chat

ต่อมทอนซิลอักเสบ

“ต่อมทอนซิล” คือ เนื้อเยื่อต่อมน้ำเหลืองที่ภายในมีเม็ดเลือดขาวหลายชนิด มีลักษณะเป็นเนื้อเยื่อวงรีอยู่ในลำคอ 2 ข้างบริเวณโคนลิ้น ทำหน้าที่ดักจับและกรองเชื้อโรค เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามเข้าไปในร่างกาย นอกจากต่อมทอนซิลแล้วบริเวณผนังลำคอด้านหลังเนื้อเยื่อที่โคนลิ้นและต่อมอะดินอยด์ (Adenoid) อยู่บริเวณคอหลังจมูกก็เป็นตัวช่วยกรองเชื้อโรคด้วยเช่นกัน สาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบเกิดจากสุขภาพร่างกายอ่อนแอ ติดเชื้อไวรัสหรือเชื้อแบคทีเรียจากผู้อื่นที่ป่วยเป็นโรค เช่น สเตร็ปโตคอกคัส (ชนิดเอ) เป็นสายพันธุ์ที่มักก่อให้เกิดอาการคออักเสบ แต่แบคทีเรียหรือสเตร็ปโตคอกคัสสายพันธุ์อื่นก็อาจเป็นสาเหตุของต่อมทอนซิลอักเสบได้เช่นกัน เมื่อเชื้อโรคในช่องปากและช่องคอมีปริมาณมากขึ้น ต่อมทอนซิลจะทำงานเพื่อกำจัดเชื้อโรคเหล่านี้เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลให้ทอนซิลแดง บวมโตขึ้น เรียกว่า “ต่อมทอนซิลอักเสบ”

อาการต่อมทอนซิลอักเสบ

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

การรักษาทอนซิลอักเสบ

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมทอนซิล

อันตรายของต่อมทอนซิลอักเสบ

การป้องกันต่อมทอนซิลอักเสบ

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “ต่อมทอนซิลอักเสบ”

อาการต่อมทอนซิลอักเสบ

อาการต่อมทอนซิลอักเสบ

อาการเบื้องต้นของต่อมทอนซิลอักเสบจะรู้สึกเจ็บคอมากบริเวณด้านข้างของช่องปากทั้งสองข้าง อาจปวดร้าวไปจนถึงบริเวณหูด้วย ร่วมกับมีไข้ ไอ มีเสมหะหรือน้ำมูก กลืนลำบาก เมื่ออ้าปากพบว่าทอนซิลบวมแดง กดแล้วเจ็บ และโตกว่าปกติ, ปวดศีรษะ, มีกลิ่นปาก เนื่องมาจากภาวะต่อมทอนซิลโต, มีเมือกสีขาวหรือเหลืองเคลือบต่อมทอนซิล กรณีที่เชื้อรุนแรงอาจมีจุดหนองที่ทอนซิลและต่อมน้ำเหลืองข้างลำคอโตด้วย

ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบ

อายุ ต่อมทอนซิลอักเสบมักพบในเด็กวัยก่อนเข้าเรียนและวัยรุ่น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของต่อมทอนซิลมักจะลดลงหลังวัยเจริญพันธุ์ ทำให้ผู้ใหญ่ไม่ค่อยพบต่อมทอนซิลอักเสบ

ภาวะแทรกซ้อน ต่อมทอนซิลอักเสบเรื้อรังอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ติดเชื้อบริเวณรอบต่อมทอนซิล, หนองบริเวณช่องคอส่วนลึกหลังต่อมทอนซิล, ภาวะหยุดหายใจขณะนอนหลับ และติดเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัส ทั้งนี้ โอกาสเกิดโรคแทรกซ้อนจะสูงขึ้นหากรับประทานยาปฏิชีวนะไม่ครบ หรือไม่รักษาต่อมทอนซิลอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัสหรือสายพันธุ์อื่น ๆ

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

การตรวจร่างกายเพื่อวินิจฉัยโรค ประกอบด้วย ตรวจคอด้วยอุปกรณ์พร้อมไฟส่องพร้อมตรวจหูและจมูกเพื่อหาอาการติดเชื้อ, คลำต่อมน้ำเหลืองว่าโตหรือไม่, ตรวจม้ามเพื่อหาสาเหตุโรคว่าเกิดจากโรคโมโนนิวคลิโอซิส ซึ่งทำให้ต่อมทอนซิลอักเสบหรือไม่, แพทย์จะเก็บสารคัดหลั่งในลำคอ ส่งไปยังห้องแล็บเพื่อตรวจหาเชื้อแบคทีเรียสเตร็ปโตคอกคัส, แพทย์อาจสั่งให้ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือดจากตัวอย่างเลือดร่วมด้วยในบางกรณี

การรักษาทอนซิลอักเสบ

แพทย์จะตรวจวินิจฉัยและทำการรักษาตามอาการ หากมีอาการอักเสบไม่มาก เจ็บคอเล็กน้อย ไม่มีไข้ อาจไม่จำเป็นต้องใช้ยา ในผู้ป่วยที่มีอาการมากแพทย์จะจ่ายยาปฏิชีวนะสำหรับต่อมทอนซิลอักเสบจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ควรรับประทานยาให้ครบและหมดแม้ว่าอาการจะดีขึ้นหรือหายแล้วก็ตาม ส่วนการผ่าตัดเป็นการรักษาโรคต่อมทอนซิลเรื้อรัง เกิดซ้ำ หรือเกิดจาการติดเชื้อแบคทีเรียซึ่งไม่ตอบสนองต่อยาปฏิชีวนะ

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อมทอนซิล

มีภาวะทอนซิลอักเสบเรื้อรัง เจ็บคอเรื้อรัง หรือหนองที่ได้รับการรักษาด้วยยาปฏิชีวนะแล้วไม่ดีขึ้น หรือต่อมทอนซิลกลายเป็นแหล่งสะสมของแบคทีเรียเรื้อรัง

ต่อมทอนซิลที่เกิดการอักเสบซ้ำ ๆ จนส่งผลกระทบกับคุณภาพชีวิตทั้งการทำงานและการเรียน

เกิดภาวะแทรกซ้อนจากการอักเสบ เช่น ภาวะหนองรอบทอนซิล หรือหนองบริเวณลำคอ

ทอนซิลโตจนเบียดทางเดินหายใจทำให้หายใจลำบาก นอนกรน หรือหยุดหายใจขณะนอนหลับ

ผู้ป่วยที่สงสัยว่าอาจเป็นมะเร็งของต่อมทอนซิลหรือเนื้องอกชนิดอื่น ๆ ที่ต่อมทอนซิล

อันตรายของต่อมทอนซิลอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

เชื้อที่เป็นสาเหตุของทอนซิลอักเสบบางชนิดเป็นเชื้อที่รุนแรงอาจทำให้เกิดหนองรอบๆทอนซิล กรณีโรคลุกลามอาจอุดตันทางเดินหายใจได้ การอักเสบบางครั้งมีผลต่อระบบไหลเวียนโลหิตและทำให้ไตหรือหัวใจผิดปกติได้ โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียชนิดสเตรปโตคอคคัส (Streptococcal Tonsillitis) ผู้ป่วยที่ทอนซิลอักเสบบ่อย ๆ ขนาดของทอนซิลจะโต ทำให้ทางเดินหายใจแคบลงจนเกิดภาวะทางเดินหายใจอุดตันได้ สังเกตจากขณะนอนหลับผู้ป่วยมักกรนเสียงดังหรือสะดุ้งตื่นบ่อย ๆ โดยเฉพาะในเด็ก

การป้องกันต่อมทอนซิลอักเสบ

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

หมั่นล้างมือก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าห้องน้ำ

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

งดใช้สิ่งของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

หลีกเลี่ยงแบ่งอาหารรับประทานร่วมกัน

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

เปลี่ยนแปรงสีฟันทุกครั้งหลังทราบว่าต่อมทอนซิลอักเสบเพื่อป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้อื่น

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

ล้างมือทำความสะอาดหลังไอหรือจาม

การตรวจวินิจฉัยทอนซิลอักเสบ

ใช้กระดาษทิชชูป้องปิดปากเวลาไอหรือจาม

ราคารักษาต่อมทอนซิลอักเสบที่โรงพยาบาลยันฮี

การตรวจวินิจฉัยและพิจารณาภายใต้ดุลยพินิจของแพทย์ผู้ชำนาญการเป็นรายกรณี

Q&A หลากคำถาม มีคำตอบ เกี่ยวกับ “ต่อมทอนซิลอักเสบ”

ถาม
ตอบ

กรณีใดบ้างที่มีจำเป็นต้องผ่าตัดต่อมทอนซิลออก?

กรณีที่ต่อมทอนซิลอักเสบรุนแรงหรือแพทย์ประเมินว่าเสี่ยงอันตราย ผู้ป่วยควรได้รับการผ่าตัดต่อมทอนซิลออก ในกรณีต่อมทอนซิลมีขนาดใหญ่ จนทำให้ทางเดินหายใจอุดตัน นอนกรน, อักเสบบ่อยมากกว่า 6 ครั้งใน 1 ปีหรือ 3-5 ครั้งใน 2 ปีติดต่อกัน, เป็นทอนซิลอักเสบชนิดสเตรปโตคอคคัส, เคยเกิดหนองข้างทอนซิล (Peritonsillar abscess) ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษา หรือต่อมทอนซิลโตกว่าปกติหรือโตข้างเดียวจนอาจลุกลามกลายเป็นเนื้องอกมะเร็งได้, มีกลิ่นปากจากทอนซิลอักเสบเรื้อรังหรือมีเศษอาหารอุดตันเข้าไปในทอนซิล โดยทั่วไปไม่จำกัดอายุในการผ่าตัดรวมถึงเด็กเล็ก

ถาม
ตอบ

การผ่าตัดทอนซิลเป็นอันตรายหรือไม่??

การผ่าตัดทอนซิลเป็นการผ่าตัดที่มีความปลอดภัยสูง โดยใช้เครื่องมือพิเศษตัดทอนซิลออกทางปาก ไม่มีแผลผ่าตัดให้เห็นด้านนอก และผ่าตัดโดยการดมยาสลบ ในปัจจุบันมีวิทยาการใหม่ ๆ ที่ช่วยลดความเจ็บปวดหลังผ่าตัดได้ดีกว่าวิธีการเดิม เช่น ใช้คลื่นวิทยุหรือเลเซอร์ช่วยผ่าตัด ผู้ป่วยอาจมีปัญหาเลือดออกหลังการผ่าตัด ปวดบริเวณแผลทำให้กลืนลำบากหรืออาจเกิดอาการข้างเคียงจากการดมยาสลบ ดังนั้น จึงต้องสังเกตอาการผู้ป่วยในโรงพยาบาล 1 วันหลังจากการผ่าตัด จนกว่าจะแน่ใจว่าปลอดภัย

ถาม
ตอบ

ดูแลตัวเองหรือบุตรหลานอย่างไรเมื่อต้องพักฟื้นรักษาตัวหลังจากป่วยเป็นทอนซิลอักเสบ??

ควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ, ดื่มน้ำในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวัน, รับประทานอาหารอุ่นประเภทซุปหรือข้าวต้มเพื่อบรรเทาอาการเจ็บคอ, งดไอแรงหรือขากเสมหะ, กลั้วคอด้วยน้ำเกลือผสมน้ำอุ่น ระมัดระวังอย่าให้เศษอาหารตกค้างบริเวณลำคอ ช่องปาก เพราะจะทำให้ทอนซิลอักเสบเพิ่มขึ้น และหลีกเลี่ยงการสูดดมควันบุหรี่หรือฝุ่นละออง

ถาม
ตอบ

คนเป็นทอนซิลอักเสบห้ามรับประทานอาหารใดบ้าง?

อาหารที่มีปริมาณกรดสูง, ผลไม้ที่มีกรดซิติกสูง ได้แก่ สับปะรด ส้ม หรือมะนาว, อาหารหมักดองที่มีปริมาณเกลือหรือน้ำส้มสายชูสูง, อาหารทอดที่มีน้ำมันในปริมาณสูง ทำให้ระคายเคืองคอมากขึ้น

หัตถการของศูนย์อายุรกรรม