chat

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร คุณแม่มือใหม่ควรรู้

หลายคนยังคงเข้าใจผิดว่า โรคเบาหวานนั้นเกิดเฉพาะกับวัยผู้ใหญ่เท่านั้น แต่ความจริงแล้วสามารถเกิดขึ้นกับวัยเด็กได้ด้วย พบได้ตั้งแต่เด็กที่อายุไม่ถึง 1 ปี ซึ่งสาเหตุหลักเกิดจากร่างกายมีภาวะน้ำตาลสูงในเลือด ร่างกายมีการหลั่งอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่มีความสำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ไม่เพียงพอหรืออินซูลินทำงานได้ไม่ดีที่เรียกว่า ภาวะดื้ออินซูลิน ผู้ปกครองจึงควรพาบุตรหลานมาตรวจภาวะเบาหวานในเด็กที่โรงพยาบาลเพื่อรักษาให้กลับมาสุขภาพดีต่อไป

ราคาการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลยันฮี

ความสำคัญของการฝากครรภ์

ประโยชน์ของการฝากครรภ์

หลักการเลือกสถานพยาบาลสำหรับฝากครรภ์

การเตรียมความพร้อมก่อนไปฝากครรภ์

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง?

ความสำคัญของสมุดฝากครรภ์

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลยันฮี

ความสำคัญของการฝากครรภ์

‘การฝากครรภ์’ (Antenatal care) เป็นการดูแลสุขภาพครรภ์ของคุณแม่ตั้งแต่เริ่มตั้งท้อง (ช่วงอายุ ครรภ์ 4-8 สัปดาห์ และไม่ควรเกิน 12 สัปดาห์) ไปจนถึงก่อนคลอด โดยว่าที่คุณแม่ควรเข้าพบแพทย์เฉพาะทางเพื่อฝากครรภ์ทันทีเมื่อทราบว่ากำลังตั้งครรภ์ และเข้ารับการตรวจครรภ์ตามที่แพทย์นัดหมายอย่างสม่ำเสมอ

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องทำอย่างไร

ทั้งนี้ การฝากครรภ์ไม่ได้จำกัดเฉพาะการตั้งครรภ์ครั้งแรกเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการตั้งครรภ์ครั้งที่เท่าไหร่ก็จำเป็นต้องฝากครรภ์ทั้งสิ้น ภายใต้การดูแลให้คำปรึกษาโดยแพทย์เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์ ,ติดตามการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ ,ตรวจหาความเสี่ยงในคุณแม่ตั้งครรภ์ ได้แก่ พาหะโลหิตจาง (ธาลัสซีเมีย) , ภาวะการแท้งบุตรง่าย และคลอดก่อนกำหนด, การดูแลรักษาโรคประจำตัวระหว่างตั้งครรภ์, การคัดกรองเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และตรวจคัดกรองในทารก เช่น ความผิดปกติที่แฝงอยู่ของทารก ติดตามการเจริญเติบโต เป็นต้น

ประโยชน์ของการฝากครรภ์

  • ช่วยดูแลสุขภาพร่างกายและจิตใจของแม่ อยู่ภายใต้การดูแลให้คำแนะนำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คอยตอบประเด็นคำถามเกี่ยวกับหลักปฏิบัติตัวระหว่างตั้งครรภ์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาหารการกิน การออกกำลังกาย การจัดการความเครียดและภาวะอารมณ์ระหว่างตั้งครรภ์ และอื่น ๆ
  • ลดความเสี่ยงจากอาการผิดปกติหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับทารกในครรภ์ได้ เช่น ช่วยลดอัตราการแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด ป้องกันการอักเสบติดเชื้อ โดยแพทย์จะวินิจฉัยโรคของคุณแม่และทารก เช่น ครรภ์เป็นพิษ โลหิตจาง ซิฟิลิส ฯลฯ เพื่อให้ทั้งแม่ลูกมีสุขภาพร่างกายและจิตใจที่แข็งแรง

หลักการเลือกสถานพยาบาลสำหรับฝากครรภ์

ควรเป็นโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาล ที่พ่อแม่ให้ความไว้วางใจในมาตรฐานบริการและความปลอดภัย

พิจารณาจากประวัติ ความชำนาญ และผลตอบรับจากคุณแม่ที่เคยฝากครรภ์และใช้บริการกับโรงพยาบาลแห่งนั้น ๆ มาก่อน

โรงพยาบาลมีความพร้อมในการให้บริการด้านต่าง ๆ นอกเหนือจากการฝากครรภ์ เช่น อายุรกรรม, กุมารเวช

การเตรียมความพร้อมก่อนไปฝากครรภ์

เตรียมบัตรประจำตัวประชาชนของคุณแม่

ข้อมูลการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย โดยนับจากวันแรกของการมีประจำเดือนครั้งสุดท้าย (Last menstrual period: LMP)

เตรียมข้อมูลสำหรับซักประวัติคนไข้ เช่น ประวัติความเจ็บป่วย โรคประจำตัว การแพ้ยา ประวัติการแท้งบุตร โรคทางพันธุกรรม ฯลฯ ประวัติการผ่าตัด เช่น เนื้องอกมดลูก ซีสต์รังไข่ ฯลฯ

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง?

ไตรมาสแรก

ชั่งน้ำหนัก ประเมินค่าดัชนีมวลกาย เพื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างน้ำหนักของคุณแม่ตั้งครรภ์กับการเจริญเติบโตของทารก สำหรับอายุครรภ์ตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป คุณแม่ควรมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นครึ่งกิโลกรัมในทุกสัปดาห์

วัดส่วนสูง เพื่อประเมินภาวะคลอดยาก โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีส่วนสูงน้อยกว่า 140 เซนติเมตร อาจเกิดภาวะคลอดยากเนื่องจากมีอุ้งเชิงกรานแคบ

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง

วัดความดันโลหิต โดยจะมีตัวเลข 2 ค่า ค่าแรกเป็นความดันโลหิตขณะที่หัวใจบีบตัวดัน ให้โลหิตสูบฉีดไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย ส่วนค่าหลังเป็นความดันโลหิต ขณะที่หัวใจคลายตัวค่าความดันปกติจะราว 120/70 มิลลิเมตรปรอท หากวัดค่าได้เกิน 140/90 มิลลิเมตรปรอทย่อมถือว่ามีความดันโลหิตสูง

ตรวจคัดกรองการติดเชื้อแบคทีเรีย ในช่องคลอดหรือกระเพาะปัสสาวะ

ตรวจสุขภาพช่องปากและฟัน เพื่อป้องกันฟันผุขณะตั้งครรภ์ ที่อาจส่งผลให้คลอดก่อนกำหนด ทารกน้ำหนักแรกเกิดน้อย

ตรวจประเมินสุขภาพจิต ความเครียด อาการซึมเศร้า ความพร้อมของอารมณ์และจิตใจในการตั้งครรภ์

การตรวจทางห้องปฏิบัติการ ได้แก่

  • ตรวจปัสสาวะ เพื่อคัดกรองการติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ ค่าน้ำตาลในปัสสาวะให้แน่ใจว่าคุณแม่ไม่ได้เป็นเบาหวานแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ และดูค่าโปรตีนเพื่อพิจารณาประสิทธิภาพการทำงานของไต หากตรวจพบร่วมกับมีความดันโลหิตสูง แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดครรภ์เป็นพิษ
  • ตรวจเลือด ทางโรงพยาบาลจะเจาะเลือดเพื่อตรวจดูความเข้มข้น ส่วนประกอบของเลือด กรุ๊ปเลือด โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย และตรวจหาโรคติดเชื้อบางชนิด เช่น ไวรัสตับอักเสบ ซิฟิลิส หัดเยอรมัน และเอชไอวี

ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

อัลตราซาวนด์ เพื่อประเมินการตั้งครรภ์ ได้แก่ ประเมินอายุครรภ์ คะเนกำหนดคลอด (EDC/EDD) จำนวนถุงการตั้งครรภ์ วินิจฉัยภาวะครรภ์แฝด ประเมินตำแหน่งของถุงการตั้งครรภ์ วินิจฉัยภาวะครรภ์ผิดปกติ เช่น ท้องลม หรือท้องนอกมดลูก ความผิดปกติในอุ้งเชิงกราน เช่น เนื้องอกมดลูก หรือถุงน้ำรังไข่ในช่วยอายุครรภ์ 11-13 สัปดาห์ ประเมินความหนาของถุงน้ำหลังคอ (Nuchal translucency)

ตรวจประเมินความเสี่ยงภาวะโครโมโซมผิดปกติของทารกในครรภ์ หรือดาวน์ซินโดรม สามารถตรวจได้ตั้งแต่ไตรมาสแรกด้วยการตรวจ Cell-free fetal DNA/NIPT หรือตรวจค่าสารชีวเคมีในเลือดคุณแม่

ประเมินความเสี่ยงภาวะครรภ์เป็นพิษ ประเมินจากการซักประวัติคุณแม่ วัดความดันโลหิต และตรวจอัลตราซาวนด์เส้นเลือดบริเวณมดลูก

ให้วิตามินเสริม ได้แก่ กรดโฟริก

ไตรมาสที่ 2 (14-28 สัปดาห์)

ตรวจสัญญาณชีพต่างๆ ด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตสูง และตรวจปัสสาวะเพื่อคัดกรองภาวะโปรตีนและน้ำตาลรั่ว

ตรวจขนาดยอดมดลูก เพื่อประเมินการเติบโตและอัตราการเต้นของหัวใจทารก

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง

อัลตราซาวนด์ ช่วงอายุครรภ์ 18-22 สัปดาห์ ประเมินได้ทั้งเพศ วินิจฉัยภาวะพิการแต่กำเนิด ตำแหน่งของรก ปริมาณน้ำคร่ำ และวัดความยาวปากมดลูกเพื่อคัดกรองความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

  • ฉีดวัคซีนสำหรับสตรีตั้งครรภ์ ได้แก่ บาดทะยัก คอตีบ ไอกรน และไข้หวัดใหญ่
  • ให้วิตามินเสริม ได้แก่ ธาตุเหล็ก ไอโอดีน โฟลิก แคลเซียม ฯลฯ
ไตรมาสที่ 3 (28-40 สัปดาห์)
  • ตรวจเลือด ตรวจยอดมดลูก และตรวจสัญญาณชีพ
  • อัลตราซาวนด์ไตรมาสที่ 3 เพื่อประเมินการเจริญเติบโต ส่วนนำของทารก วินิจฉัยภาวะรกเกาะต่ำ ประเมินปริมาณน้ำคร่ำ รวมถึงประเมินความผิดปกติของทารกในครรภ์ที่อาจขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
  • เตรียมตัวและวางแผนการคลอด แพทย์จะให้ข้อมูลเกี่ยวกับระยะเวลา และช่องทางการคลอดที่เหมาะสมสำหรับคุณแม่แต่ละบุคคล สังเกตอาการผิดปกติต่างๆ เช่น ลูกดิ้นน้อยลง ท้องแข็ง เลือดออกจากช่องคลอด หรือมีน้ำเดิน ฯลฯ

ความสำคัญของสมุดฝากครรภ์

ฝากครรภ์ครั้งแรกต้องตรวจอะไรบ้าง

แพทย์จะบันทึกผลการตรวจทุกรูปแบบลงในสมุดฝากครรภ์ หรือใบฝากครรภ์ตั้งแต่ไตรมาสแรกจนถึงไตรมาสสุดท้าย คุณแม่ควรนำสมุดนี้ติดตัวไปด้วยเสมอทุกครั้งที่ไปโรงพยาบาลหรือพบแพทย์ หากไม่มีสมุดฝากครรภ์ติดตัวมาด้วย แพทย์จะไม่มีข้อมูลประวัติสุขภาพครรภ์ของคุณแม่

ราคา การฝากครรภ์ ที่โรงพยาบาลยันฮี

ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับการฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลยันฮี

ถาม
ตอบ

ตารางนัดหมายฝากครรภ์มีทั้งหมดกี่ครั้ง?

ตารางนัดหมายสำหรับฝากครรภ์ในคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีอายุระหว่าง 18-35 ปี มีดังนี้ อายุครรภ์น้อยกว่า 28 สัปดาห์ นัดหมายทุก ๆ 4 สัปดาห์, อายุครรภ์ระหว่าง 28-32 สัปดาห์ นัดหมายทุก ๆ 2-3 สัปดาห์, อายุครรภ์ระหว่าง 32-40 สัปดาห์ นัดหมายทุก ๆ สัปดาห์ อย่างไรก็ตาม แพทย์อาจนัดหมายเพิ่มเติมตามความเหมาะสมของคุณแม่แต่ละบุคคล โดยเฉพาะคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง

ถาม
ตอบ

แนะนำแนวทางการดูแลสุขภาพระหว่างตั้งครรภ์?

ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบทั้ง 5 หมู่ ควบคู่ไปกับวิตามินบำรุงครรภ์ที่จำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ ได้แก่ โฟเลต ธาตุเหล็ก แคลเซียม และกรดไขมันโอเมก้า 3 ฯลฯ หลีกเลี่ยงการทานอาหารที่มีสารปรอท อาหารหมักดอง นมสดไม่ผ่านการพาสเจอไรซ์ ฯลฯ , นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เน้นท่านอนตะแคงเพื่อให้เลือดไหลเวียนไปเลี้ยงทารกในครรภ์ได้ดี

แพทย์ผู้เขียนบทความ

หัตถการของศูนย์กุมารเวช

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม