“ดวงตา”เปรียบเสมือนโลกทั้งใบของเรา ทำให้เราสามารถมองเห็น เกิดการเรียนรู้สิ่งต่างๆ รอบตัว และดำเนินชีวิตได้อย่างที่ใจต้องการ หากวันหนึ่งต้องพบว่า ดวงตาบอดสนิท ก็เหมือนกับว่าโลกของคุณได้ดับมืดไปด้วย หากไม่ได้พิการตาบอดมาแต่กำเนิด ก็ยากที่จะทำใจหากคุณต้องสูญเสียการมองเห็นไปก่อนระยะเวลาอันควร การเฝ้าระวังดูแลรักษาดวงตาจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะ “โรคต้อกระจก” ที่อาจเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่ทันได้สังเกตเห็น
ต้อกระจก (Cataract) เป็นความเสื่อมของดวงตาที่สามารถทำให้คุณสูญเสียการมองเห็นได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องในเวลาอันสมควร มักพบได้ในผู้สูงอายุ เพราะความเสื่อมสภาพตามวัยของเลนส์แก้วตา ต้อกระจกเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของโปรตีนภายในเลนส์ตา (Lens) ทำให้เลนส์ตาเสื่อมและมีความขุ่นเกิดขึ้นที่ตา ทำให้เลนส์ตาขุ่นมัว ซึ่งนอกจากสาเหตุจากอายุที่เพิ่มขึ้นแล้วยังมีสาเหตุอื่นๆ ที่ส่งเสริมทำให้เกิดต้อกระจก อาทิ
เลนส์ตาที่ขุ่นอาจมีสีขาวขุ่น สีเหลืองขุ่น หรือสีน้ำตาล ทำให้การหักเหของแสงผิดไปและทำให้แสงผ่านเข้าไปยังจอประสาทตาได้น้อยลง คนที่เป็นต้อกระจกจึงมองเห็นภาพไม่ชัดเจน เกิดอาการตามัว หากมัวไม่มากก็ยังพอสามารถมองเห็นได้ แต่หากเป็นขั้นรุนแรงแล้ว จะทำให้สูญเสียการมองเห็นถึงขั้นตาบอดได้
เป็นโรคที่เกิดจากความเสื่อมตามวัยที่เพิ่มขึ้น นั่นหมายความว่า ทุกคนเมื่อก้าวเข้าสู่วัยผู้สูงอายุ จะเป็นโรคต้อกระจก ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าและความเอาใจใส่เรื่องสุขภาพ จึงทำให้ผู้คนสมัยนี้มีอายุยืนมากขึ้น ดังนั้น ต้อกระจกจึงเป็นโรคที่พบได้มากในผู้สูงอายุโดยเฉลี่ย 55 ปีขึ้นไป ซึ่งจะมีโอกาสเป็นต้อกระจกได้ถึง 50% และเมื่ออายุ 75 ปีขึ้นไป เกือบทุกคนจะเป็นต้อกระจก
ความเป็นจริง โรคต้อกระจกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัยได้เช่นกันตามสาเหตุต่างๆ ที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น เพียงแต่ในระยะแรกหลายคนมักไม่ค่อยรู้ตัวว่ากำลังเป็นโรคนี้อยู่ ดังนั้น คุณควรหมั่นสังเกตอาการผิดปกติทางสายตาของตนเอง โดยอาการของต้อกระจกที่สามารถสังเกตได้คือ
มองไม่ชัด ซึ่งเป็นอาการที่เด่นชัดที่สุดของต้อกระจก ในระยะแรกสายตาจะเริ่มมัวลงช้าๆ มองเห็นภาพเป็นหมอกหรือควันบังดวงตา ซึ่งรบกวนการดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น อ่านหนังสือ ขับรถ นอกจากในกรณีที่ต้อกระจกเกิดจากอุบัติเหตุหรือโรคบางอย่าง ซึ่งจะทำให้ตามัวได้อย่างรวดเร็ว
อาการตามัวมองไม่ชัดจะเป็นมากขึ้นในเวลากลางวัน เมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงจ้า เช่น กลางแจ้งท่ามกลางแสงแดดจัด แต่กลับมองเห็นได้ชัดเจนขึ้นเมื่ออยู่ในที่ที่มีแสงสลัว เช่น เวลาพลบค่ำหรือตอนกลางคืน ซึ่งเป็นระยะแรกของโรคต้อกระจก
มองเห็นภาพซ้อน ตาพร่ามัว หากปล่อยทิ้งไว้นานอาจมองเห็นภาพเป็นเพียงเงาเคลื่อนไหว
มองเห็นแสงไฟแตกกระจายเป็นรัศมี หรือเป็นวง โดยเฉพาะแสงไฟจากการขับรถในเวลากลางคืน
มองเห็นฝ้าขาวบริเวณกลางรูม่านตา ซึ่งแปลว่าคุณมีต้อกระจกที่สุกเต็มที่แล้ว
เปลี่ยนแว่นตาบ่อย เพราะสายตาสั้นมากขึ้น และถึงแม้ว่าจะเปลี่ยนแว่นตาแล้วการมองเห็นก็ยังไม่ดีขึ้น
อ่านหนังสือตัวเล็กๆ ไม่เห็น และต้องใช้แสงสว่างมากกว่าปกติ
มองเห็นสีต่างๆ เปลี่ยนไปจากเดิม ไม่สดใส โดยเฉพาะสีเหลือง
เมื่อต้อกระจกเป็นมากขึ้นจะทำให้ตามัวมองไม่ค่อยเห็นทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
เริ่มมีอาการปวดตา ม่านตาอักเสบ และมีต้อหินแทรก ทำให้ยากที่จะรักษาและอาจทำให้ตาบอดในที่สุด
หากคุณสังเกตพบว่ามีอาการผิดปกติทางสายตาเพียงข้อใดข้อหนึ่ง ควรพบจักษุแพทย์เพื่อตรวจดวงตา
การรักษาโรคต้อกระจกในปัจจุบัน ยังไม่มีการรักษาด้วยยา ไม่ว่าจะเป็นยารับประทานหรือยาหยอดตาที่สามารถป้องกันและรักษาให้ต้อกระจกหายไปได้ แต่การรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพมากที่สุดในตอนนี้ก็คือ “การผ่าตัด” ในอดีตอาจมองดูว่าเป็นเรื่องน่ากลัว เป็นการผ่าตัดใหญ่ และมีความเสี่ยงสูง แต่ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีการพัฒนาให้ก้าวหน้าไปเป็นอย่างมาก ทำให้การผ่าตัดรักษาต้อกระจกเป็นไปได้อย่างง่ายดาย การผ่าตัดนี้เรียกว่า “การสลายต้อกระจก” (Phacoemulsification (PE)) เรียกย่อๆ ว่า “Phaco”
การสลายต้อกระจก เป็นการใช้เครื่องสลายเลนส์ (Phaco) มาช่วยในการผ่าตัด โดยใช้คลื่นเสียง (Ultrasound) ความถี่สูง ทำให้เนื้อเลนส์แก้วตาที่ขุ่นสลายเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วดูดออกมา จากนั้นใส่เลนส์แก้วตาเทียมเข้าไปแทนที่เดิม
โดยมีขั้นตอนคือแพทย์จะทำการหยอดหรือฉีดยาชาเพื่อไม่ให้เจ็บขณะทำการรักษา จากนั้นทำความสะอาดผิวหนังบริเวณรอบดวงตาและในกระบอกตา แล้วเจาะรูเล็กๆ ขนาด 2-2.5 มิลลิเมตร บริเวณขอบกระจกตา จากนั้นจึงทำการสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) แล้วดูดเอาต้อกระจกที่สลายแล้วออก และทำการใส่เลนส์แก้วตาเทียม (ทำจากวัสดุพลาสติกใส คงอยู่ในดวงตาได้ถาวร เส้นผ่าศูนย์กลาง 5-6 มม. มีขายืด 2 ข้างป้องกันการเคลื่อนที่ของเลนส์ในตา) แทนที่เลนส์แก้วตาธรรมชาติที่ดูดออกไป หลังการรักษาแผลผ่าตัดจะสมานได้เองตามธรรมชาติโดยไม่ต้องทำการเย็บ ยกเว้นในรายที่เปิดแผลกว้าง แพทย์จะทำการเย็บด้วยไหมละลายขนาดเล็กพิเศษให้ ระยะเวลาที่ใช้ในการรักษาประมาณ 20-30 นาที
ผู้ป่วยโรคต้อกระจกต้องทนอยู่กับอาการตามัวมองไม่เห็นมาเกือบตลอดชีวิต ทำให้คุณภาพชีวิตย่ำแย่ไม่เป็นไปตามที่คิด ไม่สามารถลงมือทำสิ่งต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในชีวิตได้อย่างที่ใจต้องการ การรักษาด้วย “การสลายต้อกระจก” ที่ใช้เวลาในการผ่าตัดไม่ถึงชั่วโมง สามารถทำให้ผู้ป่วยโรคต้อกระจกกลับมามีดวงตาที่สดใส มองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น และสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
หลังการผ่าตัดผู้ป่วยสามารถลุกขึ้นทำกิจกรรมเบาๆ ได้ ฟื้นตัวในการมองเห็นได้เร็ว อาจมีอาการระคายเคืองตา โดยจักษุแพทย์อาจต้องให้ปิดฝาครอบตาป้องกันการขยี้ตาเฉพาะก่อนนอนนานให้เป็นเวลา 1 เดือน หลังผ่าตัดผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องนอนพักฟื้นที่โรงพยาบาล เพียงนอนพักประมาณ 4-6 ชั่วโมง หลังจากรับยาและข้อแนะนำเสร็จก็สามารถกลับบ้านหรือกลับไปใช้ชีวิตประจำวันตามปกติได้ หลังผ่าตัด 1 วัน ผู้ป่วยจะมองเห็นชัดขึ้น และชัดขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่ง 4 สัปดาห์ผ่านไปก็จะมองเห็นได้ชัดมากที่สุด การสลายต้อกระจก จะทำให้สายตามองเห็นได้ชัดเจนมากขึ้น แต่ในบางรายที่เป็นโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ต้อหิน จอประสาทตาเสื่อม เบาหวาน อาจทำให้มองเห็นไม่ชัดเท่ากับคนที่ไม่มีโรคอื่นๆ ร่วมด้วย
เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยการสลายต้อกระจกแล้ว ควรหยอดตาและทานยาตามแพทย์สั่ง ก่อนที่จะหยอดยาควรล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง ระวังอย่าให้น้ำเข้าตาเป็นเวลาประมาณ 30 วัน และควรดูแลใบหน้าให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ขยี้ตา สวมแว่นกันแดดปกป้องดวงตา งดเว้นกิจกรรมที่ต้องใช้สายตามากๆ หรือการออกกำลังกายอย่างหนักหน่วง จนกว่าแผลจะหายดี และข้อสำคัญคือเมื่อพบว่ามีอาการผิดปกติหลังการรักษา เช่น มองไม่เห็น ปวดตามาก ตาแดง เห็นแสงแปล๊บๆ มีขี้ตาสีเหลือง มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดศีรษะ และเกิดอุบัติเหตุบริเวณตาข้างที่ทำการผ่าตัดรักษา ให้รีบพบแพทย์โดยทันที
อย่างที่พูดไว้ในตอนต้นว่าโรคต้อกระจกนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความเสื่อมตามอายุที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น ในการป้องกันโรคต้อกระจกและเพื่อเป็นการรักษาในระยะเริ่มแรก คือการพบจักษุ แพทย์เพื่อตรวจตาตามความเหมาะสม
– โดยในผู้สูงอายุการตรวจดวงตาทุกปีก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยป้องกันและรักษาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยจักษุแพทย์แนะนำให้ผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-65 ปี ควรตรวจดวงตาทุก 2-4 ปี
– หากมีอายุมากกว่า 65 ปี ให้ตรวจทุก 1-2 ปี
– สำหรับวัยอื่นๆ ควรตรวจดวงตาเมื่อมีอาการเปลี่ยนแปลง
ควรหลีกเลี่ยงสาเหตุที่เป็นปัจจัยเร่งให้เกิดต้อกระจกเร็วขึ้น นั่นก็คือ แสงอัลตร้าไวโอเลต อย่างในคนที่ต้องทำงานกลางแจ้งเป็นประจำ ต้องเผชิญกับแสงแดดจัดอยู่เสมอ ควรสวมแว่นกันแดดเพื่อป้องกัน การสูบบุหรี่ ยาบางชนิดที่ต้องรับประทานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน เช่น สเตียรอยด์ ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่เร่งการเกิดของต้อกระจกให้เร็วขึ้น รวมทั้งคนที่เป็นโรคเบาหวานร่วมด้วย หากควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี ก็จะช่วยชะลอการเกิดโรคต้อกระจกได้
การสลายต้อกระจกด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Phacoemulsification) เป็นวิวัฒนาการในการรักษาต้อกระจกให้หายขาดได้อย่างมีประสิทธิภาพในปัจจุบัน ใช้เวลาไม่นาน แผลผ่าตัดเล็ก ไม่เจ็บ และสามารถมองเห็นได้ทันทีหลังจากผ่าตัด ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
“หากเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับดวงตา ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐาน เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที ลดโอกาสเสี่ยงตาบอด”
ผ่าตัดต้อกระจก (เลนส์พับไม่ได้) (ข้างละ)
พัก 1 คืน
38,000 บาท
ผ่าตัดต้อกระจก (เลนส์พับไม่ได้) (ข้างละ)
35,500 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์พับได้ (ข้างละ)
พัก 1 คืน
43,000 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์พับได้ (ข้างละ)
40,500 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์พับสายตาเอียง (ข้างละ)
พัก 1 คืน
66,000 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์พับสายตาเอียง (ข้างละ)
63,500 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์โฟกัสใกล้/ไกล (ข้างละ)
พัก 1 คืน
91,000 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์โฟกัสใกล้/ไกล (ข้างละ)
88,500 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์โฟกัสใกล้/ไกล และแก้สายตาเอียง (ข้างละ)
พัก 1 คืน
99,000 บาท
ผ่าตัดต้อกระจกใช้อุลตร้าซาวด์ เลนส์โฟกัสใกล้/ไกล และแก้สายตาเอียง (ข้างละ)
96,500 บาท
ศัลยกรรมตกแต่งและความงามยอดนิยม