นการรักษาแบบประคับประคอง เพื่อมุ่งหวังบรรเทาอาการ และเพิ่มอัตราการอยู่รอดของผู้ป่วยให้นานขึ้น

การให้เคมีบำบัด มีวิธีการให้ 2 วิธีหลัก คือ การให้ทางหลอดเลือดดำ และการให้โดยการรับประทาน โดยขึ้นอยู่กับสูตรยาที่แพทย์เลือกใช้ตามความเหมาะสมในผู้ป่วยแต่ละราย ซึ่งผลข้างเคียงจากการให้เคมีบำบัดในปัจจุบันสามารถป้องกันและแก้ไขได้เป็นอย่างดี เมื่อได้รับการดูแลรักษาโดยแพทย์ผู้ชำนาญการเฉพาะทาง

ปัจจุบันมีการใช้ยาเพื่อยับยั้งมะเร็งโดยตรงที่เป้าหมาย (Targeted Therapy) เพื่อหยุดการเจริญเติบโตและการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง ซึ่งมักจะให้ร่วมกับเคมีบำบัดในมะเร็งระยะแพร่กระจาย โดยหวังผลเพิ่มระยะเวลาและอัตราการมีชีวิตรอดให้แก่ผู้ป่วย

การฉายรังสี

การฉายรังสีมักนำมาใช้ในการรักษามะเร็งลำไส้ใหญ่ ซึ่งเป็นลำไส้ใหญ่ช่วงปลายสุดก่อนออกสู่ทวารหนัก โดยคณะแพทย์ผู้รักษาอาจพิจารณาให้เป็นการรักษาเสริมก่อนผ่าตัดหรือหลังผ่าตัด และนิยมให้ร่วมกับเคมีบำบัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาให้ดีขึ้น และอาจช่วยลดการผ่าตัดที่ต้องมีทวารเทียมที่ผนังหน้าท้อง (Colostomy) แบบถาวรได้

การติดตามผลหลังการรักษา

ผู้ป่วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ จะได้รับการตรวจติดตามอย่างต่อเนื่องหลังรับการรักษาโดยคณะแพทย์ผู้รักษา เพื่อตรวจค้นหาโรคที่อาจเป็นซ้ำ และให้การรักษาได้ทันในเวลาที่เหมาะสม การติดตามผลประกอบด้วยการตรวจร่างกาย การตรวจเลือด การตรวจทางรังสี และการส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่ โดยระยะเวลาและความถี่ในการตรวจจะขึ้นกับภาวะของโรคและสิ่งที่ตรวจพบระหว่างการติดตามผล รวมถึงสภาพของผู้ป่วยเป็นสำคัญ

ค่ารักษา

เพิ่มเติม
การรักษา ราคา(บาท)
ตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy) 1 คืน 50,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อวินิจฉัย Colonoscope 20,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อการรักษา Colonoscope แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อวินิจฉัย Gastroscope 12,000 บาท
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อการรักษา Gastroscope แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อวินิจฉัย 25,000 บาท
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อการรักษา แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทวารหนักส่วนปลาย Sigmoidoscopy 20,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 1 ปี) (Gastric Balloon) 1 คืน 180,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 6 เดือน) (Gastric Balloon) 2 คืน 120,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องส่วนบน (CT Upper Abdomen) 8,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen) 14,000 บาท
การวินิจฉัย การเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( COLONIC TRANSIT STUDY)) 3,400 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen) 2,000 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen) 3,000 บาท
เอกซ์เรย์ (X-ray) (Plain Film) 400 บาท/1ส่วน
ปากกาลดน้ำหนัก ด้ามละ 4,200บาท
การรักษา
ตรวจทางเดินอาหารด้วยการกลืนแคปซูล (Capsule Endoscopy)
1 คืน
50,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อวินิจฉัย Colonoscope
20,000 บาท
ส่องกล้องตรวจลำไส้ใหญ่และทวารหนักเพื่อการรักษา Colonoscope
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อวินิจฉัย Gastroscope
12,000 บาท
ส่องกล้องตรวจทางเดินอาหารส่วนต้นเพื่อการรักษา Gastroscope
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อวินิจฉัย
25,000 บาท
ส่องกล้อง Gastrocope - Colonoscope ในเวลาเดียวกันเพื่อการรักษา
แพทย์ที่ทำการรักษาเป็นผู้ประเมิน
ส่องกล้องตรวจทวารหนักส่วนปลาย Sigmoidoscopy
20,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 1 ปี) (Gastric Balloon)
1 คืน
180,000 บาท
การใส่บอลลูนกระเพาะอาหารเพื่อลดน้ำหนัก(ชนิด 6 เดือน) (Gastric Balloon)
2 คืน
120,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องส่วนบน (CT Upper Abdomen)
8,000 บาท
เอกซเรย์คอมพิวเตอร์ช่องท้องทั้งหมด (CT Whole Abdomen)
14,000 บาท
การวินิจฉัย การเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( COLONIC TRANSIT STUDY))
3,400 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องส่วนบน (Ultrasound Upper Abdomen)
2,000 บาท
อัลตราซาวด์ช่องท้องทั้งหมด (Ultrasound Whole Abdomen)
3,000 บาท
เอกซ์เรย์ (X-ray) (Plain Film)
400 บาท/1ส่วน
ปากกาลดน้ำหนัก ด้ามละ
4,200บาท

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม