chat

ตรวจหาสาเหตุท้องผูก

ท้องผูกเรื้อรัง ตรวจหาสาเหตุให้เจอ รักษาได้อย่างตรงจุด

“ท้องผูก” ปัญหายอดฮิตของวัยทำงาน ส่วนใหญ่พบได้ในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย และเป็นได้ทุกช่วงอายุ รวมถึงมักมีปัญหาท้องผูกมาเป็นเวลานาน และหลายคนหลงคิดไปว่ามันเป็นเรื่องปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้วการปล่อยให้ท้องผูกติดต่อกันเป็นเวลานานจนเรื้อรัง อาจส่งผลให้เกิดผลเสียหลายอย่างทั้งทางร่างกาย เช่น การเป็นแผล การเกิดริดสีดวง หรือมีความเจ็บปวดขณะขับถ่าย รวมไปถึงผลกระทบต่อคุณภาพชีวิต และสร้างความทุกข์ทรมานในชีวิตได้

ราคา

อาการแบบไหนเรียกท้องผูก

อาการท้องผูกรักษาไม่ยาก แต่ต้องหาสาเหตุให้รู้ก่อน

ข้อดีของการตรวจหาสาเหตุท้องผูกด้วย Sitzmarks capsule

การเตรียมตัวก่อนกลืน Sitzmarks capsule

ขั้นตอนการกลืน Sitzmarks capsule

ผลลัพธ์หลังจากกลืน Sitzmarks capsule

วิธีรักษาท้องผูก

อาการแบบไหนเรียก “ท้องผูก”

ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์

ต้องเบ่งมากกว่าปกติ

อุจจาระเป็นก้อนแข็ง (lumpy or hard stool)

รู้สึกถ่ายอุจจาระไม่สุด

มีความรู้สึกว่าถ่ายไม่ออกเนื่องจากมีสิ่งอุดกั้นบริเวณทวารหนัก

ต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ

โดยส่วนใหญ่คนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้ง ถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ หากใครมีอาการเหล่านี้ตั้งแต่สองอาการขึ้นไป และเป็นมานานมากกว่า 3 เดือน รวมถึงเริ่มมีอาการครั้งแรก (ไม่จำเป็นต้องครบเกณฑ์) นานกว่า 6 เดือน จะถือว่ามีปัญหาท้องผูกเรื้อรัง

อาการท้องผูกรักษาไม่ยาก แต่ต้องหาสาเหตุให้รู้ก่อน

ปัญหาท้องผูก หากปล่อยไว้เรื้อรังจะอันตรายกว่าที่คิด การตรวจหาสาเหตุของอาการท้องผูกโดยการกลืนเม็ดยาแถบทึบแสงที่อยู่ในรูปแบบแคปซูล (Sitzmarks capsule) จึงเป็นอีกทางเลือกในการตรวจหาสาเหตุในผู้ที่มีอาการท้องผูกรุนแรง เพื่อช่วยให้แพทย์ประเมินการทำงานของระบบทางเดินลำไส้ รวมถึงการอุดกั้นหรือการไม่คลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูดส่วนปลายได้ โดยใช้ “Radiopaque Marker” รูปทรง O-Ring ขนาดเล็กจำนวน 24 ชิ้น ที่บรรจุอยู่ในแคปซูล (Sitzmarks capsule) ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากการตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ เพื่อประเมินว่ากากอาหารหรืออุจจาระ สามารถเคลื่อนตัวได้เร็วหรือช้าผ่านการทำงานของระบบทางเดินลำไส้ และมีลักษณะการเคลื่อนไหวเป็นอย่างไร

ตรวจหาสาเหตุท้องผูก จากการวินิจฉัยการเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( Colonic transit study ) ด้วย Sitzmarks capsule ดีอย่างไร

ช่วยหาสาเหตุของอาการท้องผูกได้อย่างตรงจุด เพื่อการรักษาที่มีประสิทธิภาพ

ไม่เจ็บตัว รู้ผลเร็วด้วยการเอกซเรย์ (X-Ray)

สามารถใช้กับเด็กที่มีอายุ 2 ปีขึ้นไป และสามารถกลืนแคปซูลขนาดนี้ได้ หรืออาจแกะแคปซูลแล้วเท O-Ring ทั้งหมด 24 ชิ้น ผสมกับน้ำผลไม้ แล้วให้ผู้ป่วยเด็กดื่ม O-Ring ที่ผสมแล้ว โดยไม่ต้องเคี้ยว จากนั้น 5 วันให้กลับมาทำเอกซเรย์ และแปรผลเหมือนผู้ใหญ่

การเตรียมตัวก่อนกลืน Sitzmarks capsule

ถ่ายอุจจาระให้หมดก่อนการตรวจและหลังการกลืน Sitzmarks Capsule

งดใช้ยาระบาย, ยาสวนหรือยาเหน็บทวาร เป็นเวลา 5 วันนับจากวันที่เริ่มกลืน

ขั้นตอนการกลืน Sitzmarks capsule

DAY 1

วันที่เข้ารับการตรวจ ผู้ป่วยกลืนแคปซูล Sitzmarks Capsule ทางปากพร้อมน้ำเปล่า

DAY 1-4

ผู้ป่วยสามารถกลับบ้านได้ และใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทั้งการทำงาน ทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงการรับประทานอาหารได้ตามปกติ

DAY 5

ผู้ป่วยกลับมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลเพื่อทำการตรวจเอกซเรย์

ผลลัพธ์หลังจากกลืน Sitzmarks capsule

หลังจากกลืนแคปซูลครบ 5 วัน แพทย์จะนัดหมายให้ผู้ป่วยกลับมาเอกซเรย์ เพื่ออ่านผลได้ดังนี้

ผลเอกซเรย์พบว่า 80% ของจำนวน Radiopaque Maker ทั้งหมดถูกขับถ่ายออกจากร่างกาย หรือเหลือไม่เกิน 5 ชิ้นในลำไส้ แปลว่า ระบบการทำงานการเคลื่อนไหวของลำไส้ปกติ

ผลเอกซเรย์พบว่าจำนวน Radiopaque Maker ส่วนใหญ่กระจัดกระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของลำไส้ใหญ่ แปลว่า ระบบการทำงานการเคลื่อนไหวของลำไส้มีลักษณะเฉื่อยหรือช้า

ผลเอกซเรย์พบว่า จำนวน Radiopaque Maker ส่วนใหญ่สะสมอยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนปลาย (Rectum หรือ Rectosigmoid) แปลว่า ระบบการทำงานการเคลื่อนไหวของลำไส้ใหญ่มีความปกติ แต่ส่วนปลายลำไส้ใหญ่มีลักษณะช้าหรืออุดกั้น

วิธีรักษา ท้องผูก

เมื่อได้รับผลการตรวจวินิจฉัยแน่ชัดว่ามีอาการท้องผูก แพทย์เฉพาะทางจะทำการรักษาตามสาเหตุที่เป็น ซึ่งมีหลายวิธี ได้แก่

การปรับพฤติกรรม

ได้แก่ ขับถ่ายอุจจาระเมื่อรู้สึกครั้งแรก อย่ารอจนสัญญาณการขับถ่ายอ่อนลง นั่งขับถ่ายในท่านั่งที่เหมาะสม รับประทานผักผลไม้ที่มีกากใย ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ดื่มน้ำในปริมาณที่มากเพียงพอ

การใช้ยาระบาย

การใช้ยาระบายมีหลากหลายชนิด ได้แก่

ยาระบายในกลุ่มกระตุ้นให้กล้ามเนื้อลำไส้บีบตัว (Stimulant Laxatives)

ยาระบายกลุ่มที่ออกฤทธิ์ดูดซึมน้ำเพื่อให้อุจจาระมีปริมาณน้ำมากขึ้น (Osmotic Laxatives) ไหลกลับเข้าสู่ลำไส้ใหญ่

ยาเหน็บหรือยาสวนทวาร

ยากลุ่มใหม่ ๆ ในปัจจุบัน เช่น ยาที่มีฤทธิ์กระตุ้นการเคลื่อนไหวตัวของลำไส้ (Prokinetic Agent) หรือ ยากลุ่มที่กระตุ้นให้มีการหลั่งสารน้ำและเกลือแร่บางตัวเข้าไปในลำไส้ (Secretagouge)

หมายเหตุ : การใช้ยาระบายควรขึ้นอยู่กับคำแนะนำของแพทย์เฉพาะทางเป็นสำคัญ ไม่แนะนำให้ซื้อยามารับประทานเอง

การฝึกการขับถ่าย (Biofeedback Training)

สอนให้ผู้ป่วยขับถ่ายอย่างถูกวิธีด้วยเครื่องมือที่แสดงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ควบคุมการขับถ่าย ซึ่งสามารถแสดงผลกล้ามเนื้อเชิงกรานและกล้ามเนื้อหูรูดบริเวณทวารหนักทั้งหมดของผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงวิธีการขับถ่ายที่ถูกต้อง ทั้งท่าทาง การหายใจ การผ่อนคลายกล้ามเนื้อหูรูด และการรับรู้ความรู้สึก โดยจะทำการฝึกทั้งหมด 6 ครั้ง ครั้งละประมาณ 30 – 40 นาที วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลในระยะยาว เมื่อทำอย่างต่อเนื่องจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ โดยที่ผู้ป่วยไม่ต้องรับประทานยา

รูปภาพจาก TNN Online

การผ่าตัดลำไส้ใหญ่ออก

มักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยท้องผูกจากภาวะที่ลำไส้เคลื่อนไหวช้าที่รักษาโดยการรับประทานยาแล้วไม่ได้ผลและมีความผิดปกติชัดเจนของกล้ามเนื้อและระบบประสาทของลำไส้ที่ได้รับการตรวจยืนยันชัดเจนแล้ว โดยวิธีนี้ต้องผ่านการพิจารณาจากแพทย์เฉพาะทางผู้ชำนาญการเท่านั้น

ปัญหาท้องผูกไม่ใช่เรื่องที่ควรละเลยหรือนิ่งนอนใจ เพราะหากปล่อยไว้ให้เรื้อรังอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอย่างริดสีดวงทวาร เกิดแผลที่ทวารหนักหรือลำไส้ตรง ภาวะอุจจาระอัดแน่น รวมไปถึงอาจเป็นอาการแสดงเริ่มต้นของโรคและปัญหาสุขภาพต่าง ๆ ตามมา ซึ่งไม่เป็นผลดีกับร่างกายในระยะยาว ดังนั้นหากพบว่าตนเองมีอาการท้องผูกติดต่อกันควรเข้ามาตรวจเช็คและเข้ารับการรักษากับแพทย์เฉพาะทางโดยเร็ว

ราคา

การวินิจฉัย

การวินิจฉัยการเคลื่อนตัวของกากอาหารในลำไส้ใหญ่ ( Colonic transit study ) ด้วย Sitzmarks capsule

3,400 บาท

แพทย์ประจำศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เพิ่มเติม

หัตถการของศูนย์ทางเดินอาหารและตับ

เกร็ดความรู้

เพิ่มเติม