chat

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

การเจริญเติบโตของเด็กเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน เริ่มตั้งแต่ยังเป็นทารกในครรภ์ โดยปัจจัยที่ส่งผลต่อความสูงของเด็กครอบคลุมทั้งพันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โภชนาการ การออกกำลังกาย รวมถึงกิจวัตรประจำวัน อาจเกิดจากภาวะทารกตัวเล็กตั้งแต่แรกคลอด เมื่อเทียบกับทารกทั่วไปที่มีอายุครรภ์เท่ากัน โดยทั่วไปจะโตทันเกณฑ์ระหว่าง 2-4 ปี พ่อแม่จึงควรหมั่นสังเกตพฤติกรรมและพัฒนาการเจริญเติบโตของลูกว่ามีความปกติหรือขาดพร่องอย่างไร หากพบความผิดปกติควรนำลูกมาปรึกษาและขอคำแนะนำจากแพทย์ที่โรงพยาบาล

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

ฮอร์โมนต่าง ๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

  • กรรมพันธุ์ เป็นปัจจัยสำคัญที่สุด เด็กที่ได้รับการถ่ายทอดพันธุกรรมจากพ่อแม่ที่มีส่วนสูงน้อย ลูกก็จะตัวเล็กตามไปด้วย สำหรับความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับระบบพันธุกรรม ได้แก่ กลุ่มอาการนูแนน (Noonan syndrome) ซึ่งเกิดจากการกลายพันธุ์ของยีนบางชนิด ทำให้มีความผิดปกติด้านการเจริญเติบโต

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

  • โภชนาการ การรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ในปริมาณที่เหมาะสมกับช่วงวัย ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้ลูกสามารถเจริญเติบโตตามวัยได้อย่างเหมาะสม โดยเฉพาะคุณค่าจากน้ำนมแม่มีประโยชน์มากสำหรับทารกแรกเกิด
  • การออกกำลังกาย ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและกล้ามเนื้อ สำหรับการออกกำลังกายที่เหมาะสมกับเด็ก ได้แก่ การเดิน การวิ่ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน ช่วยให้เจริญเติบโตอย่างเหมาะสม

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

  • โรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคปอดเรื้อรัง ภูมิแพ้เรื้อรัง โรคระบบทางเดินอาหาร หรือแพ้อาหารบางอย่าง ก็ส่งผลกระทบถึงการเจริญเติบโตได้

ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

  • พฤติกรรมการนอนหลับพักผ่อน ปัญหาการนอนหลับพักผ่อนของลูกเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่พ่อแม่ผู้ปกครองหลายคนเคยประสบ เด็กบางคนหลับยาก หลับได้ไม่นานก็ตื่นขึ้นมา นอนดึก นอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ในช่วงที่ลูกหลับเป็นช่วงที่ร่างกายและสมองได้พักผ่อน ร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ช่วยให้เจริญเติบโต เนื้อเยื้อต่างๆในร่างกายแข็งแรง กล้ามเนื้อแข็งแรง สร้างภูมิต้านทานโรค ช่วยพัฒนาสมอง

ฮอร์โมนต่างๆ ที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

Growth Hormone หรือฮอร์โมนเจริญเติบโต

เป็นฮอร์โมนที่หลั่งจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า กระตุ้นให้กระดูกเพิ่มความยาวและความแข็งแรง ซ่อมแซมเนื้อเยื้อส่วนต่างๆของร่างกาย โกรทฮอร์โมนจะผลิตในขณะที่กำลังนอนหลับ มีการหลั่งในชั่วโมงแรกหลังจากหลับสนิท ระหว่าง 5 ทุ่ม ถึงตี 3 หากลูกหลับไม่สนิทหรือนอนดึกโดยเฉพาะหลังเที่ยงคืนร่างกายจะไม่สร้างโกรทฮอร์โมนได้ เด็กที่ขาดฮอร์โมนชนิดนี้จะโตช้ากว่าเด็กวัยเดียวกัน มีความสูงต่ำกว่ามาตรฐาน แต่ไม่กระทบต่อน้ำหนักตัว เด็กบางคนที่ขาดฮอร์โมนเจริญเติบโตชนิดรุนแรง นอกจากเติบโตน้อยกว่าค่าปกติแล้ว ลูกยังอาจมีรูปร่างเตี้ย เสียงเล็กแหลม ในเพศชายอาจพบว่ามีอวัยวะเพศเล็กกว่าเด็กทั่วไป มีน้ำตาลต่ำ อาจเป็นสาเหตุให้ลูกชักจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำได้อีกด้วย

Glucocorticoid Hormone หรือฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์

เป็นฮอร์โมนที่ตอบสนองภาวะเครียดของร่างกาย ถ้ามีฮอร์โมนนี้มากกว่าปกติจะทำให้อ้วนเตี้ย พบได้บ่อยในเด็กที่เป็นภูมิแพ้ หอบหืด โรคไต โรคภูมิคุ้มกันบกพร่องบางชนิด หากได้รับฮอร์โมนชนิดนี้ติดต่อกันยาวนาน จะส่งผลให้เด็กโตช้า เกิดภาวะกระดูกพรุน หรือกระดูกหักง่ายอีกด้วย

Sex Hormone หรือฮอร์โมนเพศ

เป็นฮอร์โมนที่ช่วยเรื่องการเจริญเติบโตของกระดูก และการเปลี่ยนแปลงลักษณะภายนอกทางเพศ แบ่งเป็น Testosterone หรือฮอร์โมนเพศชาย ส่งผลต่อการเพิ่มขนาดอัณฑะ อวัยวะเพศยาวขึ้น เริมมีขน กลิ่นตัว เสียงแตก มีหนวด ฯลฯ ทั้งยังอาจเกิดจากภาวะต่อมเพศทำงานน้อย (hypogonadism) ในผู้ชาย ขณะที่ Estrogen หรือฮอร์โมนเพศหญิง ส่งผลให้หน้าอกขยาย สะโพกผาย มีขน เป็นต้น อาจเกิดจากกลุ่มอาการเทอร์เนอร์ (Turner syndrome) ในเพศหญิง เป็นความผิดปกติของโครโมโซมเอกซ์ (X chromosome) โดยมีแท่งหนึ่งหายไปบางส่วนหรือหายไปทั้งหมด ทำให้รังไข่ไม่ทำงาน

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตของเด็ก

ถาม
ตอบ

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกขาดโกรทฮอร์โมน?

  • ลูกตัวเล็กกว่ามาตรฐานมาโดยตลอด ช่วงอายุ 4-9 ปี การเพิ่มของส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มากกว่า 5 ซม./ปี
  • อัตราการเพิ่มส่วนสูงภายใน 4 ปีน้อยกว่าปีละ 5 ซม.
  • เมื่ออายุ 1 ปีครึ่งขึ้นไป ขนาดร่างกายต่ำกว่าเกณฑ์ และตอนคลอดมีภาวะคลอดยาก
  • คลอดออกมาแล้วน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน ตัวเล็ก เช่น น้ำหนักน้อยกว่า 2.5 กก. ความยาวแรกเกิดต่ำ กว่า 50 ซม.
ถาม
ตอบ

วิธีป้องกันการขาดโกรทฮอร์โมนทำอย่างไร?

  • พ่อแม่ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงของลูกอยู่เสมอ ตั้งแต่หลังคลอด วัยเด็ก วัยเรียน จนถึงวัยรุ่น
  • พาลูกไปฉีดวัคซีนให้ครบเพื่อป้องกันโรคต่างๆในวัยเด็ก
  • ระมัดระวังเรื่องการเจ็บป่วยเรื้อรัง หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกได้รับความกระทบกระเทือนบริเวณศีรษะอย่างรุนแรง เช่น หกล้ม ศีรษะกระแทกพื้น
  • เน้นรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน โปรตีน และแคลเซียมที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อและกระดูกให้แข็งแรง
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมงต่อวัน ไม่นอนดึก เข้านอนแต่หัวค่ำ เพราะการนอนหลับสนิทจะช่วยกระตุ้นการผลิตโกรทฮอร์โมนของเด็ก
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยกระตุ้นการสร้างโกรทฮอร์โมนได้ดี

แพทย์ผู้เขียนบทความ

หัตถการของศูนย์กุมารเวช

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม