chat

ผ่าตัดฟันคุด

ผ่าฟันคุดไม่ยาก ป้องกันโรคตามมา

เช็คกันให้ดี เรามีฟันคุดในปากบ้างหรือเปล่า เพราะฟันคุดไม่ใช่เรื่องปกติธรรมดา ก่อนที่จะมีอาการปวด และมีปัญหาโรคในช่องปากตามมา จึงไม่ควรที่จะเก็บไว้ แต่หลายๆ คนกลับรู้สึกเข็ดขยาดตั้งแต่ได้ยินชื่อ เพราะการเล่าขานต่อๆ กันมาถึงความเจ็บปวดทรมานจากการถอนหรือผ่าฟันคุด แท้จริงแล้ว การผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ถ้าไม่เอาออกนี่สิ.. อาจจะต้องทำฟันเสียเงินเสียเวลาอีกหลายครั้งเลยล่ะค่ะ

ฟันคุด (Impacted Tooth, Wisdom Tooth) คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นในช่องปากได้ตามปกติ อาจขึ้นได้เพียงบางส่วนหรือไม่ขึ้นมาเลย เพราะเป็นฟันที่ขึ้นช้ากว่าฟันซี่อื่นๆ ทำให้ไม่มีที่ว่างที่ฟันจะขึ้นได้ พบได้บ่อยที่สุดบริเวณฟันกรามล่างซี่ที่สาม (Third Molar) หรือซี่สุดท้าย แต่ฟันคุดสามารถเกิดกับฟันซี่อื่นได้เหมือนกัน เช่น ฟันเขี้ยว (Canine) ฟันกรามน้อย (Premolar) เป็นต้น

เราสามารถแบ่งชนิดของฟันคุดได้ง่ายๆ โดยดูจากลักษณะการขึ้นของฟันคุดและความสัมพันธ์กับฟันข้างเคียง

  • ฟันคุดในลักษณะแนวนอน (Horizontal Impaction) ชนกับฟันซี่ที่อยู่ติดกัน
  • ฟันคุดในลักษณะแนวเอียง (Distoangular Impaction หรือ Distal Impaction) ชนปลายรากฟันซี่ที่ติดกันหันส่วนครอบฟัน (Crown) ออก
  • ฟันคุดหันเข้าหาฟันข้างเคียง (Mesioangular Impaction หรือ Mesial Impaction) ซึ่งเป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด
  • ฟันคุดที่ขึ้นในลักษณะแนวตั้ง (Vertical Impaction) โดยมีด้านหลังอยู่ในกระดูกขากรรไกรล่างด้านท้าย

จะเกิดอะไรขึ้น หากปล่อยฟันคุดทิ้งไว้

  1. เหงือกอักเสบ เป็นที่หมักหมมของเศษอาหาร
  2. ปริทันต์อักเสบ ทำให้ฟันข้างเคียงผุได้ง่าย
  3. มีการละลายของรากฟันซี่ข้างเคียง
  4. ปวดฟัน ปวดกระดูกขากรรไกร เนื่องจากเกิดการติดเชื้อ
  5. แรงดันทำให้เกิดการบิดเกของฟันข้างเคียง ฟันซี่หน้า และซี่ถัดไป
  6. ขากรรไกรบริเวณฟันคุดหักง่าย เมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือได้รับแรงกระแทก
  7. ฟันคุดที่ฝังอยู่ในขากรรไกรจะมีเยื่อหุ้ม อาจพัฒนาไปเป็นถุงน้ำ (Cyst) อาจเกิดมะเร็งกรามช้างตามมาได้

ขั้นตอนการรักษาฟันคุด

*หมายเหตุ : ทั้งนี้ข้อมูลเบื้องต้นอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามสภาพร่างกายของแต่ละบุคคล หรือตามคำแนะนำของแพทย์

การผ่าฟันคุดไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิดเลยนะคะ เพราะเป็นการใช้ยาชา ใช้เวลาเพียงไม่นานอาการก็จะดีขึ้นและกลับมาเป็นปกติ หากพบว่ามีฟันคุด ควรรีบพบทันตแพทย์เพื่อทำการรักษา ก่อนที่ฟันซี่นั้นจะอักเสบจนทำให้เกิดอาการปวด เพราะคนส่วนใหญ่คิดว่าไม่เห็นเป็นอะไรเลย ไม่ปวด ไม่เจ็บ แต่นั่นคืออาการยังไม่เริ่มต้นต่างหากล่ะคะ แต่ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้เกิดผลเสียตามมาอย่างมากมายดังที่กล่าวไว้ตอนต้น และถ้าใครที่อยากรู้ว่ามีฟันคุดหรือไม่ สามารถไปพบทันตแพทย์เพื่อเอกซ์เรย์ฟันดูได้เมื่อถึงอายุที่สมควรแล้วค่ะ

ข้อมูลโดยทพ.อำนวย สันติวิภานนท์

ค่ารักษา

ผ่าตัดฟันคุดและฟันผิดปกติ ที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อน ซี่ละ 2,800 บาท
ผ่าตัดฟันคุดและฟันผิดปกติ ที่ฝังอยู่ในกระดูกบางส่วน ซี่ละ 4,500 บาท
ผ่าตัดฟันคุดและฟันผิดปกติ ที่ฝังอยู่ในกระดูกทั้งหมด ซี่ละ 5,500 บาท

ผ่าตัดฟันคุดและฟันผิดปกติ ที่ฝังอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อน

ซี่ละ 2,800 บาท

ผ่าตัดฟันคุดและฟันผิดปกติ ที่ฝังอยู่ในกระดูกบางส่วน

ซี่ละ 4,500 บาท

ผ่าตัดฟันคุดและฟันผิดปกติ ที่ฝังอยู่ในกระดูกทั้งหมด

ซี่ละ 5,500 บาท

ทันตแพทย์ประจำศูนย์ทันตกรรมทั่วไป

เพิ่มเติม

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม